DSpace Repository

กระบวนการหลุดพันจากความเป็นหนี้ : กรณีศึกษากลุ่มปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor มณีศรี พันธุลาภ
dc.contributor.author สมยศ สมวิวัฒน์ชัย
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
dc.date.accessioned 2010-10-04T03:35:25Z
dc.date.available 2010-10-04T03:35:25Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13586
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en
dc.description.abstract ศึกษาถึงวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนที่มีผลต่อการก่อหนี้ และกระบวนการต่อสู้เพื่อหลุดพ้นจากความเป็นหนี้ เพื่อศึกษาแนวคิดและวิธีการของปราชญ์ชาวบ้านที่ทำให้หลุดพ้นจากความเป็นหนี้ เป็นแนวทางให้เกษตรกรอื่นนำไปใช้ปฏิบัติ เพื่อให้หลุดพ้นจากความเป็นหนี้ ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาจากกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน พหุภาคีภาคอีสาน จำนวน 8 ท่าน เนื่องจากกลุ่มปราชญ์นี้เป็นคนในท้องถิ่นอีสาน เป็นผู้ประสบความสำเร็จในดำเนินชีวิต ที่เป็นหนี้ก็สามารถหลุดพ้นจากความเป็นหนี้ได้ นอกจากนั้นปราชญ์กลุ่มนี้ยังขยายแนวความคิดต้นแบบด้วยการเปิดศูนย์การเรียนรู้ เพื่อถ่ายทอดความรู้ และประสบการณ์การแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับชุมชนอีกด้วย ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องกับปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อศึกษาถึงแนวทางที่ปราชญ์ได้ดำเนินชีวิต และได้ดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก ด้วยแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง เพื่อสอบถามเกี่ยวกับวิถีชีวิต การก่อหนี้และวิธีการที่ทำให้ปราชญ์หลุดพ้นจากความเป็นหนี้ได้ รวมทั้งได้เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน ทั้งในรูปแบบของการประชุมกลุ่ม การถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ รวมถึงการเข้าร่วมประเพณีของกลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อศึกษาถึงการดำเนินชีวิตและวิถีของชาวบ้าน จากการศึกษาได้ข้อค้นพบว่า ปราชญ์ทุกท่านได้ "ปฏิวัติความคิด" ได้สำเร็จซึ่งเป็นกุญแจเปิดใจที่สำคัญที่สุด จากการพึ่งการเพาะปลูกพืชเดี่ยวเชิงพาณิชย์ มาเป็นการปลูกพืชเพื่อสร้าง “ความมั่นคงทางอาหาร” ได้สำเร็จ การอยู่การกินภายในครัวเรือน ซึ่งถือว่าเป็นการปฏิวัติ ทวนกระแสทุนนิยม ไม่พึ่งตลาด หันมาพึ่งตนเอง และพึ่งพากันเองในชุมชน และมีความสุขในความพอเพียง ซึ่งในที่สุดก็ประสบความสำเร็จ สามารถลดหนี้ปลดสินได้ แม้ว่าจะต้องทนทุกข์กับหนี้สินเป็นระยะเวลานานก็ตาม เมื่อนำความเป็นอยู่อย่างพออยู่พอกินมาเทียบเคียงกับพระราชดำรัสเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว พบว่ามีความเหมือนกันกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่างมาก เพื่อให้กระบวนการหลุดพ้นจากความเป็นหนี้เป็นไปอย่างเป็นรูปธรรม ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า กลุ่มบุคคลที่สำคัญของกระบวนการนี้ ได้แก่ ครอบครัวเกษตรกรของชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ต้องมีจิตสำนึกในการที่จะร่วมขบวนการทำให้บรรลุความสำเร็จอย่างจริงใจและจริงจัง เพื่อแก้ไขความยากจนให้บรรเทาและหมดสิ้นไปทั่วประเทศ en
dc.description.abstractalternative To study local people’s ways of life that could lead to debt establishment and a process which debt can be eliminated, based on experiences of 8 local intellectuals residing in north-eastern provinces of Thailand. The group is chosen as representative in the study because of their successful stories in debt elimination and their enthusiasm to share their wisdoms among other local inhabitants. The writer has studied a handful of relevant research papers focusing on local scholars’ methods to debt elimination before commencing a structural interview with the group study to gain profound understanding of their ways of life, how debt was accrued, and how they achieved a financial freedom. The writer also participated in various local wisdom sharing activities, including community meetings and traditional events to better appreciate the local society at interest. This study has concluded that the most important key success factor of debt elimination is the change in thinking principle these local scholars have brought to real-life practice. This involves a switch from cultivation for commercial reasons, as encouraged by capitalism, to cultivation for household consumption and community sharing. Though following this method may result in debt being slowly diminished, eventually it would be eliminated. The entire process is closely resembled to the self-sufficiency economy principle introduced by His Majesty the King. However, to encourage public that this debt elimination technique works, the writer suggests all involving parties, including farmers, local scholars, governmental units and private sector, be strongly determined and sincerely corporate throughout the entire process. The joint effort would be a strong starting point to a more desirable outcome – an eradication of national poverty. en
dc.format.extent 2544255 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1732
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject นักวิชาการ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) en
dc.subject หนี้ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) en
dc.subject เศรษฐกิจพอเพียง en
dc.subject เกษตรกร -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) en
dc.subject เกษตรกรรมแบบผสมผสาน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) en
dc.subject ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- ภาวะเศรษฐกิจ en
dc.title กระบวนการหลุดพันจากความเป็นหนี้ : กรณีศึกษากลุ่มปราชญ์ชาวบ้านภาคอีสาน en
dc.title.alternative The Process of the debt elimination : case study of Northeastern villages's intellectuals en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์การเมือง es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Manisri.P@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.1732


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record