Abstract:
น่านเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ราบน้อย พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ไม่เหมาะสำหรับเกษตรกรรม ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 40,000 บาทต่อปี เมื่อมีการพัฒนาโดยการตัดถนนเข้าไปในพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของจังหวัด ทำให้มีการบุกรุกทำลายป่าบนเทือกเขาเพื่อการปลูกข้าวโพด โครงการวิจัยนี้ ต้องการทดลองให้เห็นว่า มีเกษตรกรรมหลายอย่างที่อาจทำให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องมีการทำลายป่า เช่น การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงหมูป่า การเพาะเลี้ยงไม้ประดับ การปลูกพืช สมุนไพร รวมไปถึงการแปรรูปสมุนไพร จากผลการศึกษาวิจัย สามารถสรุปได้ว่า ถ้าเกษตรกรลงทุนสร้างเล้าเล็ก ๆ เลี้ยงไก่เนื้อสัก 300 ตัว และเพาะเลี้ยงบอนสีในพื้นที่เพียง 4 ตารางเมตร ก็จะมีรายได้เพิ่มเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3,000 บาทต่อเดือน ส่วนผลผลิตจากพืชสมุนไพรและการแปรรูป จะเป็นส่วนเสริมรายได้อีกเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1,500 บาท ต่อเดือน และจากการวิเคราะห์ทางเคมี ในห้องปฏิบัติการพบสารสกัดจากกระชายเหลืองที่มีฤทธิ์ในการต้านการอักเสบด้วย ดังนั้นการปลูกกระชายเหลืองอาจเป็นรายได้เสริมได้อีกในอนาคต
Description:
โครงการย่อย 1 สาธิตการเลี้ยงไก่พันธุ์เนื้อ -- โครงการย่อย 2 สาธิตการเลี้ยงไก่พันธุ์สามสายเลือด -- โครงการย่อย 3 สารสกัดจากกระชายเหลือง -- โครงการย่อย 4 สารสกัดจากกระชายดำ -- โครงการย่อย 5 สารสกัดจากกระชายเหลืองที่มีฤทธิ์ในการต้านอาการอักเสบ -- โครงการย่อย 6 การทดลองปลูกพืชสมุนไพรในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม -- โครงการย่อย 7 การแปรรูปผลผลิตพืชสมุนไพร -- โครงการย่อย 8 การพัฒนาคุณภาพดินโดยการปลูกหญ้าแฝก -- โครงการย่อย 9 การเลี้ยงหมูป่า -- โครงการย่อย 10 การเลี้ยงเป็ดไข่ในระบบเปิด -- โครงการย่อย 11 การทดลองเพาะเลี้ยงไม้ประดับขนาดเล็ก -- โครงการย่อย 12 การเลี้ยงครั่ง -- โครงการย่อย 13 การทดลองปลูกไผ่หก -- โครงการย่อย 14 การเลี้ยงเตา (หรือเทา สาหร่ายสีเขียว สกุล Spirogyra) -- โครงการย่อย 15 การจัดตั้ง ศูนย์เรียนรู้ชีววิทยาและประยุกต์เพื่อธุรกิจ