DSpace Repository

ผลของแรงอัดซ้ำที่มีต่อแรงยึดของซีเมนต์ชั่วคราวที่ใช้กับรากเทียมระบบหนึ่ง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ตระกล เมฆญารัชชนานนท์
dc.contributor.advisor บัณฑิต จริยจริยาเวช
dc.contributor.author จักรี องค์เทียมสัคค์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2006-05-29T04:01:59Z
dc.date.available 2006-05-29T04:01:59Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.isbn 9741736959
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/123
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 en
dc.description.abstract งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของแรงอัดซ้ำซึ่งเป็นการเลียนแบบแรงบดเคี้ยวในช่องปากว่ามีผลต่อแรงยึดของซีเมนต์ชั่วคราวชนิดหนึ่ง(Temp-Bond(R))ที่ใช้ในการยึดครอบฟันกับหลักยึดของรากเทียมระบบพารากอนเพื่อหาความสัมพันธ์ของจำนวนแรงอัดซ้ำและแรงยึดที่เปลี่ยนแปลงไป โดยทำการเปรียบเทียบค่าแรงยึดก่อนและหลังได้รับแรงอัดซ้ำในลักษณะเส้นโค้งรูปไซนย์(Sine curve)ขนาด 20-130 N ซึ่งมีทิศทางของแรงขนานแต่ออกนอกแนวแกนรากเทียม 3 มม. จำนวนรอบของแรงอัดซ้ำที่ให้กับชิ้นทดสอบแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ 500,000 รอบ 1,000,000 รอบและ 5,000,000 รอบซึ่งเทียบเท่าการใช้งานในช่องปากเป็นเวลา 6 เดือน, 1 ปีและ 5 ปีตามลำดับ นำค่าแรงยึดก่อนและหลังได้รับแรงอัดซ้ำมาวิเคราะห์ด้วยสถิติ Paired sample t-test (alpha = 0.05) และนำค่าแรงยึดที่เปลี่ยนแปลงไปทั้ง 3 กลุ่มมาวิเคราะห์ด้วยสถิติ One way ANOVA (alpha = 0.05) และ Scheffe's multiple contrasts หาความสัมพันธ์ของจำนวนแรงอัดซ้ำและแรงยึดที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย Pearson Correlation coefficient ผลการทดลองพบว่าแรงอัดซ้ำมีผลทำให้แรงยึดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P = 0.000)ทั้ง 3 กลุ่ม โดยที่แรงยึดในกลุ่มที่ได้รับแรงอัดซ้ำจำนวน 500,000 รอบ 1,000,000 รอบและ 5,000,000 รอบมีค่าลดลงร้อยละ 16.75, 18.73 และ 19.68 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามแรงยึดที่ลดลงทั้ง 3 กลุ่มกลับไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(P=0.792) ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆของการวิจัยครั้งนี้สามารถสรุปผลได้ว่า แม้แรงอัดซ้ำจะมีผลทำให้ค่าแรงยึดลดลงก็ตาม แต่จำนวนแรงอัดซ้ำที่เพิ่มขึ้นกลับมีความสัมพันธ์น้อยมากในรูปเชิงเส้น (R=0.119) ต่อค่าแรงยึดที่ลดลงของซีเมนต์ชั่วคราวที่ใช้ในการยึดครอบฟันโลหะกับหลักยึดรากเทียมระบบนี้ en
dc.description.abstractalternative This research studied the effect of compressive cyclic loading on the retentive forces of a temporary cement (Temp-Bond(R)) used to retain crowns and implant abutments (Paragon system) and studied the relation between the loading and the altered retentive forces. The methods were comparing the retentive forces of cement retained crowns (n = 10) before and after applying an off-axis 3 mm. sinusoidal type compressive cyclic loading between 20-130 N for 500,000 cycles, 1,000,000 cycles and 5,000,000 cycles which were approximately equivalent of 6 months, 1 year and 5 years of in vivo mastication. The retentive forces before and after applied loading were compared with paired sample t-test (alpha = 0.05) and the altered retentive forces of 3 groups were analysed by one way analysis of variance and Post-hoc by Scheffe's multiple contrasts (alpha = 0.05). The relation of the loading and the altered retentive forces were analysed with Pearson correlation coefficient. The results showed that compressive cyclic loading reduced retentive forces significantly in all groups (P = 0.000). The retentive forces were reduced 16.75, 18.73 and 19.68 percentages in the applied loading group of 500,000 cycles, 1,000,000 cycles and 5,000,000 cycles respectively. Nevertheless, the reduced retentive forces were not significantly different (P = 0.792). Within the limitations of this study, the conclusion is that although cyclic compressive loading could reduce the retentive forces but the increased loading had very little relation (R=0.119) to the decreased retentive forces of this temporary cement used to retain crowns and abutments of this implant system. en
dc.format.extent 1802080 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1298
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ซีเมนต์ทางทันตกรรม en
dc.subject ครอบฟัน en
dc.subject ทันตกรรมรากเทียม en
dc.title ผลของแรงอัดซ้ำที่มีต่อแรงยึดของซีเมนต์ชั่วคราวที่ใช้กับรากเทียมระบบหนึ่ง en
dc.title.alternative The effect of compressive cyclic loading on the retentive forces of a temporary cement used with an implant system en
dc.type Thesis en
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline ทันตกรรมประดิษฐ์ en
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2003.1298


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record