DSpace Repository

ผลของการเก็บซ้ำและระดับความดันที่มีต่ออัตราการเก็บและคุณภาพของโอโอโซต์ ในการเก็บโอโอไซต์ด้วยวิธีโอพียูในกระบือปลัก

Show simple item record

dc.contributor.advisor มงคล เตชะกำพุ
dc.contributor.advisor ชัยณรงค์ โลหชิต
dc.contributor.author เอกชาติ พรหมดิเรก
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2009-12-09T07:11:47Z
dc.date.available 2009-12-09T07:11:47Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.isbn 9740306403
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11804
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 en
dc.description.abstract ศึกษาผลของการเก็บโอโอไซต์ด้วยการใช้เข็มเจาะ ดูด ร่วมกับเครื่องมือคลื่นเสียงความถี่สูงสอดผ่านทางช่องคลอด (โอพียู) ซ้ำหลายครั้ง ในลูกกระบือปลัก (การทดลองที่ 1) และศึกษาความดันสูญญากาศที่เหมาะสมในการเก็บโอโอไซต์ด้วยวิธีโอพียู (การทดลองที่ 2) การทดลองที่ 1 ใช้กระบือเพศเมียก่อนวัยเจริญพันธุ์ อายุ 8-10 เดือน จำนวน 9 ตัว ฝังฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่ใบหู 7 วัน ก่อนทำการกระตุ้นด้วย ฟอลลิเคิล สติมูเลติงฮอร์โมน (เอฟเอสเอช) ขนาด 180 มิลลิกรัม แบ่งฉีดเช้าและเย็น 3 วัน (40x40, 30x30, 20x20) ร่วมกับโกนาโดโทรปิน รีลิสซิงฮอร์โมน (จีเอ็นอาร์เอช) ตรวจการตอบสนองของรังไข่หลังกระตุ้นและทำการดูดเก็บโอโอไซต์ด้วยแรงดูด 80-100 mmHg หลังจากฉีดจีเอ็นอาร์เอช 24 ชั่วโมง โดยทำการเก็บห่างกันทุกๆ 2 สัปดาห์ ทั้งหมด 5 ซ้ำรวม 42 ครั้ง ผลการศึกษาพบว่า ลูกกระบือมีการตอบสนองต่อการกระตุ้น 88.1% (37/42) คิดเป็น 6.6+-3.6 ฟอลลิเคิลต่อตัว (n = 256) โดยขนาดของฟอลลิเคิลที่พบหลังกระตุ้นเฉลี่ยเท่ากับ 5.0+-2.0 มิลลิเมตร ผลการเก็บโอโอไซต์ที่ได้ในลูกกระบือเท่ากับ 5.4+-3.7 โอโอไซต์ต่อตัว คิดเป็น 82.4% (212/256) จากผลการทดลองที่ 1 พบว่าการเก็บซ้ำไม่มีผลต่ออัตราการเก็บ โดยการเก็บโอโอไซต์ในครั้งที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 ให้อัตราการเก็บเท่ากับ 83.2% (43/50), 82.5% (54/66), 81.3% (42/52), 68.8% (27/36), 87.9% (46.52) ตามลำดับ และคุณภาพของโอโอไซต์แต่ละชนิดในการกระตุ้นแต่ละครั้งไม่แตกต่างกันอย่างมี นัยสำคัญ (P>0.05) ส่วนการทดลองที่ 2 ศึกษาในกระบือสาวที่ไม่เคยได้รับการผสมอายุ 2.5 ปี จำนวน 6 ตัว โดยทำการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนเอฟเอสเอช ขนาด 280 มิลลิกรัม แบ่งฉีดเช้าและเย็น 3 วัน (60x60, 50x50, 30x30) ทำการศึกษาเปรียบเทียบแรงดันขนาด 60, 80 และ 100 mmHg จำนวน 2 รอบ ห่างกันรอบละ 1 เดือน ผลการศึกษาพบว่า กระบือสาวมีการตอบสนองต่อการกระตุ้น 100% (36/36) คิดเป็น 7.4+-3.6 ฟอลลิเคิลต่อตัว (n = 36) ผลการเก็บพบว่าระดับ 60 mmHg ให้ผลอัตราการเก็บสูงสุดเท่ากับ 84.1% (93/108) เปรียบเทียบกับแรงดัน 80 และ 100 mmHg ซึ่งเท่ากับ 72.8% (53/70), 72.6% (69/89) (P<0.05) แต่คุณภาพโอโอไซต์ที่ได้ไม่แตกต่างกัน จากการศึกษาทั้ง 2 การทดลองพบว่าการเก็บโอโอไซต์ซ้ำ แบบโอพียูไม่มีผลต่ออัตราการเก็บและคุณภาพของโอโอไซต์ และระดับแรงดันที่เหมาะสมสำหรับการเก็บอยู่ในระดับ 60 mmHg en
dc.description.abstractalternative To investigate the effect of repeated oocyte collection by transvaginal ultrasound-guidance (OPU) in swamp buffalo calves (Experiment I) and the appropriate aspiration vacuum pressure for OPU (Experiment II). In Exp. I., nine buffaloes, aged 8-10 mo were stimulated with 180 mg. Follicle Stimulating Hormone (FSH) twice a day for 3 days consecutively (40x40, 30x30, 20x20) 7 days after an ear implant with and GnRH 24 h later. Oocytes were collected from each animal of 2 wk interval in five repeated collection. The ovarian response and the oocytes were collected after 24 h of GnRH injection. The results showed 88.1% (37/42) of animal responded to treatment with the average of 6.6+-3.6 follicles per animal (n = 256) with an average dimeter of 5.0+-2.0 mm.. The oocyte recovery rate was 5.4+-3.7 oocytes per animal (212/256) which were 83.2% (43/50), 82.5% (54/66), 81.3% (42/52), 68.8% (27/36) and 87.9% (46/52) in the 1[superscript st], 2[superscript nd], 3[superscript rd], 4 [superscript th]and 5[superscript th] collection, respectively (P>0.05). There were no differences in ovarian responses and recovery rates among the collections. In Exp II. Three vacuum pressure (60, 80 and 100 mmHg) were compared in 6 superstimulated buffalos heifers aged 2.5 yrs. The animals were treated with 280 mg. FSH (60x60, 50x50, 30x30) with the same protocol as mentioned above. Each animal was collected by any aspirated vacuum at 2 wk interval and one repeat collection was performed 2 mo later with all vacuum pressure. The results showed 100% (36/36) of buffalo responding to treatment with 7.4+-3.6 follicles per animal (n = 36). The recovery rate was highest in 60 mmHg 84.1% (93/108) compairing to 80 mmHg (72.8%) (53/70) and 100 mmhg (82.6%) (69/89) (P<0.05). From this experiment, it can be concluded that no effect of repeat OPU on oocyte recovery rate and oocyte quality were concerned. The appropriate vacuum pressure to provide the highest collection rate was 60 mmHg. en
dc.format.extent 1112590 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject เซลล์ไข่ en
dc.subject กระบือปลัก en
dc.subject การสืบพันธุ์ en
dc.title ผลของการเก็บซ้ำและระดับความดันที่มีต่ออัตราการเก็บและคุณภาพของโอโอโซต์ ในการเก็บโอโอไซต์ด้วยวิธีโอพียูในกระบือปลัก en
dc.title.alternative The effect of repeated collections and vacuum pressure levels on rate of collection and oocyte quality by OPU method in swamp buffalo en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline วิทยาการสืบพันธุ์สัตว์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor mongkol.t@chula.ac.th
dc.email.advisor Chainarong.L@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record