DSpace Repository

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ใช้ และไม่ใช้เอกสารสรุปมโนทัศน์

Show simple item record

dc.contributor.author พัชรี วรจรัสรังสี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2010-11-12T06:42:54Z
dc.date.available 2010-11-12T06:42:54Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13894
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ใช้และไม่ใช้เอกสารสรุปมโนทัศน์ ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ปีการศึกษา 2550 จำนวน 71 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ เรียนโดยใช้เอกสารสรุปมโนทัศน์ประกอบการเรียนการสอน จำนวน 35 คน และกลุ่มควบคุมที่เรียน โดยไม่ใช้เอกสารสรุปมโนทัศน์ประกอบการเรียนการสอน จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้และไม่ใช้ เอกสารสรุปมโนทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เรื่อง จำนวน และตัวเลข การบวก การลบ การคูณ เวลา เรขาคณิต และพีชคณิต ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t – test) ผลวิจัยพบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารสรุปมโนทัศน์ประกอบการเรียนการสอนมี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 จากนักเรียนที่เรียนโดยไม่ ใช้เอกสารสรุปมโนทัศน์ แต่นักเรียนที่เรียนโดยใช้เอกสารสรุปมโนทัศน์ประกอบการเรียนการสอนมี ความคงทนในการเรียนคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยไม่ใช้เอกสารสรุปมโนทัศน์ประกอบการ เรียนการสอนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 en
dc.description.abstractalternative The objective of this research was a comparison of mathematics achievement and retention of grade 3 students between groups that used/ did not use concept summarizing worksheets. The sample for this research consisted of 71 grade 3 students at Chulalongkorn University Elementary Demonstration School in the year 2007. They were randomly divided into 2 groups: in the first group, 35 students used the concept summarizing worksheets, and in the second group, 36 students did not use the concept summarizing worksheets. The research instruments was the mathematics achievement test, and the experimental instruments were the two types of Learning Organization Plans using/ not using the concept summarizing worksheets, on number and numeric numbers, addition, subtraction, time, geometry and algebra, all of which were developed by the researcher. Data analyses employed arithmetic means, standard deviations and t-tests. The research results indicated that the two groups of students using and not using the concept summarizing worksheets in their studies had no statistical significant differences in mathematics achievement means at 0.05 level, but the group of students using the concept summarizing worksheets in their studies had higher statistically significant mean in mathematics retention than the other group of students not using the concept summarizing worksheets in their studies at 0.05. en
dc.description.sponsorship เงินทุนเพื่อวิจัยกองทุนคณะครุศาสตร์ ปี 2550 en
dc.format.extent 2542344 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) en
dc.subject ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน en
dc.title การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มที่ใช้ และไม่ใช้เอกสารสรุปมโนทัศน์ en
dc.title.alternative A comparison of mathematics achievement and retention of grade 3 students between groups using and not using concept summarizing worksheets
dc.type Technical Report es
dc.email.author ไม่มีข้อมูล
dc.subject.keyword ความคงทนในการเรียน en
dc.subject.keyword การสอนคณิตศาสตร์ en
dc.subject.keyword ประถมศึกษา en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record