Abstract:
งานวิจัยนี้ใช้เทคนิคไฮเพอร์ฟอร์มานซ์ลิควิดโครมาโทกราฟีร่วมกับการตรวจวัดทางเคมีไฟฟ้า ด้วยวิธีแอมเพอโรเมทรีเพื่อตรวจวัดซัลโฟนาไมด์ 7 ชนิด (sulfaguanidine (SG), sulfadiazine (SDZ), sulfamethazine (SMZ), sulfamethoxazole (SMX), sulfadimethoxine (SDM), sulfaquinoxaline (SQ), sulfaguanidine (SG), และ sulfamethazine (SMM)) โดยใช้ขั้วไฟฟ้าเพชรที่โดปด้วยโบรอน คอลัมน์ที่เลือกใช้เทคนิคเทคนิคไฮเพอร์ฟอร์มานซ์ลิควิดโครมาโทกราฟีคือ โมโนลิตริกคอลัมน์ C[subscript 18] ซึ่งคอลัมน์ชนิดนี้มีข้อดีหลายประการดังนี้ ความดันต้านกลับของคอลัมน์ต่ำ แยกสารที่วิเคราะห์ได้เร็วและมีประสิทธิภาพการแยกสารสูงเมื่อเทียบกับแพคคอลัมน์ ในงานวิจัยนี้ใช้เฟสเคลื่อนที่ในอัตราส่วนของสารละลายฟอสเฟต (0.05 โมลาร์, พีเอช 3) : อะซีโตนไนไตรด์ : เอทานอล (80: 15: 5; v/v/v) อัตราไหลเท่ากับ 1.5 มิลลิเมตรต่อนาที จากการศึกษาด้วยเทคนิคไฮโดรไดนามิกโวลแทมเมตรี ค่าศักย์ไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับการตรวจวัดคือ 1.2 โวลต์เทียบกับ ขั้วไฟฟ้าซิลเวอร์-ซิวเวอร์คลอไรด์ เทคนิคการตรวจวัดนี้ให้ช่วงความเข้มข้นของซัลโฟนาไมด์ที่เป็นเส้นตรงระหว่าง 0.01 ถึง 120 ส่วนในล้านส่วน และช่วงความเข้มข้นต่ำสุดที่สามารถตรวจวัดได้ของซัลโฟนาไมด์ 0.0012 ถึ. 0.0033 ส่วนในล้านส่วน ซึ่งวิธีการวิเคราะห์ที่ได้นี้สามารถประยุกต์หาปริมาณซัลโฟนาไมด์ในกุ้ง ได้ร้อยละการคืนกลับ 82.7 ถึง 92.8 ที่ระดับความเข้มข้น 5 ส่วนในล้านส่วน