Abstract:
ในกระบวนการนำองค์ความรู้และเทคโนโลยี่ชั้นสูงจากต่างชาติมาพัฒนาประเทศนั้น การวางแผนโครงการทางการคมนาคมระดับชาติก็เป็นประการหนึ่ง ที่ยังคงมีทัศนคติที่จะพึ่งพาต่างชาติโดยเฉพาะการคมนาคมทางทะเลที่เป็นกรณีหนึ่งที่น่าวิเคราะห์เป็นตัวอย่าง เพราะการวางแผนพาณิชยนาวีและการสร้างท่าเรือระหว่างประเทศนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ด้วยการสร้างรายได้มหาศาลของท่าเรือเดินสมุทรสามารถก่อให้เกิดเมืองใหญ่หรือเมืองหลวงของประเทศต่างๆ มีข้อสังเกตุของนักวางแผนท่าเรือของไทยว่า กรณีการวางแผนและผังท่าเรือกรุงเทพของผู้เชี่ยวชาญวิศวกรรมชาวเยอรมันจากความช่วยเหลือของสันนิบาตชาติเมื่อปี 1945 นั้นเป็นการวางแผนจากต่างชาติที่มีประสิทธิภาพและสมบูรณ์ที่สุด อย่างไรก็ตามการวางแผนและผังท่าเรืออื่นๆหลังจากนั้น องค์กรต่างชาติอาจถ่ายเทองค์ความรู้และเทคโนโลยี่ที่บิดเบือนบางประการ ทำให้การพัฒนาพาณิชยนาวีของประเทศไทยประสบปัญหาในอนาคตเราคงจะไม่อยากให้เกิดลักษณะเช่นนี้ตลอดไป คลองคอคอกกระเป็นหัวข้อที่เป็นความสนใจของนักวิจัยของไทยในทุกสาขา ทั้งทางสาขากายภาพและสังคมศาสตร์ แม้ว่าสรุปความคิดเห็นในแต่ละองค์กรจะไม่ตรงกันทั้งการสนับสนุนหรือคัดค้านรวมทั้งกรณีเส้นทางในแต่ละแนวของการขุดคลองคอคอดกระก็เป็นที่ถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์มาเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมีการศึกษาในกรณีสาขาวิชาของ การวางผังเมือง Urban Planning ทั้งที่เป็นประเด็นที่มีความสำคัญมากประเด็นหนึ่ง ที่จะกำหนดศักยภาพของโครงการสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่ประกอบไปกับการใช้ที่ดินในสองฝั่งของคลองคอคอดกระ และหากจะเกิดคลองคอคอดกระขึ้นในทางปฏิบัติแล้วผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อชุมชนเมืองในบริเวณนี้ก็จะมีความรุนแรงมากวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อส่งเสริมการศึกษาองค์ความรู้ของ ภาควิชาการวางแผนภาคและเมืองคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการยกกรณีศึกษาขนาดใหญ่ที่กำลังเป็นที่สนใจที่จะแสดงกระบวนการและวิสัยทัศน์ทางด้านผังเมือง เพื่อเป็นข้อมูลที่อาจเกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคต