dc.contributor.author |
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ |
|
dc.contributor.author |
วราภรณ์ บวรศิริ |
|
dc.contributor.author |
พรชุลี อาชวอำรุง |
|
dc.contributor.author |
พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.coverage.spatial |
ไทย |
|
dc.date.accessioned |
2010-04-05T09:00:45Z |
|
dc.date.available |
2010-04-05T09:00:45Z |
|
dc.date.issued |
2550 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12471 |
|
dc.description |
ภาพรวมอิทธิพลของต่างประเทศที่มีต่อการจัดการศึกษาไทย -- การจัดการศึกษายุคพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว -- การจัดการศึกษายุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง -- การจัดการศึกษายุคโลกาภิวัตน์ |
en |
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้ได้ทำการวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลของต่างประเทศที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงแนวคิดทางการศึกษาของไทย 2) นำเสนอนโยบายในการพัฒนาการศึกษาของไทยในอนาคต โดยศึกษาเฉพาะอิทธิพลของประเทศตะวันตกเท่านั้น และได้ศึกษาถึงพัฒนาการการจัดการศึกษาของประเทศไทยใน 3 ช่วงระยะเวลาคือ ยุคของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองและยุคโลกาภิวัตน์ สำหรับอิทธิพลทางการศึกษาของต่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของประเทศไทยนั้น ได้ศึกษาผลกระทบใน 3 ด้านคือ ด้านปรัชญาและแนวคิดทางการศึกษา ด้านกระบวนการจัดหลักสูตรและการสอนต่างๆ และด้านการบริหารจัดการศึกษา ด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งได้ผลสรุปดังนี้ ปรัชญาและแนวคิดทางการศึกษาของไทยได้รับอิทธิพลมาจากประเทศตะวันตกตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งในขณะนั้นได้รับอิทธิพลมาตามกระแสการคุกคามของประเทศตะวันตกที่ต้องการขยายอำนาจ ตลอดจนพ่อค้า นักผจญภัย และหมอสอนศาสนา ซึ่งส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านปรัชญาและแนวคิดทางการศึกษา ที่มีทั้งผลดีและผลเสีย ได้แก่ การผลิตคนเข้ารับราชการได้ตามความต้องการของประเทศ แต่ก็ยังผลให้เกิดภาวะคนล้นงาน เพราะทุกคนมุ่งจะศึกษาเล่าเรียนเพื่อเข้ารับราชการ จนละทิ้งอาชีพและถิ่นฐานเดิมของตน จนภายหลังก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงปรัชญาและแนวคิดทางการศึกษา ซึ่งก็ได้อิทธิพลส่วนใหญ่มาจากอังกฤษและญี่ปุ่น ที่มีการพัฒนาการศึกษาตามแบบตะวันตก ซึ่งมุ่งเน้นให้ประชาชนมีการเรียนวิชาชีพเพื่อสามารถพึ่งพาตนเองได้ และแก้ปัญหาคนล้นงาน ต่อมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 การจัดการศึกษาแบบอเมริกาได้มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาไทยโดยเฉพาะแนวคิดแบบพิพัฒนาการของ John Dewey ที่ยึดความสนใจของเด็กเป็นหลัก เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ถูกนำมาใช้ในโรงเรียน ตลอดจนแนวคิดการศึกษาตลอดชีวิตและขององค์การยูเนสโกได้เข้ามาสู่ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย มหาวิทยาลัยสมบูรณ์แบบเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ได้รับมาจากองค์การยูเนสโก ยังผลให้เกิดการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขึ้นมา และอีกหลายแนวคิดที่ได้มีการนำไปใช้ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ เมื่อเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ แนวคิดการเรียนรู้หรือการศึกษาตลอดชีวิตของ John Dewey และสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning Society) อันเป็นแนวคิดทฤษฎีของ Ivan Illich ได้กลับมาเป็นแนวคิดที่สำคัญในการจัดการศึกษาของประเทศต่างๆทั่วโลก ทำให้หลายๆประเทศต่างหันมาทำการปฏิรูปการศึกษา เพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและเป็นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้โดยมีการนำแนวคิดการศึกษาเพื่อปวงชน (Education for all) และการให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา (All for education) โดยที่ประเทศไทยเองได้มีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เกิดขึ้นซึ่งถือได้เป็นรูปธรรมของการปฏิรูปการศึกษาในประเทศ การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เป็นการจัดการศึกษาด้วยความต้องการที่จะรักษาบ้านเมืองให้รอดพ้นจากภัยคุกคามของต่างประเทศ จึงได้มีการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นเนื้อหาความรู้เป็นหลัก และเห็นว่าการท่องจำจะทำให้ผู้เรียนนั้นฉลาดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองการจัดการศึกษาจะได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศในการให้การสนับสนุนให้มีโครงการทางการศึกษาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์การยูเนสโก องค์การไอซีเอ ยูซอม และธนาคารโลก ที่คอยให้ความช่วยเหลือด้านการจัดการเรียนการสอน สื่อ อุปกรณ์ และทุนการศึกษา เมื่อเข้าสู่ยุคโลกาภิวัฒน์ การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนจะเป็นการจัดหลักสูตรที่ยึดแนวทาง “ผู้เรียนเป็นสำคัญ” และ “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” ทั้งยังจัดหลักสูตรเพื่อให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ และเป็นการเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนสองภาษา โรงเรียนวิทยาศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีการนำเอาวิธีการจัดการเรียนการสอนของต่างประเทศเข้ามาใช้ อันได้แก่ โรงเรียนแนวเร็กจิโอ เอมิเลีย เป็นต้น การบริหารจัดการศึกษาของประเทศไทยนั้นได้รับอิทธิพลภายนอกประเทศมากพอสมควร ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เกิดจากการคุกคามทางการทหารและการเมืองของจักรวรรดินิยมตะวันตก จนทำให้ต้องมีการปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพโดยในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น จะเป็นการบริหารจัดการศึกษาที่พยายามรวมหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางการศึกษาให้อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานเพียงหน่วยงานเดียว จนเกิดเป็นกรมธรรมการขึ้นมา ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองการสนับสนุนจากองค์การต่างประเทศยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารจัดการศึกษาระดับปฐมศึกษาของไทย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในครั้งนั้นคือการโอนกิจการบริหารโรงเรียนประชาบาลขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและโรงเรียนประถมศึกษาของกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ไปเป็นของสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษา และในส่วนของการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยต่างๆ และมีการพัฒนาคณาจารย์โดยได้รับทุนการศึกษาจากองค์กรต่างๆ เช่น มูลนิธิฟูลไบร์ท องค์การยูเสด มหาวิทยาลัยอินเดียนาของประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้จำนวนคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ เพิ่มอย่างต่อเนื่องและเป็นปัจจัยที่ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถขยายการจัดการศึกษาถึงระดับบัณฑิตศึกษาได้อย่างจริงจัง จนมาถึงยุคโลกาภิวัฒน์ก็ได้เกิดการปฏิรูปการบริหารจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นให้มีการกระจายอำนาจการบริหารจัดการศึกษาให้มีความทั่วถึง และเกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการจากหน่วยงานท้องถิ่น ชุมชน องค์กรต่างๆ ตลอดจนมีการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นแนวทางในการบริหารจัดการศึกษาที่หลายๆ ประเทศได้ใช้ในการปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน นโยบายการพัฒนาการศึกษาไทยในอนาคต ได้แก่ การนำเอาปรัชญาทางการศึกษาจากต่างประเทศมาใช้โดยเฉพาะเรื่องนักเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ควรสร้างความชัดเจนในการจัดการเรียนรู้โดยให้เกิดกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกๆ ฝ่าย และควรได้เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติ ด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามบริบททางการศึกษาของแต่ละแห่ง ปรัชญาแนวคิดในเรื่องของการศึกษาตลอดชีวิตถึงได้ว่าเป็นแนวคิดที่ถูกต้อง รัฐบาลจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความสนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดความต้องการในการพัฒนาตนเองของประชาชนในทุกๆ ระดับ ทั้งทางด้านวิชาการและในส่วนของวิชาชีพต่างๆ อย่างจริงจังตลอดจนการให้โอกาสทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาในทุกระดับ สำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่น่าจะต้องใช้บุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถทั้งทางด้านการพัฒนาหลักสูตร มาตรฐานการศึกษา สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ทันกับยุคลสมัย เพื่อให้เกิดการพัฒนาบุคลากรที่มีทั้งความสามารถและคุณธรรม จริยธรรม อันจะช่วยเหลือประเทศชาติให้เข้าแข่งขันกับประเทศต่างๆ บนเวทีโลกได้ และการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่องจะทำให้ระบบการศึกษามีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ในเรื่องของการโอนการบริหารจัดการศึกษาให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยตรงนั้น ควรมีการกำหนดความสัมพันธ์กับเขตพื้นที่การศึกษา และมีบุคลากรทางด้านวิชาชีพการศึกษาตลอดจนมีความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ในท้องถิ่นอย่างแท้จริง การจัดการศึกษาของประเทศไทยจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้มีความครอบคลุมและรอบรู้ในทุกๆ ด้าน สำหรับการเรียนรู้ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตไม่ได้มีเพียงแต่เนื้อหาวิชาความรู้ที่เป็นประโยชน์เท่านั้น หากแต่ยังมีข้อมูลข่าวสารบางส่วนที่ไม่เหมาะสมและอาจส่งผลให้เกิดวัฒนธรรมและค่านิยมที่ผิดๆ อันจะส่งผลเสียแก่ผู้เรียนโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น ดังนั้นรัฐและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควรมีการวางกรอบและแนวทางในการป้องกันไม่ให้ข้อมูลข่าวสารบางอย่างที่ไม่เหมาะสม มีอิทธิพลต่อผู้เรียนจนทำให้เกิดเป็นปัญหาสังคมขึ้นได้ |
en |
dc.description.sponsorship |
เงินอุดหนุนงบประมาณแผ่นดิน ปี 2546 |
en |
dc.format.extent |
16810611 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
การศึกษา -- ไทย |
en |
dc.subject |
การจัดการศึกษา -- ไทย |
en |
dc.title |
อิทธิพลทางการศึกษาของต่างประเทศที่มีต่อการจัดการศึกษาของไทย : รายงานผลการวิจัย |
en |
dc.title.alternative |
The Study of foreign educational impacts on Thai educational management |
en |
dc.type |
Technical Report |
es |
dc.email.author |
Paitoon.Si@Chula.ac.th |
|
dc.email.author |
Varaporn.B@Chula.ac.th |
|
dc.email.author |
Pornchulee.A@Chula.ac.th |
|
dc.email.author |
Pansak.P@chula.ac.th |
|