DSpace Repository

ผลของวัลโปรอิล ยูเรีย ต่อตัวรับกลูตาเมทที่ถูกเหนี่ยวนำให้แสดงออกบนผนังเซลล์ไข่กบ : รายงานวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author มยุรี ตันติสิระ
dc.contributor.author บุญยงค์ ตันติสิระ
dc.contributor.author ชำนาญ ภัตรพานิช
dc.contributor.author เพ็ญพิมล ผลทรัพย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
dc.date.accessioned 2010-07-14T03:54:48Z
dc.date.available 2010-07-14T03:54:48Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13034
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษากลไกในการต้านชักของสารเอ็น-(2-โพรพิลเพนทาโนอิล)ยูเรีย หรือ วีพียู ซึ่งเป็นอนุพันธ์ใหม่ของวาลโปรเอทที่สังเคราะห์ขึ้นมา โดยศึกษาผลของสารดังกล่าวต่อตัวรับเอ็นเอ็มดีเอ ชนิดเอ็นอาร์เอ1เอ/เอ็นอาร์2บี ซึ่งถูกเหนี่ยวนำให้แสดงออกบนผิวเซลล์ไข่กบสายพันธุ์ซีโนปุส ด้วยการฉีดซีอาร์เอ็นเอและใช้เทคนิคการวัดกระแสที่ศักย์ไฟฟ้าคงที่ด้วยขั้งไฟฟ้า 2 ขั้ว การให้สารวีพียูเพียงชนิดเดียว ในขนาด 1-300 ไมโครโมลาร์ ไม่มีฤทธิ์เปลี่ยนแปลงความสามารถในการนำไฟฟ้าของไขกบ สายพันธุ์ซีโนปุส ในขณะที่กาให้กลตาเมทขนาด 001-300 ไมโครโมลาร์ ร่วมกับกลัยซีนในขนาด 10 ไมโครโมลาร์ จะทำให้เกิดกระแสไหลผ่านเข้าสู่ดซลล์ไข่กบนปริมาณที่แปรตามความเข้มข้นของกลูตาเมทที่ให้ โดยมีค่าความเข้มข้นที่จะทำให้เกิดการตอบสนองกึ่งหนึ่งของการตอยสนองสูงสุดที่ 2.26+-0.31 ไมโครโมลาร์ เมื่อให้สารวีพียูร่วมกับกลูตาเมท พบว่าสารวีพียูในขนาด 100-300 ไมโครโมลาร์สามารถยังยั้งฤทธิ์ของกลูตาเมทที่มีต่อตัวรับเอ็นเอ็มดีเอ ชนิดเอ็นอาร์เอ1เอ/เอ็นอาร์2บี ได้ในเชิงแข่งขันและผันกลับได้คล้ายคลึงกับสาร AP5 ซึ่งเป็นสารต้านฤทธิ์ในเชิงแข่งขันที่จำเพาะกับตำแหน่งการจับของกลูตาเมทกับตัวรับเอ็นเอ็มดีเอ ดังจะเห็นจากการเคลื่อนกราฟแสดงการตอบสนองของกลูตาเมทออกไปทางด้านขวาโดยไม่เปลี่ยนแปลงระดับการตอบสนองสูงสุด จากการที่พบว่าฤทธิ์ยับยั้งของสารวีพียูในขนาด 100 ไมโครโมลาร์ต่อกลูตาเมทในขนาด 3 ไมโครโมลาร์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการเลี่ยนแปลง holding potential ทีละขั้นจาก-150 จนถึง +50 มิลลิโวลท์หรือมีการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของกลัยซีน แสดงว่าการต้านฤทธิ์ดังกล่าวไม่ขึ้นกับ voltage หรือความเข้มข้นของกลัยซีน นอกจากนั้นยังพบว่าสารวีพียูในขนาด 100-300 ไมโครโมลาร์สามารถยังยั้งฤทธิ์กระตุ้นของสเปียร์มีนต่อตัวรับกลูตาเมท ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่ว่า กลไกการต้านชักของสารวีพียูในสัตว์ทดลองอาจมีส่วนหนึ่งท่เป็นผลสืบเนื่องจากการออกฤทธิ์ยังยั้งต่อตัวรับเอ็นเอ็มดีเอชนิดเอ็นอาร์เอ1เอ/เอ็นอาร์2บี en
dc.description.abstractalternative The main goal of this study was to gain insight into the mechanisms underlying the anticonvulsant activity of N-(2-Propylpentanoyl)Urea (VPU), a new synthetic valproate derivative, on NR1A/NR2B NMDA receptors subtype using the two-electrode voltage-clamp technique in Xenopus laevis oocytes injected with cRNAs. Application of VPU (1-300 um) produced no changes on the membrane conductance of Xenopus oocytes. However, co-application of glutamate (0.01-300 um) and 10um glycine induced inward currents with a dose-response curve giving the EC[subscript50] of glutamate at 2.26+-0.31 um. Whereas 1 mM of vpa produced very marginal effect, VPU (100-300 um) exerted a reversible and competitive inhibition of glutamate response on NR1A/NR2B NMDA receptor characterized by shifting the glutamate concentration curve to the right with no alteration of maximal response. Similar response was elicited by AP5, a selective, competitive NMDA binding site antagonist at the concentration of 10 um. Thus the inhibitory of VPU seems to be comparatively weaker than AP5. Furthermore, based on the results that the inhibitory effects of 100 um VPU on inward currents induced by um glutamate did not alter either when the holding potential was stepwise increased from -150 to +50mV or when different concentration of glycine, a co-agonist of glutamate, was co-applied, it is apparent that antagonistic effect of VPU on glutamate-induced inward current was neither voltage nor glycine dependent. In addition, it was found that VPU (1-300 um) significantly decrease stimulatory effect of spermine on glutamate response. Taken into consideration that polyamines has been reported to be increased on the face of seizure or ischemia, it is suggestive that inhibitory effect of VPU on NR1A/NR2B NMDA receptors, though rather weak, may, in concert with its effect GABA [subscript A] receptor and perhaps with some other mechanism that remain to be identified, contribute to its anticonvulsant effect in vivo. en
dc.description.sponsorship ทุนวิจัยกองทุนรัชดาภิเษกสมโภช en
dc.format.extent 3741608 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ยาแก้ชัก en
dc.subject กรดวาลโปรอิก en
dc.subject การชัก|xการรักษาด้วยยา en
dc.title ผลของวัลโปรอิล ยูเรีย ต่อตัวรับกลูตาเมทที่ถูกเหนี่ยวนำให้แสดงออกบนผนังเซลล์ไข่กบ : รายงานวิจัย en
dc.title.alternative Effects of valproyl urea on glutamate receptors expressed on cell membrane of oocytes of xenopus laevis. en
dc.type Technical Report es
dc.email.author Mayuree.T@Chula.ac.th
dc.email.author Boonyong.T@Chula.ac.th
dc.email.author Chamnan.P@Chula.ac.th
dc.email.author ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record