DSpace Repository

การใช้ยาไทอะโซลิดินไดโอนเพื่อชะลอเสื่อมของเยื่อบุผนังช่องท้อง ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาทดแทนไตทางช่องท้องอย่างถาวร : รายงานการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2010-02-11T09:18:40Z
dc.date.available 2010-02-11T09:18:40Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11996
dc.description.abstract ที่มา: การฟอกไตทางช่องท้องเป็นทางเลือกหนึ่งของการบำบัดทดแทนไตในผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ปัญหาที่สำคัญสำหรับการฟอกไตคือการเสื่อมสภาพของเยื่อบุผนังช่องท้องที่เกิดจากน้ำยาฟอกไต การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่พบคือ ปริมาณเซลล์มีโซทีเลียมที่ลดลง เกิดการสะสมของพังผืด และปริมาณเส้นเลือดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมักจะพบร่วมกับความสามารถในการขจัดน้ำและของเสียลดลง วิธีการศึกษา: มีผู้ป่วยฟอกไตทางช่องท้องเข้าร่วมการศึกษา 39 ราย เป็นเพศชาย 22 ราย เพศหญิง 17 ราย ผู้ป่วยทั้งหมดจะได้รับการตรวจปริมาณเซลล์มีโซทีเลียม และปริมาณเซลล์มีโซทีเลียมที่ตายจากกระบวนการอะโพโทซีส ในน้ำฟอกไตค้างคืนด้วยวิธีโฟลไซโตมีทรี ร่วมกับทดสอบประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนสสารของเยื่อบุผนังช่องท้องในวันเดียวกัน ผลการศึกษา: พบปริมาณเซลล์มีโซทีเลียมในน้ำยาฟอกไตค้างท้องที่ค่าเฉลี่ย 0.19 + 0.02 ล้านเซลล์และปริมาณเซลล์มีโซทีเลียมที่ตายจากระบวนการอะโพโทซีสเฉลี่ย 0.04 + 0.07 ล้านเซลล์ โดยพบว่า ปริมาณเซลล์มีโซทีเลียมและปริมาณเซลล์มีโซทีเลียมที่ตายจากกระบวนการอะโพโทซีสมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับค่าสัดส่วนความเข้มข้นของระดับครีตินีนในตัวอย่างน้ำยาฟอกไต ณ เวลาชั่วโมงที่ 4 กับตัวอย่างเลือด (r = 0.62, 0.48) ขณะเดียวกันพบว่าปริมาณเซลล์ดังกล่าวมีความสัมพันธ์แบบผกผันกันกับค่าสัดส่วนความเข้มข้นของระดับน้ำตาลกลูโคสในตัวอย่างน้ำยาฟอกไต ณ เวลาชั่วโมงที่ 4 กับ ชั่วโมงที่ 0 (r = -0.54, -0.41) และปริมาณการลดลงของความเข้มข้นของโซเดียมในน้ำยาฟอกไต (r = -0.39, -0.41) ในผู้ป่วยเบาหวานที่ฟอกไตทางช่องท้องเป็นระยะเวลาน้อยกว่า 2 ปี พบว่ามีปริมาณเซลล์มีโซทีเลียมมมากกว่าผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวาน (p < 0.01) ขณะที่ไม่พบความแตกต่างของปริมาณเซลล์ดังกล่าวในผู้ป่วยที่ฟอกไตทางช่องท้องนานกว่า 2 ปี สรุปผลการศึกษา: พบว่าปริมาณเซลล์มีโซทีเลียมและปริมาณเซลล์มีโซทีเลียมที่ตายจากกระบวนการอะโพโทซีสในน้ำยาฟอกไตค้างท้อง มีความสัมพันธ์กับค่าทดสอบประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนสสารของเยื่อบุผนังช่องท้อง และพบว่าในผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการเสื่อมของเยื่อบุผนังช่องท้องมีปริมาณเซลล์หลุดลอกออกมาในน้ำยาฟอกไตมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง en
dc.description.abstractalternative Background: Continuous exposure of the peritoneal membrane to dialysis solutions during long-term dialysis results in mesothelial cell loss, peritoneal membrane damage and thereby, ultrafiltration (UF) failure, a major determinant of mortality in the CAPD patients. Unfortunately, none of available tests using nowadays can predict long term declination of UF. We, here in propose a new tool to predict such change. Methods: Mesothelial cells from 8-hour overnight 1.36% G effluents were harvested, co-stained with cytokeratin, a mesothelial marker, and TUNEL, an apoptotic marker, and were counted using flow cytometry in 48 patients recently undergoing CAPD. Adequacy, UF, nutritional status dialysate CA125, and peritoneal equilibrium test using 3.86% G peritoneal dialysis solution were simultaneously assessed and were re-evaluated at 1 year later. Results: The numbers of total and apoptotic mesothelial cells were 0.19 +- 0.19 and 0.08 +- 0.12 million cells/bag, respectively. Both numbers correlated well with the levels of D/D0 glucose, D/P creatinine, and sodium dipping. Of note, the numbers of both cells in patients with diabetes or with high/high average transports were significantly greater than non diabetic patients with low/low average transports. A cut point level of 0.06 million of total mesothelial cells/bag had sensitivity = 1 and specificity = 0.75 to predict a further declination of D/D0 glucose, and had sensitivity = 0.86 specificity = 0.63 to predict a further declination of UF over 1-year period. In contrast, dialysate CA125 and the remaining parameters had low predictive values. Conclusion: The higher exfoliated cells loss, the worse UF parameters are expected. The number of mesothelial cells warrant further usage in clinical practice to predict the future UF declination. en
dc.description.sponsorship ทุนอุดหนุนการวิจัยจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2550 en
dc.format.extent 5645589 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ไทอะโซลิดินไดโอน en
dc.subject การฟอกเลือดทางช่องท้อง en
dc.subject เยื่อบุช่องท้อง en
dc.subject ไตวายเรื้อรัง en
dc.title การใช้ยาไทอะโซลิดินไดโอนเพื่อชะลอเสื่อมของเยื่อบุผนังช่องท้อง ในผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการรักษาทดแทนไตทางช่องท้องอย่างถาวร : รายงานการวิจัย en
dc.title.alternative The Effect of thiazolidinediones on peritoneal membrane survival in continuous ambulatory peritoneal dialysis patients en
dc.type Technical Report es
dc.email.author Talerngsak.K@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record