DSpace Repository

การศึกษาการให้วัคซีนป้องกันโรคเบอร์ซ่าอักเสบติดต่อโดยวิธีหยอดปากและหยอดทวารร่วม

Show simple item record

dc.contributor.advisor จิโรจ ศศิปรียจันทร์
dc.contributor.advisor ประจักษ์ พุ่มวิเศษ
dc.contributor.advisor อัจฉรา ธวัชสิน
dc.contributor.author กาญจน์ เชื้อศิริ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2010-03-15T02:55:13Z
dc.date.available 2010-03-15T02:55:13Z
dc.date.issued 2545
dc.identifier.isbn 9741724942
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12186
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 en
dc.description.abstract การทดลองที่ 1 ศึกษาผลของวิธีการให้วัคซีนต่อการสร้างแอนติบอดีและการป้องกันโรค โดยแบ่งไก่เป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมไม่ได้รับวัคซีนใดๆ ไก่กลุ่มที่ 2 และ 3 ได้รับวัคซีนป้องกันโรคเบอร์ซ่าอักเสบติดต่อ(Infectious Bursal Disease, IBD) เมื่อไก่อายุ 21 วัน โดยการหยอดปากและโดยการหยอดทวารร่วมตามลำดับ ให้เชื้อเบอร์ซ่าอักเสบติดต่อ (IBDV) เมื่อไก่อายุ 35 วัน ผลการทดลองพบว่าระดับแอนติบอดีของไก่กลุ่มที่ 3 สูงกว่ากลุ่มที่ 2 และ 1 (P<0.05) อัตราส่วนของน้ำหนักต่อมเบอร์ซ่าต่อน้ำหนักตัว (Bursa to body weight ratio; B:Bw) ของไก่กลุ่มที่ 3 สูงกว่ากลุ่มที่ 2 และ 1 (P<0.05) คะแนนรอยโรคทางจุลพยาธิ (Histopathological Lesion Score; HLS) ของไก่กลุ่มที่ 3 ต่ำกว่ากลุ่มที่ 2 และ 1 (P<0.05) อัตราการตายของไก่กลุ่มที่ 2 และ 3 ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) การทดลองที่ 2 ศึกษาผลของวิธีการให้วัคซีนต่อการกดภูมิคุ้มกันโรคโดยแบ่งไก่เป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมไม่ได้รับวัคซีนใดๆ กลุ่มที่ 2 ให้วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล (ND) โดยวิธีหยอดตา กลุ่มที่ 3 ให้วัคซีน IBD โดยวิธีการหยอดปากและวัคซีน ND และกลุ่มที่ 4 ให้วัคซีน IBD โดยวิธีการหยอดทวารร่วมและวัคซีน ND และให้เชื้อนิวคาสเซิล (NDV) เมื่อไก่อายุ 42 วัน ผลการทดลองพบว่า ระดับแอนติบอดีต่อโรคนิวคาสเซิลในกลุ่มที่ 4 ต่ำกว่ากลุ่มที่ 3 และ 2 (P<0.05) B:Bw กลุ่มที่ 3 สูงกว่ากลุ่มที่ 4 (P<0.05) HLS กลุ่มที่ 3 และ 4 ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) อัตราการตายในกลุ่มที่ 2 3 และ 4 ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) การทดลองที่ 3 ศึกษาผลของวิธีการให้วัคซีนที่อายุต่างๆต่อการสร้างแอนติบอดีและการป้องกัน โรค โดยแบ่งไก่เป็น 9 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมไม่ได้รับวัคซีนใดๆ กลุ่มที่ 2-5 ให้วัคซีน IBD โดยวิธีการหยอดปากเมื่อไก่อายุ 1 7 14 และ 21 วันตามลำดับ กลุ่มที่ 6-9 ได้รับวัคซีน IBD โดยวิธีการหยอดทวารร่วมเมื่อไก่อายุ 1 7 14 และ 21 วันตามลำดับ ให้เชื้อ IBDV เมื่อไก่อายุ 35 วัน ผลการทดลองพบว่า ระดับแอนติบอดีในกลุ่มที่ 4 5 8 และ 9 สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ B:BW ไม่แตกต่างกัน HLS ในกลุ่มที่ 5 8 และ 9 ต่ำกว่ากลุ่มอื่นๆ (P<0.05) อัตราการตาย กลุ่มที่ 5 ต่ำกว่ากลุ่มอื่นๆ (P<0.05) การทดลองที่ 4 ศึกษาผลของวิธีการให้วัคซีนต่อระยะเวลาในการสร้างแอนติบอดีและการป้องกันโรค โดยแบ่งไก่ออกเป็น 11 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมไม่ได้รับวัคซีนใดๆ กลุ่มที่ 2-6 ให้วัคซีน IBD โดยวิธีหยอดปากเมื่อไก่อายุ 21 23 26 29 และ 32 วันตามลำดับ กลุ่มที่ 7-11 ให้วัคซีน IBD โดยวิธีการหยอดทวารร่วมเมื่อไก่อายุ 21 23 26 29 และ 32 วันตามลำดับ และให้เชื้อ IBDV เมื่อไก่อายุ 35 วัน ผลการทดลองพบว่าระดับแอนติบอดี กลุ่มที่ 4 7 8 และ 10 สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ (P<0.05) B:Bw กลุ่มที่ 1 2 และ 7 สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ HLS กลุ่มที่ 1 และ 2 สูงกว่ากลุ่มอื่นๆ (P<0.05) อัตราการตาย กลุ่มที่ 1 สูงกว่ากลุ่มที่ 3-11 (P<0.05) en
dc.description.abstractalternative In experiment 1 was to determine the effect of vaccination route on the immune response. Chicks were divided into 3 groups. Group 1 was control. Group 2 was received infactious bursal disease (IBD) vaccine by oral route. Group 3 was received IBD vaccine by cloacal route. All 3 groups were challenged with IBDV 2 weeks post vaccination. The results revealed that. The serum titer from group 2 was higher (P<0.05) than group 3 and 1. Bursa to body weight ratio (B:Bw) of group 3 was higher (P<0.05) than group 1 and 2. Bursa histopathological lesion score (HLS) of group 3 was lower (P<0.05) than group 1 and 2. No statistical significant difference in mortality rate between group 2 and 3. In experiment 2 was to determine effect of vaccination route on the immunosuppression. Chicks were divided into 4 group. Group 1 was control. Group 2 was received Newcastle Disease (ND) vaccine. Group 3 was received IBD vaccine by oral route and ND vaccine by eye –drop route. Group 4 was received IBD vaccine by cloacal route and ND vaccine by eye-drop route. All chicks were challenged with ND virus 2 weeks post ND vaccination. The results revealed ND-HI titer of group 4 was lower (P<0.05) than group 3 and 2. B:Bw of group 3 was higher (P<0.05) than group 4. HLS was no difference between group 3 and 4 (P>0.05). No statistical significant difference in mortality rate between group 2, 3 and 4. In experiment 3 was to determine the effect of vaccination route in various age on the immune response. Chicks were divided into 9 group. Group 1 was control. Group 2-5 were received IBD vaccine once by oral route at the age of 1, 7, 14 and 21 day-old, respectively. Group 6-9 were received IBD vaccine once by cloacal route at the age of 1, 7, 14 and 21 day-old, respectively. Chicks were challenged with IBD virus at 35 day-old. The results revealed titer of group 4, 5, 8 and 9 were higher (P<0.05) than other. There were no difference (P>0.05) in B:Bw. HLS of group 5,8 and 9 were lower (P<0.05) than other. Mortality rate of group 5 was lower (P<0.05) than other. In experiment 4 was to determine the effect of vaccination route on time to develop the immune response. Chicks were divided into 11 groups. Group 1 was control. Group 2-6 were received IBD vaccine by oral route at 21, 23, 26, 29 and 32 day-old, respectively. Group 7-11 was received IBD vaccine by cloacal route at 21, 23, 26, 29 and 32 day-old, respectively. Chicks were challenged with IBD virus at 35 day-old. The results revealed ELISA titer of group 4, 7, 8 and 10 were higher (P<0.05) than other. B:Bw of group 1, 2 and 7 were lower (P<0.05) than others. HLS of group 1 and 2 was higher (P<0.05) than others. Mortality rate of group 1 higher (P<0.05) than group 3-11. en
dc.format.extent 1589588 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การให้วัคซีนสัตว์ en
dc.subject ไก่ -- การให้วัคซีน en
dc.subject ต่อมเบอร์ซา en
dc.title การศึกษาการให้วัคซีนป้องกันโรคเบอร์ซ่าอักเสบติดต่อโดยวิธีหยอดปากและหยอดทวารร่วม en
dc.title.alternative Studies on infectious bursal disease vaccination via oral and cloacal routes en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline อายุรศาสตร์สัตว์ปีก es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Jiroj.S@Chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.email.advisor Achara.T@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record