Abstract:
ศึกษาผลของระดับความสามารถทางการเรียนรู้และแบบการให้ข้อมูลป้อนกลับในแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตในวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษา จำนวน 113 คน แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 (ผู้สอนระบุผลการประเมินด้วยคำว่า ดี พอใช้ และควรปรับปรุง แล้วให้คะแนน) จำนวน 3 กลุ่ม และกลุ่มที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 2 (ผู้สอนให้ข้อมูลป้อนกลับเช่นเดียวกับแบบที่ 1 และระบุข้อผิดพลาด แล้วบอกแนวทางการแก้ไขปรับปรุง) จำนวน 3 กลุ่ม โดยใช้ระยะเวลาในการวิจัย 5 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบความรู้พื้นฐาน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และระบบการจัดการแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์บนเว็บ ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ค่า t (t-test independent) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทาง (Two-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า (1) นิสิตกลุ่มเก่งและกลุ่มปานกลางที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิตกลุ่มอ่อนที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตที่มีระดับความสามารถทางการเรียนรู้ซึ่งได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นิสิตกลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อนที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิตที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับความสามารถทางการเรียนรู้และรูปแบบการให้ข้อมูลป้อนกลับในแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตในวิชาการผลิตสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (4) นิสิตกลุ่มเก่งที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิตกลุ่มเก่งที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (5) นิสิตกลุ่มเก่งที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิตกลุ่มอ่อนที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (6) นิสิตกลุ่มเก่งที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิตกลุ่มอ่อนที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (7) นิสิตกลุ่มปานกลางที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิตกลุ่มเก่งที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (8) นิสิตกลุ่มปานกลางที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิตกลุ่มอ่อนที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (9) นิสิตกลุ่มอ่อนที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 2 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านิสิตกลุ่มอ่อนที่ได้รับการให้ข้อมูลป้อนกลับแบบที่ 1