DSpace Repository

ผลของแอนตี้โปรเจสตินต่อการเปลี่ยนแปลงของมดลูกและการแสดงออกของตัวรับโปรเจสเตอโรน ในมดลูกแมวที่ได้รับยาเมดด๊อกซี่โปรเจสเตอโรน อะซิเตท

Show simple item record

dc.contributor.advisor เกวลี ฉัตรดรงค์
dc.contributor.advisor อนุเทพ รังสีพิพัฒน์
dc.contributor.author วรรณี หมู่ผึ้ง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2010-11-11T08:12:17Z
dc.date.available 2010-11-11T08:12:17Z
dc.date.issued 2550
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13869
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 en
dc.description.abstract อะกลีพริสโตน เป็นแอนตี้โปรเจสตินที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนโปรเจเตอโรน โดยการแย่งจับกับตัวรับ มีการนำมาใช้ในเหนี่ยวนำการคลอดในสุนัขและแมว รักษามดลูกอักเสบเป็นหนองในสุนัข รักษาภาวะการขยายใหญ่ของเต้านมแมว อันเป็นผลมาจากการได้รับฮอร์โมนคุมกำเนิดเมดด๊อกซี่โปรเจสเตอโรน อะซิเตท (MPA) เพื่อคุมกำเนิดในสัตว์ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงมดลูกแมว ภายหลังการใช้ยาแอนตี้โปรเจสตินในแมวที่ได้รับยาคุมกำเนิด MPA โดยใช้แมว 18 ตัว ในระยะ interoestrus แบ่งเป็น 3 กลุ่มๆ ละ 6 ตัว ได้แก่ กลุ่มควบคุม กลุ่มได้รับ MPA และกลุ่มที่ได้รับอะกลีพริสโตน ทำการตรวจทางพยาธิวิทยาทางมหกายวิภาค จุลพยาธิวิทยา และตรวจหาการงอกขยาย ตัวรับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ด้วยวิธีอิมมูนโนฮิสโตเคมี ภายหลังที่ได้รับ aglepristone ผลในการตรวจทางมหกายวิภาคพบว่าน้ำหนักมดลูก เส้นผ่านศูนย์กลาง และความหนา มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับ MPA ผลทางจุลพยาธิวิทยาพบว่าความหนาของชั้น endometrium และ myometrium แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.92 และ P=0.78 ตามลำดับ) ลักษณะการจัดเรียงของตัวและรูปร่างเซลล์บริเวณ luminal epithelium ภายหลังที่ได้รับยา aglepristone นั้น พบการเรียงตัวของบางตัวเป็นแบบ single layer และเรียงตัวแบบ pseudostratified เซลล์เยื่อบุมีรูปร่าง columnar พบแมว 1 ตัวในกลุ่มที่ได้รับอะกลีพริสโตน มีลักษณะการเรียงตัวแบบงอกขยาย (hyperplasia) และมีแบคทีเรียอยู่ภายในต่อมมดลูกจำนวนมาก ซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะของเยื่อบุมดลูกอักเสบ (endometritis) หรือ CEH อันเป็นสภาพเริ่มต้นจากการขยายใหญ่ของ endometrial gland การหนาตัวของ luminal และ glandular epithelium ความหนาแน่นของ endometrial gland การขยายของ endometrial gland สารคัดหลั่งใน endometrial gland รวมทั้งการคั่งเลือดและเลือดออกในมดลูก อยู่ในระดับแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าดัชนี PCNA ภายหลังที่ได้รับยา aglepristone พบค่าดัชนี PCNA ต่ำกว่าแมวกลุ่มที่ฉีดยาคุมกำเนิด MPA อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติทั้งใน luminal and glandular epithelium (P=0.47 และ P=0.10 ตามลำดับ) ผลของ PR score ภายหลังที่ได้รับยา aglepristone นั้นพบว่าทั้งใน luminal and glandular epithelium มีระดับ PR score สูงกว่ากลุ่มที่ฉีดยาคุมกำเนิด MPA อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.42 และ P=0.37) จากผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ามดลูกแมวภายหลังที่ได้รับยา aglepristone ไม่มีความแตกต่างกับแมวที่ได้รับยาคุมกำเนิด MPA ทั้งทางพยาธิสภาพและการแสดงออกของตัวรับโปรเจสเตอโรน อาจต้องทำการศึกษาต่อไปในอนาคตเพื่อให้ได้ผลการทดลองที่ชัดเจนขึ้น en
dc.description.abstractalternative Aglepristone is a synthetic steroid hormone, which bind with great affinity to progesterone receptors without any effects of the progesterone. Aglepristone is an antiprogestin which research specifically for veterinarian. It induces abortion in animals and applies in case: endometritis, closed and open pyometra, induce parturition and mammary gland tumor. Previous report the effective of many antiprogestins for treat mammary gland tumor and pyometra in dogs and cats, which induce from MPA. The aims of the present study were to investigate of uterine change and expression of progesterone receptors after use antiprogestin in cats which administered MPA. A total of 18 interoestrus cats which separate 6 cats in 3 groups. There are control group, MPA group and aglepristone group. Pathologic change observed by macroscopic and microscopic examination. Proliferative cell nuclear antigen and progesterone receptor observed by immunohistochemistry technique. The results were not different in weight of uterus and diameter of uterine horns. Macroscopic examination found thickness of endometrium and myometrium did not differ significantly. (P=0.92 and P=0.78). Luminal epithelium lining was single and pseudostratified, cell arrangement was columnar after use aglepristone. Hyperplasia cellular arrangement and presence of bacteria clumps in endometrial gland in 1 cat which may be the cause of endometritis or pyometra. Degree of luminal and glandular epithelium proliferation, endometrial gland proliferation, dilatation and secretion, hemorrhage and congestion in submucosa did not differ significantly. PCNA index in luminal and glandular epithelium after administered aglepristone were not significant lower (P=0.47 and P=0.10) than in MPA group. PR score in luminal and glandular epithelium after administered aglepristone were not significant lower (P=0.42 and P=0.37) than in MPA group. The results showed that after administered aglepristone were not differ significantly but if study for a long time the result may be clear. en
dc.format.extent 1351285 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1767
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject อะกลีพริสโตน en
dc.subject โปรเจสเตอโรน en
dc.subject มดลูก en
dc.subject การเป็นสัด en
dc.subject แมว en
dc.title ผลของแอนตี้โปรเจสตินต่อการเปลี่ยนแปลงของมดลูกและการแสดงออกของตัวรับโปรเจสเตอโรน ในมดลูกแมวที่ได้รับยาเมดด๊อกซี่โปรเจสเตอโรน อะซิเตท en
dc.title.alternative Effects of antiprogestin on uterine changes and expression of progesterone receptors in the uterus of domestic cats administered medroxyprogesterone acetate en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline วิทยาการสืบพันธุ์สัตว์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Kaywalee.C@Chula.ac.th
dc.email.advisor Anudep.R@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2007.1767


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record