Abstract:
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเกี่ยวกับความมีคุณค่าของรายงานการสอบบัญชี (Information Content of Auditor Report) ต่อผลตอบแทนที่ไม่ปกติสะสมของหลักทรัพย์ (Cumulative Abnormal Return) การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประจักษ์โดยใช้กลุ่มตัวอย่างของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2547 – 2548 การศึกษาในครั้งนี้ใช้สถิติเชิงพรรณนา (ความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และสถิติเชิงอนุมาน (การวิเคราะห์เชิงถดถอยเชิง พหุคูณ) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ณ ระดับความเชื่อมั่น 90% ผลการศึกษาพบว่ารายงานการสอบบัญชี แบบที่เปลี่ยนแปลงไป (Modified Audit reports) ปีแรก และรายงานการสอบบัญชีแบบที่แสดงความเห็น อย่างไม่มีเงื่อนไข (Clean Audit reports) ไม่มีผลกระทบอย่างมีสาระสำคัญทางสถิติต่อผลตอบแทนที่ ไม่ปกติสะสมของหลักทรัพย์ นอกจากนั้นการศึกษาครั้งนี้พบว่ารายงานการสอบบัญชีเกี่ยวกับการเปลี่ยน นโยบายบัญชีมีผลกระทบต่อผลตอบแทนที่ไม่ปกติสะสมของหลักทรัพย์ การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ยังใช้ตัวแปรควยคุมที่อาจมีผลกระทบโดยตรงต่อผลตอบแทนที่ไม่ปกติสะสมของหลักทรัพย์ โดยพบว่า (1) กำไรสุทธิ (2) กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน และ (3) การกระทำความผิดของหน่วยงานกำกับ ดูแล มีผลกระทบต่อผลตอบแทนที่ไม่ปกติสะสมของหลักทรัพย์ แม้การศึกษาในครั้งนี้มิได้ให้ข้อบ่งชี้ว่า รายงานการสอบบัญชีสามารถใช้ในการพยากรณ์ผลตอบแทนของหลักทรัพย์ในอนาคตได้อย่างไรก็ตาม นักลงทุนมิอาจมองข้ามข้อมูลในรายงานการสอบบัญชี เนื่องจากมีหลักฐานเชิงประจักษ์ว่ารายงาน การสอบบัญชีมีผลกระทบต่อผลตอบแทนที่มี่ปกติสะสม นักลงทุนควรใช้รายงานการสอบบัญชี ร่วมกับข้อมูลอื่น เช่น กำไรสุทธิ กระแสเงินสด เพื่อเพิ่มการตัดสินใจลงทุนให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น