Abstract:
คณะวิจัยได้ศึกษาผลของเนื้อกระดูก demineralized bone matrix (DBM) ในเซลล์โบรบลาสต์และการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์กระดูก โดยศึกษาเปรียบเทียบกับเซลล์กลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้รับเนื้อกระดูก DBM พบว่า DBM ที่มีปริมาณแคลเซียเหลืออยู่ 2% มีระดับ alkaline phosphatase activity สูงที่สุด ลักษณะของเซลล์กลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้รับเนื้อกระดูก DBM ที่แยกเลี้ยงในจานทดลองเป็นเซลล์รูปกระสวยยาวเรียว เรียงตัวชิดกัน จากการศึกษาพบว่าเซลล์กลุ่มที่ได้รับเนื้อเยื่อกระดูก DBM มีการเจริญเพิ่มจำนวนของเซลล์น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อศึกษาถึงความสามารถในการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์กระดูก เซลล์กลุ่มที่ได้เนื้อกระดูก DBM มีลักษณะกลมแบน ในขณะที่เซลล์กลุ่มควบคุมไม่มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเซลล์แตกต่างไปจากเดิม หลังจากเลี้ยงไว้ในตู้อบเพาะเลี้ยงเซลล์เป็นเวลา 7 วัน ในการทดลองย้อมเซลล์ด้วย alkaline phosphatase เซลล์กลุ่มที่ได้รับเนื้อเยื่อกระดูก DBM ติดสีม่วงแดง นอกจากนี้เมื่อทำการย้อมด้วย Von Kossa และ osteocalcin ก็ให้ผลบวก ซึ่งยืนยันว่าเซลล์ไฟโบรบลาสต์มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์กระดูก ในขณะที่เซลล์กลุ่มควบคุมไม่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงเซลล์ไฟโบรบลาสต์ที่ได้รับเยื่อกระดูก DBM สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์กระดูกได้ ผลที่ได้จากการศึกษานี้เป็นแนวทางเลือกใหม่ที่สำคัญในการศึกษาพัฒนาวิธีการนำไปใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อวิศวกรรมต่อไป