Abstract:
วัตถุประสงค์ : 1. ผลิตยางผสมชนิดใหม่ที่มียางธรรมชาติเป็นองค์ประกอบหลัก 2. ตรวจสอบและเปรียบเทียบคุณสมบัติของยางผสมชนิดใหม่กับยางผสมระหว่างยางธรรมชาติและยางเอสบีอาร์ และศึกษาความเข้ากันได้ดีของยางผสมชนิดใหม่ กระบวนการวิจัย: NRผสมกับULDPEในอัตราส่วน70/30 60/40 และ50/50 (wt/wt) ด้วยเครื่องบดสองลูกกลิ้ง วัลคาไลน์ด้วยซัลเฟอร์ภายในเครื่องอัด นำแผ่นชีทที่ได้ตัดเป็นชื้นงาน เพื่อทดสอบคุณสมบัติเชิงกลและคุณสมบัติทางกายภาพตามมาตรฐาน ASTM NRถูกผสมกับSBRภายใต้วิธีการผสมจนถึงการเตรียมเป็นชิ้นงานเพื่อทดสอบคุณสมบัติต่างๆ เช่นเดียวกับยางผสมNR/ULDPE ทำการเปรียบเทียบคุณสมบัติของยางผสมทั้งสองชนิดนี้ ผลที่ได้จากการวิจัย: ยางผสม NR/ULDPE มีคุณสมบัติเชิงกลด้านการดึงยืด ความต้านทานต่อการฉีกขาด และคุณสมบัติเชิงกลด้านดึงยืดหลังจากได้รับความร้อนและออกซิเจน ดีกว่ายางผสม NR/SBR แต่มีความต้านทานต่อการขัดถูและความต้านทานต่อการหักงอต่ำกว่า ค่าความหนืดมูนนีและค่าการกระดอนของยางผสมทั้งสองมีค่าใกล้เคียงกัน แต่ความแข็งของยางผสมชนิดใหม่นี้มีค่าสูงกว่าเล็กน้อย ยางผสม NR/ULDPE มีลักษณะแยกเฟสระดับโมเลกุล แต่ผสมเข้ากันได้ดีโดยไม่ต้องมีวัสดุอื่นช่วย พอลิเมอร์ทั้งสองจะมีลักษณะเป็นเฟสต่อเนื่องเมื่อมีอัตราส่วนเท่ากัน (50/50) สาระสำคัญของผลที่ได้: ยางผสม NR/ULDPE และมีลักษณะเป็น compatible blend และแสดงคุณสมบัติเชิงกลด้านดึงยืดใกล้เคียงกับ NR และดีกว่ายางผสม NR/SBR ยางผสมชนิดใหม่นี้สามารถใช้แทนยางผสม NR/SBR ได้ในกรณีที่คำนึงถึงคุณสมบัติดังต่อไปนี้: คุณสมบัติด้านดึงยืด ความต้านทานต่อการฉีกขาด ความต้านทานต่อการเสื่อมสภาพหลังจากได้รับความร้อนและออกซิเจน ข้อเสนอแนะ : งานวิจัยที่จะทำต่อคือการผสมด้วยเครื่องผสมระบบปิด เพื่อการเปลี่ยนแปลงมอร์โฟโลจี วัคคาไนซ์ ULDPE ด้วยเปอร์ออกไซด์รวมทั้งมีการเติมเขม่าดำ (carbon black) สิ่งเหล่านี้จะมีผลกระทบโดยตรงกับคุณสมบัติเชิงกลและทางกายภาพ อาจทำให้มีการปรับปรุงข้อด้อยที่เกิดขึ้นได้