Abstract:
โครงเนื้อเยื่อที่ผลิตจากโพลิเมอร์ธรรมชาติมีกลสมบัติต่ำ ไม่เหมาะกับการซ่อมสร้างเนื้อเยื่อที่ต้องการความแข็งแรง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโครงเนื้อเยื่อธรรมชาติด้วยวิธีแช่เยือกแข็งและระเหิดวัสดุประกอบไฮยารูโรแนน-เจลาตินเสริมแรงด้วยผลึกอัลฟ่าไคติน โดยศึกษาถึงผลของปริมาณผลึกไคตินในสัดส่วน 0, 2, 5, 10, 20, และ 30 % ต่อน้ำหนักโพลิเมอร์ที่มีต่อคุณสมบัติของโครงเนื้อเยื่อ พบว่า โครงเนื้อเยื่อมีโครงสร้างภายในเป็นรูพรุนต่อเนื่องขนาดประมาณ 150 ไมโครเมตร การเสริมแรงด้วยผลึกไคตินขนาดเฉลี่ย 250 x 30 นาโนเมตร (กว้างxยาว) ไม่มีผลต่อโครงสร้างสัณฐานและการดูดซึมน้ำของโครงเนื้อเยื่อ ผลึกไคติน 2% ทำให้โครงเนื้อเยื่อมีความแข็งแรงดึงสูงกว่ากลุ่มอื่น 2 เท่า ผลึกไคติน 20-30% เพิ่มความทนทานต่ออุณหภูมิสูงและการย่อยสลาย ขณะที่ผลึกไคติน 10% ให้ผลของการเจริญเพิ่มจำนวนเซลล์กระดูกดีที่สุด การปรับปรุง กลสมบัติ กายภาพสมบัติ และชีวสมบัติของโครงเนื้อเยื่อจึงต้องเสริมแรงด้วยปริมาณผลึกไคตินที่แตกต่างกัน