dc.contributor.author |
ศิริชัย กาญจนวาสี |
|
dc.contributor.author |
ศิริเดช สุชีวะ |
|
dc.contributor.author |
ดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2010-06-03T10:33:07Z |
|
dc.date.available |
2010-06-03T10:33:07Z |
|
dc.date.issued |
2547 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12782 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญสองประการ คือ 1. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และการทำนายความสำเร็จในการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตระหว่างตัวแปรคะแนนสอบ ตัวแปรภูมิหลัง และอันดับการเลือกคณะครุศาสตร์ กับตัวแปรความสำเร็จในการศึกษา ของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต และ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และการทำนายความสำเร็จในการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาระหว่างตัวแปรคะแนนสอบ และตัวแปรภูมิหลัง กับตัวแปรความสำเร็จในการศึกษา ของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญดังนี้ 1. ศึกษาเอกสารและข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2. กำหนดกรอบของกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาที่มีการบันทึกและสามารถสืบค้นข้อมูลได้เป็นนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต รุ่นปีการศึกษา 2541-2543 จำนวน 890 คน นิสิตระดับมหาบัณฑิต รุ่นปีการศึกษา 2542-2544 จำนวน 749 คน และนิสิตระดับดุษฎีบัณฑิต รุ่นปีการศึกษา 2541-2543 จำนวนทั้งหมด 187 คน ข้อมูลที่สืบค้นได้จากกลุ่มตัวอย่างบัณฑิตระดับปริญญาบัณฑิต บัณฑิตศึกษา(มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต) ได้ผ่านการตรวจสอบและจัดกระทำเบื้องต้นแล้ววิเคาระห์ด้วยสถิติบรรยาย (descriptive statistics) ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการทำนายด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ (multiple regression) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนิสิตครุศาสตร์ปริญญาบัณฑิต ปีการศึกษา 2541-2543 จำนวน 380, 333 และ 281 คน ตามลำดับนิสิตทั้ง 3 ปีการศึกษามีลักษณะสอดคล้องกันคือส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครและเลือกเข้าศึกษาคณะครุศาสตร์เป็นอันดับที่ 1 กลุ่มตัวอย่างนิสิต 13 สาขา ประกอบด้วยสาขามัธยมศึกษา (วิทย์) จำนวนมากที่สุด รองลงมาคือ สาขามัธยมศึกษา (ศิลป์) นิสิตรุ่นปี 2541-2543 สำเร็จการศึกษาภายใน 4 ปี คิดเป็นร้อยละ 84.37, 86.40, และ 87.59 ตามลำดับ ได้เกียรตินิยมอันดับ 1 ร้อยละ 8.89, 3.62 และ 10.34 ตามลำดับ ได้เกียรตินิยมอันดับ 2 ร้อยละ 32.07, 30.51 และ 33.44 ตามลำดับ คะแนนรวมตอนสอบเข้ามีความสัมพันธ์กับเกรดเฉลี่ยสะสมของวิชาเอกสูงสุด (r = 0.61) ส่วนคะแนนแววครูไม่มีความสัมพันธ์กับเกรดปี 1, 2, 3 และ 4 และไม่มีความสัมพันธ์กับเกรดฝึกสอน ในสายวิทยาศาสตร์ตัวแปรเพศ ภูมิลำเนา เกรด ม. ปลาย คะแนนวิชาฟิสิกส์ สามารถทำนายเกรดเฉลี่ยสะสมวิชาทั่วไป ส่วนตัวแปรคะแนนวิชาสังคมศึกษา คะแนนคณิตศาสตร์1 และคะแนนแววครู สามารถทำนายเกรดเฉลี่ยสะสมวิชาเอก 2. ระดับมหาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนิสิตครุศาสตรมหาบัณฑิต ปีการศึกษา 2542-2544 จำนวน 254, 220 และ 275 คนตามลำดับ นิสิตทั้ง 3 ปีการศึกษามีลักษณะสอดคล้องกัน คือ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างนิสิตจาก 19 สาขาวิชา ประกอบด้วย สาขาบริหารการศึกษา จำนวนมากที่สุด รองลงมาคือสาขาดสตทัศนศึกษา นิสิตส่วนใหญ่ใช้เวลาในการสำเร็จการศึกษามากกว่า 4 ภาคการศึกษา เกรดเฉลี่ยสะสมของแต่ละปีการศึกษาอยู่ระหว่าง 3.58-3.74 เกรดวิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี รองลงมาอยู่ในระดับยอดเยี่ยม และผ่าน เกรดเฉลี่ยสะสม มีความสัมพันธ์กับคะแนนภาษาอังกฤษในระดับปานกลาง (r = 0.491) แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนมาตรฐานทีของความถนัดทางวิชาการ (GREAT-S) คะแนนมาตรฐานทีของความถนัดทางวิชาการ (GREAT-S) สามารถทำนายเกรดเฉลี่ยสะสม คะแนนเฉลี่ยของวิชาบังคับและคะแนนเฉลี่ยของวิชาเลือกได้มากที่สุด รองลงมาได้แก่ คะแนนวิชาเฉพาะ สถาบันการศึกษาที่เรียนจบระดับปริญญาตรี และเพศตามลำดับ 3.ระดับดุษฎีบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนิสิตครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต ปีการศึกษา 2541-2543 จำนวน 61, 57 และ 68 คน ตามลำดับ นิสิตทั้ง 3 ปีการศึกษามีลักษณะสอดคล้องกันคือ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานครและภาคกลาง กลุ่มตัวอย่างนิสิตจาก 10 สาขาวิชาประกอบด้วยสาขาอุดมศึกษาจำนวนมากที่สุด รองลงมาคือ สาขานอกระบบโรงเรียน นิสิตส่วนใหญ่ใช้เวลาในการศึกษามากกว่า 8 ภาคการศึกษา เกรดเฉลี่ยสะสมของแต่ละปีการศึกษาอยู่ระหว่าง 3.64-3.87 เกรดวิทยานิพนธ์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับดี รองลงมาอยู่ในระดับยอดเยี่ยม และผ่าน เกรดเฉลี่ยสะสม มีความสัมพันธ์กับคะแนนภาษาอังกฤษในระดับน้อย (r = 0.167) แต่มีความสัมพันธ์กับคะแนนเกรดเฉลี่ยระดับปริญญาโทในระดับปานกลาง (r = .581) สามารถทำนายเกรดเฉลี่ยสะสม คะแนนเฉลี่ยของวิชาบังคับและคะแนนเฉลี่ยของวิชาเลือกได้มากที่สุด รองลงมาได้แก่ เพศ คะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาโท และคะแนนมาตรฐานทีของความถนัดทางวิชาการ (GREAT-S) ตามลำดับ |
en |
dc.description.sponsorship |
สนับสนุนโดย เงินทุนเพื่อการวิจัย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2547 |
en |
dc.format.extent |
16722284 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- นักศึกษา |
en |
dc.subject |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- การรับนักศึกษา |
en |
dc.subject |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- การสอบคัดเลือก |
en |
dc.subject |
สถาบันอุดมศึกษา -- การรับนักศึกษา |
en |
dc.subject |
สถาบันอุดมศึกษา -- การสอบคัดเลือก |
en |
dc.title |
ประสิทธิภาพของการคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : รายงานการวิจัย |
en |
dc.type |
Technical Report |
es |
dc.email.author |
Sirichai.K@Chula.ac.th |
|
dc.email.author |
Siridej.S@Chula.ac.th |
|
dc.email.author |
Duangkamol.T@Chula.ac.th |
|