DSpace Repository

การเปรียบเทียบวิธีการประมาณแบบช่วง สำหรับค่าสัดส่วนของการแจกแจงแบบทวินาม

Show simple item record

dc.contributor.advisor มานพ วราภักดิ์
dc.contributor.author สงขลา สำเภาเงิน
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
dc.date.accessioned 2010-06-02T05:44:47Z
dc.date.available 2010-06-02T05:44:47Z
dc.date.issued 2542
dc.identifier.isbn 9743344748
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12757
dc.description วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิธีประมาณค่าแบบช่วงสำหรับค่าสัดส่วนประชากรของการแจกแจงแบบทวินาม โดยทำการเปรียบเทียบค่าระดับความเชื่อมั่นและค่าความยาวคลื่นของค่าประมาณแบบช่วง วิธีประมาณที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ วิธีปกติ วิธีแปลงแบบอาร์คไซน์ วิธีสคอร์ วิธีปัวส์ซอง และวิธีเอฟ การเปรียบเทียบกระทำภายใต้สถานการณ์ของขนาดตัวอย่างมีค่า 2 ถึง 50 ค่าสัดส่วนประชากรมีค่า 0.01 ถึง 0.09 โดยค่าเพิ่มขึ้นครั้งละ 0.01 และ 0.10 ถึง 0.50 โดยค่าเพิ่มขึ้นครั้งละ 0.05 กำหนดค่าระดับความเชื่อมั่นมีค่า 90%, 95% และ 99% ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้จากการจำลองด้วยเทคนิคมอนติคาร์โลและทำการทดลองซ้ำๆ กัน 2,000 ครั้ง ในแต่ละสถานการณ์ที่กำหนด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าประมาณแบบช่วงของวิธีปกติ จะให้ค่าระดับความเชื่อมั่นไม่ต่ำกว่าระดับความเชื่อมั่นที่กำหนดและให้ค่าความยาวเฉลี่ยของค่าประมาณแบบช่วงต่ำที่สุด เมื่อขนาดตัวอย่างมีค่ามากกว่า 45 และค่าสัดส่วนประชากรมีค่าอยู่ในช่วง 0.35 ถึง 0.50 2. ค่าประมาณแบบช่วงของวิธีแปลงแบบอาร์คไซน์ จะให้ค่าระดับความเชื่อมั่นไม่ต่ำกว่าระดับความเชื่อมั่นที่กำหนดและให้ค่าความยาวเฉลี่ยของค่าประมาณแบบช่วงต่ำที่สุด เมื่อขนาดตัวอย่างมีค่ามากกว่า 30 และค่าสัดส่วนประชากรมีค่าอยู่ในช่วง 0.30 ถึง 0.50 3. ค่าประมาณแบบช่วงของวิธีสคอร์ จะให้ค่าระดับความเชื่อมั่นไม่ต่ำกว่าระดับความเชื่อมั่นที่กำหนดและให้ค่าความยาวเฉลี่ยของค่าประมาณแบบช่วงต่ำที่สุดในทุกระดับของขนาดตัวอย่าง โดยที่สามารถคลุมค่าสัดส่วนประชากรได้ดังนี้ ถ้าขนาดตัวอย่างมีค่าน้อยกว่า 30 ค่าสัดส่วนประชากรมีค่าอยู่ในช่วง 0.15 ถึง 0.50 และ ถ้าขนาดตัวอย่างมีค่าตั้งแต่ 30 ขึ้นไป ค่าสัดส่วนประชากรมีค่าอยู่ในช่วง 0.05 ถึง 0.50 4. ค่าประมาณแบบช่วงของวิธีปัวส์ จะให้ค่าระดับความเชื่อมั่นจากการทดลองไม่ต่ำกว่าระดับความเชื่อมั่นที่กำหนดในทุกระดับค่าของขนาดตัวอย่างและค่าสัดส่วนประชากร แต่ไม่สามารถให้ค่าความยาวเฉลี่ยของค่าประมาณแบบช่วงต่ำที่สุดได้ 5. ค่าประมาณแบบช่วงของวิธีเอฟ จะให้ค่าระดับความเชื่อมั่นไม่ต่ำกว่าระดับความเชื่อมั่นที่กำหนดและค่าความยาวเฉลี่ยของค่าประมาณแบบช่วงต่ำที่สุดในทุกระดับของขนาดตัวอย่าง โดยที่สามารถคลุมค่าสัดส่วนประชากรได้ดังนี้ ถ้าขนาดตัวอย่างมีค่าน้อยกว่า 30 ค่าสัดส่วนประชากรมีค่าอยู่ในช่วง 0.01 ถึง 0.10 และถ้าขนาดตัวอย่างมีค่าตั้งแต่ 30 ขึ้นไป ค่าสัดส่วนประชากรมีค่าอยู่ในช่วง 0.01 ถึง 0.04 en
dc.description.abstractalternative The objective of this study is to compare five methods of interval estimations for proportion in binomial distribution by considering their confidence levels and the expected lengths. The estimation methods under study are Normal method, Arcsine transformation method, Score method, Poisson method and F method. The comparison was done using sample size (n) 2 to 50, population proportion (p) ranging from 0.01 to 0.09 increasing by 0.01 and from 0.10 to 0.50 increasing by 0.05, all of which are considered at 90%, 95% and 99% confidence levels. The data was generated through the Monte Carlo simulation technique and each case was repeated 2,000 times. The conclusions of this study are as follows: 1. The confidence levels of Normal method are not lower than the given confidence levels and the expected confidence interval lengths are shortest when n>45 and 0.3530 and 0.3030 and 0.0530 and 0.05 en
dc.format.extent 483358 bytes
dc.format.extent 277347 bytes
dc.format.extent 566962 bytes
dc.format.extent 336681 bytes
dc.format.extent 3311379 bytes
dc.format.extent 305275 bytes
dc.format.extent 541804 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.259
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การประมาณค่า en
dc.subject การแจกแจงทวินาม en
dc.subject การสุ่มตัวอย่าง (สถิติ) en
dc.title การเปรียบเทียบวิธีการประมาณแบบช่วง สำหรับค่าสัดส่วนของการแจกแจงแบบทวินาม en
dc.title.alternative A Comparison on methods of interval estimation for proportion in binomial distribution en
dc.type Thesis es
dc.degree.name สถิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline สถิติ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Manop.V@Chula.ac.th, fcommva@acc.chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.1999.259


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record