Abstract:
การศึกษาอนุพันธ์ของสารหนูในผลิตภัณฑ์อาหารหมักจากสัตว์ทะเล โดยใช้เทคนิค HG-AAS พบว่าสามารถตรวจวัดสารหนูได้ใช่วง 0-50 ไมโครกรัมต่อลิตร โดยมีค่า LOD เท่ากับ 1.79 ไมโครกรัมต่อลิตร การตรวจสอบความถูกต้องของวิธีที่ใช้ด้วย CRM DORM-2 (Dogfish muscle) พบสารหนูรวม 17.9+_0.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีความถูกต้อง 99.4% และมีความเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ เท่ากับ 5.23% เมื่อทำการวิเคราะห์หาปริมาณสารหนูในผลิตภัณฑ์อาหารหมัก จากสัตว์ทะเลชนิดต่าง ๆ พบปริมาณสารหนูรวมอยู่ในช่วง 0.3-7.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (น้ำหนักแห้ง) โดยในน้ำปลาเท่ากับ 1.1-2.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (น้ำหนักแห้ง) ไตปลาเท่ากับ 3.0-7.8 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (น้ำหนักแห้ง) น้ำบูดูเท่ากับ 0.9-4.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (น้ำหนักแห้ง) และกะปิกุ้งเท่ากับ 2.7-6.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (น้ำหนักแห้ง) ระดับของสารหนูอนินทรีย์ในอาหารทะเลจากแหล่งอุตสาหกรรมมีปริมาณค่อนข้างสูง โดยตรวจพบในช่วง 0.4-0.7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (น้ำหนักแห้ง) และพบปริมารณสารหนูอินทรีย์อยู่ในช่วง 0.7-7.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (น้ำหนักแห้ง) หรือ 79.7-97.2% ของสารหนูรวมในการหาสารประกอบของสารหนูด้วย HPLC-ICP-MS ในตัวอย่างอาหารหมักจากสัตว์ทะเล พบว่าประกอบด้วย arsenobetaine, trimethy arsenicacid, dimethylarsinic acid, monomethylarsinic acid และ aresosugar โดยสารประกอบส่วนใหญ่เป็น arsenobetaine