DSpace Repository

การสังเคราะห์องค์ความรู้สื่อสารการแสดงประเภทสื่อพื้นบ้าน : รายงานผลการวิจัย

Show simple item record

dc.contributor.author สุกัญญา สมไพบูลย์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2010-10-26T05:23:02Z
dc.date.available 2010-10-26T05:23:02Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13707
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ความรู้ในการศึกษาสื่อสารการแสดงประเภทสื่อพื้นบ้านในสถาบันอุดมศึกษา 2) เพื่อสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและประมวลผลการวิจัยสื่อสารการแสดงประเภทสื่อพื้นบ้าน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นให้นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา ทางด้านสื่อสารการแสดงและที่เกี่ยวข้อง ได้แสวงหาความรู้ในแง่มุมอื่น เพื่อเป็นการต่อยอดองค์ความรู้ต่อไป 3) เพื่อเสนอแนะหัวข้อ ประเด็นเรื่องการสื่อสารการแสดงประเภทสื่อพื้นบ้านในการทำวิทยานิพนธ์หรือการทำวิจัยครั้งต่อไปในอนาคต 4) เพื่อพัฒนาสาระสำคัญในหลักสูตรสื่อสารการแสดงระดับปริญญาบัณฑิตและมหาบัณฑิตต่อไป งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ที่ใช้การวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร (Documentary research) ประกอบกับได้จัดอาศรมความคิดและสาธิตการแสดงพื้นบ้านในรูปแบบที่ต่างกันด้วย อีก 2 ครั้ง ผลการวิจัยพบว่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524-2547 มีการศึกษาสื่อสารการแสดงประเภทสื่อพื้นบ้านในวิทยานิพนธ์ จำนวน 85 เรื่อง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีมากที่สุดจำนวน 30 เรื่อง สาขาที่นิยมศึกษาคือไทยคดีหรือไทยศึกษา การสื่อสารนิเทศศาสตร์ ครุศาสตร์และการสอนและนาฏศิลป์ ชนิดของสื่อสารการแสดงประเภทสื่อพื้นบ้านพบ 9 ชนิดใหญ่ๆ ที่พบมากที่สุดคือเพลงพื้นบ้าน 16 เล่ม แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับวัฒนธรรมมีการนำมาใช้มากที่สุด เช่นเดียวกับระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้ในการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ทั้งมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ประเด็นการศึกษาทั้งสิ้นมี 10 ประเด็น ที่พบมากที่สุดคือ การศึกษารูปแบบองค์ประกอบและพัฒนาการของการแสดง รองลงมาคือ การวิเคราะห์เนื้อหา วรรณศิลป์ และคุณค่าทางบทวรรณกรรม การศึกษาประวัติและผลงานของศิลปิน การดำรงอยู่และการเสื่อมสลายของพื้นบ้าน การเปิดรับสารจากสื่อสารการแสดงพื้นบ้าน/สื่อพื้นบ้านเพื่อการพัฒนา การสร้าง/พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน สื่อสารการแสดงพื้นบ้านกับสื่อมวลชน การสืบทอด/ถ่ายทอดสื่อสารการแสดงพื้นบ้าน สื่อสารการแสดงพื้นบ้านกับความสัมพันธ์ทางสังคม ส่วนประเด็นการวิเคราะห์ผู้ชมมีน้อยที่สุด ในเรื่องของการศึกษารูปแบบ องค์ประกอบและพัฒนาการของการแสดงนั้น จะเน้นเรื่องการเปรียบเทียบของเก่า ของใหม่และอิทธิพลของความทันสมัย ในองค์ประกอบด้านดนตรี เนื้อหา ท่ารำ และองค์ประกอบอื่นๆ ส่วนการวิเคราะห์เนื้อหา วรรณศิลป์ และคุณค่าของวรรณกรรมของบทวรรณกรรม ก็จะแสดงให้เห็นภาพสะท้อนสังคม ค่านิยม การดำเนินชีวิต และการใช้วรรณศิลป์และภาษาที่งดงาม สำหรับการศึกษาประวัติและผลงานของศิลปินก็จะเน้นไปที่ศิลปินแห่งชาติหรือศิลปินอาวุโสในด้านปัจจัยที่ทำให้ประสบความสำเร็จ ส่วน การดำรงอยู่และการเสื่อมสลายของสื่อพื้นบ้านก็จะชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่ทำให้สื่อสารการแสดงพื้นบ้านเสื่อมสลาย อาทิ การเข้ามาของสื่อใหม่และข้อจำกัดของสื่อเอง การดำรงอยู่ก็ต้องเปิดรับและผสมผสานสื่อสมัยใหม่ ในขณะที่การเปิดรับสารจากสื่อสารการแสดงพื้นบ้าน/สื่อพื้นบ้านเพื่อการพัฒนาจะเสนอข้อค้นพบในแง่ประสิทธิภาพของสื่อสารการแสดงพื้นบ้านในการส่งเสริมสุขภาพของชุมชนและพัฒนาเยาวชน ในประเด็นการสร้าง/พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนจะแสดงให้เห็นถึงการนำสื่อสารการแสดงพื้นบ้านมาบูรณาการกับการสอนและสร้างหลักสูตรเพื่อสอนเพลงพื้นบ้าน เช่นเดียวกันกับการดำรงอยู่ของสื่อสารการแสดงพื้นบ้าน เมื่อต้องแสดงผ่านสื่อมวลชนสื่อสารการแสดงพื้นบ้านต้องปรับตัวด้านเนื้อหาและรูปแบบ ส่วนการสืบทอด/ถ่ายทอดสื่อสารการแสดงพื้นบ้าน จะพบว่ามีขั้นตอนและกระบวรการวิธีที่ครูทำให้ดูและปฏิบัติตามรวมทั้งยังเป็นการสืบทอดในครอบครัวหรือชุมชน ส่วนสื่อสารการแสดงพื้นบ้านกับความสัมพันธ์ทางสังคมนั้นจะพบว่า สื่อเป็นศูนย์รวมของชุมชนและเครือข่ายศิลปิน สุดท้ายเรื่องผู้รับสาร ก็จะแบ่งเป็น 2 ประเด็นคือความชอบในผู้แสดงและการแสดง กับการดูการแสดงกกับการเข้าใจในการสื่อสาร ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาต่อยอดองค์ความรู้ในอนาคตคือ บทบาทและหน้าที่เชิงประสานวัฒนธรรมและการแสดงความเป็นไทของชุมชน/การศึกษาศิลปินและชีวิตที่ต้องปรับตามกระแสสังคม/ศิลปินลูกทุ่งกับการสืบสานงานการแสดงพื้นบ้าน/การจัดการองค์กรหรือคณะการแสดงและการสร้างเครือข่ายศิลปิน/การวิจัยสร้างสรรค์หรือทดลองสื่อสารการแสดงพื้นบ้านร่วมสมัย/การถ่ายโอนหรือย้ายสื่อ : รสนิยมการแสดงไทยในสื่อที่แตกต่าง/การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์และบริบทของสังคมที่แตกต่างกับสื่อสารการแสดงพื้นบ้าน/ฉาก เวที พื้นที่ แสง สี กับการสื่อความ/ปัจจัย S M C R กับการพัฒนาทั้งสื่อและคน/การประยุกต์สื่อสารการแสดงพื้นบ้านที่มีรูปแบบละครเข้ากับการเรียนการสอนหรือการพัฒนาเยาวชน/ผู้รับสารในฐานะผู้เสพงานศิลปะ/การสืบสานการแสดงโดยแตกกิ่ง ต่อตา จากรากและแก่นเดิม/กระบวนการสร้างเด็กและเยาวชนในฐานะผู้สืบสานการแสดงพื้นบ้าน en
dc.description.abstractalternative This research aims 1) analyzing the body of knowledge in traditional performing arts studies in higher education institutions, 2) collecting and synthesizing concepts and theories from traditional performing arts research studies is an attempt to form a fundamental ground for academics and students of performing arts or relevant sciences for future research studies, 3) recommending research topics and academic directions for future thesis or research projects in traditional performing arts, and 4) developing key concepts in the study of performing arts in the undergraduate and graduate level to expand the body of knowledge in traditional performing arts. The research project applies various forms of research methodologies, from documentary research to academic forums and traditional performing arts demonstrations. This qualitative research aimed to investigate, analyze, and synthesize the areas of study, theories, research methodologies as well as major findings in 85 these on Traditional Performing Arts between 1981-2004 in Thailand’s graduate school. Results of the research are as followed: 1) Chulalongkorn University has the highest number of theses concerning Traditional Performing Arts which is 30 copies. The most researched subject of study is Thai Studies, and the most studied traditional performing arts genre is traditional Thai folk songs. 2) The concepts and theories mostly used for the studied are cultural studies, communication, and education approaches. 3) Most studies applied the content analysis approach, while the major research instruments are documentary research, interviewing, and participatory and non-participatory observation. 4) Ten research topics were found, namely the analysis of genres and styles, arts compositions, and performance development, the analysis of performing arts scripts, artist biographies and contributions, the existence and degeneration of traditional performing arts, media exposure and traditional performing arts for development, curriculum development, the relations of traditional performing arts and mass media, succession and transfer of traditional performing arts, relationship between traditional performing arts and community, and audience analysis, which is the least studied area. The most popular areas of study, the analysis of genres and styles, arts compositions, and performance development, focused on the comparison of arts elements, content, and form of traditional performing arts and modern media, while studies analyzing performing arts scripts investigated social reflection, life’s value, and the use of creative language. The study of artist biographies and contributions showed factors of how the artist become successful and the researchers often investigated biographies of National Artist award recipients or famous artist. Moreover, the studies of traditional performing arts existence and degeneration discovered the traditional performing arts’ limitations and he invasion of modern media, which are key factors that weaken the existence of traditional performing arts. The results of studies in media exposure and traditional performing arts for development showed the effectiveness and success of traditional performing arts for health promotion and youth development. Meanwhile, the studies of curriculum development illustrated the integration of traditional performing arts and school subjects, as well as the creation of traditional folk song curricula. In studying the relations of traditional performing arts and mass media, the results showed that traditional performing arts must be adjusted in both content and form when performed through mass media. Moreover, in the studies concerning the succession and transfer of traditional performing arts, research results showed that family and community inheritance, as well as demonstration and teaching by masters are mostly found. In the studies about relationship between traditional performing arts and community, the findings started that traditional performing arts serve as the central of community and contribute to building the network of artist. Lastly, audience analysis studies could be divided in 2 aspects; audience’s taste for character viewing and their understanding of traditional performing arts message. 5) The recommendations of future studies in traditional Performing Arts areas are: The function of traditional performing arts in the community’s culture, freedom of expression, and independence / The impact of social changes on artist / Thai country song artists and their roles as traditional performing arts promoters / The traditional performing arts’ organizational management and artist networking / The creative or experimental research of contemporary traditional performing arts / The transfer of content from traditional performing arts to other media / analysis of traditional performing arts in different social and historical contexts / The design of scenery, lighting, and sound for communication in traditional performing arts / The S-M-C-R approach for media and people development / The application of traditional performing arts and education approach for youth development / Audience analysis as arts spectator / The succession of traditional performing arts by core and new elements mixture / The process of traditional performing arts succession for children and youth. en
dc.description.sponsorship สนับสนุนจาก งบประมาณเงินนอกงบประมาณแผ่นดิน ประจำปี 2549 en
dc.format.extent 27087374 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2152
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject สื่อพื้นบ้าน -- ไทย en
dc.subject ศิลปะการแสดง -- ไทย en
dc.subject การสื่อสาร en
dc.subject สุนทรียศาสตร์ en
dc.title การสังเคราะห์องค์ความรู้สื่อสารการแสดงประเภทสื่อพื้นบ้าน : รายงานผลการวิจัย en
dc.title.alternative The analysis of the state of the arts of theses on traditional performing arts en
dc.type Technical Report es
dc.email.author Sukanya.Som@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.2152


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record