dc.contributor.author | ประเวศ เสรีเชษฐพงษ์ | |
dc.contributor.author | เอมอร เบญจวงศ์กุลชัย | |
dc.contributor.author | สุพจน์ พัฒนะศรี | |
dc.contributor.author | พิชญ รัชฎาวงศ์ | |
dc.contributor.author | พิบูลย์ เกิดโภคทรัพย์ | |
dc.contributor.author | วรรณดารา อินทรปัญญา | |
dc.contributor.author | จันทรวรรณ ตันเจริญ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2010-02-20T09:18:25Z | |
dc.date.available | 2010-02-20T09:18:25Z | |
dc.date.issued | 2549 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12035 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์หลักของการศึกษาวิจัยคุณภาพน้ำทิ้งภายในบริเวณคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี 3 ประการ คือ เพื่อศึกษาวิจัยคุณภาพน้ำทิ้งของอาคารต่างๆ เพื่อศึกษาวิจัยปริมาณโลหะหนักในน้ำทิ้งของอาคารต่างๆ อันได้แก่ แคดเมียม (Cd) ตะกั่ว (Pb) และปรอท (Hg) และเพื่อศึกษาข้อมูลในเชิงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้วัสดุทางทันตกรรม สารเคมีและวัตถุอันตรายภายในคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยกำหนดตำแหน่งที่เก็บตัวอย่างน้ำเสีย/น้ำทิ้ง และน้ำดี จากอาคารต่างๆ ภายในบริเวณคณะฯ จำนวน 10 จุด และกำหนดช่วงเวลาการเก็บด้วยวิธีการสุ่มวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 7 วันต่อเนื่อง โดยพิจารณาคัดเลือกจากช่วงระยะเวลาที่มีการเรียนการสอนภายในห้องปฏิบัติการทดลอง และการให้บริการทางทันตกรรมหนาแน่นซึ่งคาดว่าในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีปริมาณการใช้น้ำ สารเคมีและโลหะหนักสูงกว่าปกติ รวม 218 ตัวอย่าง เพื่อนำมาเป็นตัวแทนในการศึกษาวิจัยปริมาณโลหะหนักและคุณภาพน้ำ ภายใต้การควบคุมคุณภาพการเก็บและรักษาตัวอย่างน้ำ จากนั้น นำเข้าสู่กระบวนการทดสอบทางวิทยาศาสตร์ภายในห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจวัดคุณภาพน้ำเสีย/น้ำทิ้งจำนวน 8 พารามิเตอร์ และวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักจำนวน 3 ชนิด ตาม The Standard Methods for Examination of Water and Wastewater ตาม APHA (American Public Health Association), AWWA (American Water Works Association) และ WPCF (Water Pollution Control Federation) จากการสำรวจสถานที่เพื่อกำหนดจุดและวิธีการจัดเก็บตัวอย่างน้ำพบว่า ภายในคณะฯ มีระบบบำบัดน้ำเสียชีวภาพแบบเติมอากาศ (Biological aeration system) ประจำอาคารอยู่ 2 แห่ง คือ อาคารทันต 4 (คลินิกบริการทางทันตกรรม) และอาคารทันต 15 (อาคารมเด็จย่า) จากผลการวิเคราะห์พบว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณแคดเมียม ตะกั่ว และปรอทในน้ำทิ้งของอาคารต่างๆ ภายในคณะฯ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ยกเว้นค่าเฉลี่ยปริมาณปรอทในน้ำทิ้งของอาคารทันต 10 (โรงอาหาร) อาคารทันต 5 (คลินิกรวม) และอาคารทันต 15 (อาคารสมเด็จย่า) สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว และจากผลการศึกษาวิจัยพบว่า ในแต่ละวันมีปริมาณโลหะหนักแตกต่างกันอย่างกระจัดกระจาย ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับปริมาณการใช้ ชนิดของโลหะหนัก สารเคมี และวัตถุอันตราย ลักษณะของการเรียนการสอนภายในห้องปฏิบัติการทดลองการทำวิจัย และการให้บริการทางทันตกรรมในแต่ละวัน จึงทำให้ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานค่อนข้างสูง อีกทั้งระบบบำบัดน้ำเสียที่มีอยู่ภายในคณะฯ ไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับใช้บำบัดโลหะหนัก จึงทำให้ปริมาณปรอทสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานเล็กน้อย แต่ยังไม่ถึงระดับความเป็นพิษ ส่วนคุณภาพน้ำทิ้งพบว่า ค่าเฉลี่ย BOD, FOG, ความเป็นกรด-เบส ของแข็งตกตะกอน ซัลไฟด์ TKN ของแข็งที่ละลายได้ทั้งหมด และของแข็งแขวนลอยทั้งหมดของอาคารต่างๆ ภายในคณะฯ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ยกเว้นค่าเฉลี่ย BOD และปริมาณของแข็งแขวนลอยทั้งหมดของอาคารทันต 10 (โรงอาหาร) สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว การตรวจวัดปริมาณน้ำทิ้งไม่สามารถทำได้เนื่องจากภายในคณะฯ มีการระบายน้ำทิ้งแบบหลายจุดและหลายทิศทาง จึงได้ทำการประเมินปริมาณน้ำทิ้งจากการใช้น้ำประปาภายในคณะฯ | en |
dc.description.abstractalternative | The main objectives of researching the quality of sewage water in the Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University consist of 3 points, that is to investigate the quality of sewage water from individual building, to analyze the amounts of heavy metals in sewage water from individual building such as cadmium (Cd), lead (Pb), and mercury (Hg), and to study the data of environmental effects from the dental substances, chemicals, and hazardous substances within the department by sampling sewage water/wastewater and the running water from individual building from the ten given points and determining the times for random sampling as three times a day for 7 continuous days, by considering the peak periods of the laboratorial studies and the dental services, supposing that these periods have the higher consumptions of water, chemicals and heavy metals than normal levels. There are totally 218 samples employed as samples in research studying for the amounts of heavy metals and the water quality under the quality controls for sampling and storage of water samples. Then, these samples would be introduced to analytical processes in laboratory to analyze the quality of sewage water/wastewater of eight parameters and analyze the amounts of three heavy metals according to the Standard Methods for Examination of Water and Wastewater according to APHA (American Public Health Association), AWWA (American Water Works Association), and WPCF (Water Pollution Control Federation). As investigating the area for determining the sampling points and method, it is found that within the department there is the biological aeration wastewater treatment system equipped in two buildings, namely Building 4 (Dental-servicing clinic) and Building 15 (Somdej Ya). From the results of this research, it is found that the amounts of cadmium, lead, and mercury in sewage water from the various buildings stayed within the criteria of The Ministry of Science, Technology and Environment and the declaration of The Ministry of Industry except the mean amounts of mercury from Building 10 (Canteen), Building 5 (Al Clinic), and Building 15 (Somdej Ya) were over the said criteria of the declaration. And it is found from the analytical data that the daily amounts of heavy metals were scatteredly, non-uniformly different depending on the consumed amounts and the types of heavy metals, chemicals, and hazardous substances; and the kinds of daily studying in the laboratories, the researches, and the dental services, resulting in the high standard deviations. In addition, the wastewater treatment system in the Faculty is not designed for treating the heavy metals, so the amount of mercury was a little higher than the said criteria but still not in the hazardous level. For the auality of sewage water, it is found that the average BOD, FOG, pH, the settleable solids, sulfide, TKN, the total dissolved solids and the suspended solids from the independent buildings were under the criteria of the declaration of The Ministry of Science, Technology and Environment, but the average BOD and the total suspended solids from Building 10 (Canteen) were above the said criteria. And due to the Faculty of Dentistry had multi-direction, multi-outlet sewage, it is advised to average the amount of the wastewater from the amounts of fresh water used instead. | en |
dc.description.sponsorship | ทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช | en |
dc.format.extent | 25326529 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ | en |
dc.subject | น้ำเสีย -- การบำบัด | en |
dc.subject | คุณภาพน้ำทิ้ง | en |
dc.title | การศึกษาวิจัยคุณภาพน้ำทิ้งภายในบริเวณคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานผลการวิจัย | en |
dc.title.alternative | Study of sewage water quality in the Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University | en |
dc.type | Technical Report | es |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | |
dc.email.author | Em-on.B@Chula.ac.th | |
dc.email.author | Suphot.P@Chula.ac.th | |
dc.email.author | Pichaya.R@Chula.ac.th | |
dc.email.author | Piboon.K@Chula.ac.th | |
dc.email.author | Wannadara.I@Chula.ac.th | |
dc.email.author | Jantarawan.T@Chula.ac.th |