dc.contributor.advisor |
สุภาพรรณ โคตรจรัส |
|
dc.contributor.author |
ทัศไนย วงศ์สุวรรณ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
|
dc.date.accessioned |
2010-06-11T11:24:38Z |
|
dc.date.available |
2010-06-11T11:24:38Z |
|
dc.date.issued |
2542 |
|
dc.identifier.isbn |
9743342451 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12851 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
en |
dc.description.abstract |
ศึกษาผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมต่อความโกรธของนักเรียนวัยรุ่น โดยมีสมมุติฐานการวิจัยคือ (1) ระดับความโกรธโดยทั่วไปของนักเรียน ที่ได้เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม จะต่ำกว่าระดับความโกรธโดยทั่วไปของนักเรียนกลุ่มควบคุม ในระยะหลังการทดลองและในระยะติดตามผล (2) ระดับความโกรธโดยทั่วไป ของนักเรียนที่ได้เข้าร่วมปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม ในระยะหลังการทดลองและในระยะติดตามผลจะต่ำกว่าในระยะก่อนการทดลอง (3)ระดับการแสดงความโกรธออกภายนอกของนักเรียนที่ได้เข้าร่วม การปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม จะต่ำกว่าระดับการแสดงความโกรธออกภายนอกของนักเรียนกลุ่มควบคุม ในระยะหลังการทดลองและในระยะติดตามผล (4) ระดับการแสดงความโกรธออกภายนอก ของนักเรียนที่ได้เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม ในระยะหลังการทดลองและในระยะติดตามผลจะต่ำกว่าในระยะก่อนการทดลอง (5)ระดับการควบคุมความโกรธของนักเรียน ที่ได้เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม จะสูงกว่าระดับการควบคุมความโกรธของนักเรียนกลุ่มควบคุม ในระยะหลังการทดลองและในระยะติดตามผล (6) ระดับการควบคุมความโกรธ ของนักเรียนที่ได้เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม ในระยะหลังการทดลองและในระยะติดตามผลจะสูงกว่าในระยะก่อนการทดลอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองแบบมีกลุ่มควบคุม ทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (Pretest-Posttest Control Group Design) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่มีประวัติจากฝ่ายปกครอง ว่ามีปัญหาทางพฤติกรรมจำนวน 16 คน ซึ่งสุ่มจากนักเรียนที่มีประวัติจากฝ่ายปกครองว่า มีปัญหาทางพฤติกรรมที่ได้คะแนนจากแบบวัดความโกรธ และการแสดงความโกรธในมาตรความโกรธแบบลักษณะ และมาตรการแสดงความโกรธออกภายนอกสูงกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 75 และมีคะแนนในมาตรการควบคุมความโกรธต่ำกว่าเปอร์เซนไทล์ที่ 25 สุ่มเป็นกลุ่มทดลอง 8 คน และกลุ่มควบคุม 8 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่ม ตามแนวพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมเป็นเวลา 7 สัปดาห์ต่อเนื่องกัน สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ครั้งละ 1 1/2-2 ชั่วโมง รวม 20 ชั่วโมง โดยผู้วิจัยเป็นผู้นำกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบวัดประสบการณ์ความโกรธและการแสดงความโกรธ ซึ่งพัฒนามาจากแบบสำรวจความโกรธแบบสภาวะ-ลักษณะและการแสดงความโกรธของ Spielberger วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบความแตกต่าง ของค่าเฉลี่ยคะแนนความโกรธแบบลักษณะ การแสดงความโกรธออกภายนอกและคะแนนการควบคุมความโกรธด้วยการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า (1) หลังการทดลองและในระยะติดตามผล นักเรียนที่เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มมีคะแนนความโกรธโดยทั่วไปต่ำกว่านักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) หลังการทดลองและในระยะติดตามผล นักเรียนที่เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มมีคะแนนความโกรธโดยทั้วไปต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัฐทางสถิติที่ระดับ .05 (3) หลังการทดลองและในระยะติดตามผล นักเรียนที่เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มมีคะแนนการแสดงความโกรธออกภายนอกต่ำกว่านักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) หลังการทดลองและในระยะติดตามผล นักเรียนที่เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มมีคะแนนการแสดงความโกรธออกภายนอกต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (5) หลังการทดลองและในระยะติดตามผล นักเรียนที่เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มมีคะแนนการควบคุมความโกรธสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (6) หลังการทดลองและในระยะติดตามผล นักเรียนที่เข้าร่วมการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มมีคะแนนการควบคุมความโกรธสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
en |
dc.description.abstractalternative |
To study the effect of group rational emotive behavior therapy on anger of adolescent students. The hypotheses were that (1) the posttest and follow-up test scores on Trait-Anger scale of the experimental group would be lower than the posttest and follow-up test scores of the control group (2) the posttest and follow-up test scores on Trait-Anger scale of the experimental group would be lower than its pretest scores (3) the posttest and follow-up test scores on Anger-Out scale of the experimental group would be lower than the posttest and follow-up test scores of the control group (4) the posttest and follow-up test scores on Anger-Out scale of the experimental group would be lower than its pretest scores (5) the posttest and follow-up test scores on Anger-Control scale of the experimental group would be higher than the posttest and follow-up test scores of the control group (6) the posttest and follow-up test scores on Anger-Control scale of the experimental group would be higher than its pretest scores. The research design was the pretest-posttest control group design. The sample was 16 students selected from the students who had reported behavior problem on the school records and scored higher than 75 percentile on Trait-Anger and Anger-Out scales and scored lower than 25 percentile on Anger-Control scale. They were randomly assigned to an experimental group and a control group, each group comprising 8 student. The experimental group participated in a group rational emotive behavior therapy program conducted by the researcher, for one and a half to two hours, once or twice a week, over a period of 7 consecutive weeks altogether for approximately 20 hours. The instrument used in this study was the experience and expression of Anger Scales developed from the spielberger's State-Trait Anger Expression Inventory. The t-test was utilized for data analysis. The results indicated that: (1) The postest and follow-up test scores on the Trait-Anger scale of the experimental group were lower the postest and follow-up test scores of the control group at .05 level of significance. (2) The postest and follow-up test scores on the Trait-Anger scale of the experimental group were lower than its pretest scores at .05 level of significance. (3) The postest and follow-up test scores on the Anger-Out scale of the experimental group were lower than the postest and follow-up test scores of the cotrol group at .05 level of significance. (4) The postest and follow-up test scores on the Anger-Out scale of the experimental group were lower than its pretest scores at .05 level of significance. (5) The postest and follow-up test scores on the Anger-Control scale of the experimental group were higher than the postest and follow-up test scores of the control group at .05 level of significance. (6) The postest and follow-up test scores on the Anger-Control scale of the experimental group were higher than its pretest scores at .05 level of significance. |
en |
dc.format.extent |
657999 bytes |
|
dc.format.extent |
459205 bytes |
|
dc.format.extent |
1036866 bytes |
|
dc.format.extent |
1061654 bytes |
|
dc.format.extent |
2209745 bytes |
|
dc.format.extent |
736050 bytes |
|
dc.format.extent |
219929 bytes |
|
dc.format.extent |
2667952 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ความโกรธ |
en |
dc.subject |
การปรึกษาเชิงจิตวิทยา |
en |
dc.subject |
จิตวิทยาวัยรุ่น |
en |
dc.title |
ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม ต่อความโกรธของนักเรียนวัยรุ่น |
en |
dc.title.alternative |
The effect of group rational emotive behavior therapy on anger of adolescent students |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
จิตวิทยาการปรึกษา |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Supapan.K@Chula.ac.th |
|