DSpace Repository

โลกเศร้าแต่พวกเขายังยิ้ม ชีวิตสามัญของชุมชนห้องแถวคุณแม่ทันทร์ในช่างสำราญ

Show simple item record

dc.contributor.author อารียา หุตินทะ
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะอักษรศาสตร์
dc.date.accessioned 2010-11-27T07:24:01Z
dc.date.available 2010-11-27T07:24:01Z
dc.date.issued 2546
dc.identifier.citation วารสารอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 32,2(ก.ค.-ธ.ค. 2546),100-127 en
dc.identifier.issn 0125-4820
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14014
dc.description.abstract บทความฉบับนี้วิเคราะห์นวนิยายรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนประจำปีพุทธศักราช 2546 ของประเทศไทย ของเดือนวาด พิมวนา เรื่อง ช่างสำราญ โดยมุ่งวิเคราะห์เนื้อหาและลักษณะการนำเสนอ ผลการศึกษาพบว่า ช่างสำราญ เลือกเสนอเนื้อหาชีวิตของกลุ่มคนในชุมชนห้องแถวที่มีประสบการณ์ชีวิตธรรมดาสามัญ อันเป็นประสบการณ์ที่ได้รับการประเมินค่าว่าน่าสนใจน้อยกว่าประสบการณ์ชีวิตกลางแจ้งที่เข้มข้นหรือประสบการณ์ชีวิตกลางคืนที่โชกโชน แต่ผู้เขียนเห็นว่าการค้นหาประเด็นและวิธีการในการนำเสนอเป็นสิ่งที่สร้างความหมายให้กับประสบการณ์สามัญเหล่านี้ได้ การเล่าเรื่องผ่านมุมมองของเด็กชายกำพล ช่างสำราญและการใช้ผู้เล่าเรื่องแบบผู้รู้ชนิดไม่แสดงทัศนะ ช่วยสร้างระยะห่างระหว่างผู้ประพันธ์กับตัวละคร แต่เสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านกับตัวละคร ทำให้การให้ความหมายในนวนิยายเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการอ่านของผู้อ่านเป็นอย่างมาก ลีลาการเล่าเรื่องโดยนำเรื่องสุขกับเรื่องเศร้ามาวางเทียบเคียงกันเป็นระยะๆ เพื่อตัดความรู้สึกสมจริงของเรื่อง และการใช้ภาพพจน์แบบการแฝงนัยในการเล่นกับโชคชะตาของตัวละคร ล้อกับความคาดหมายของผู้อ่าน ทำให้ผู้อ่านรู้สึกตัวตลอดเวลาว่ากำลังอ่านเรื่องเล่าและทำให้นวนิยายเรื่องนี้ต่างไปจาก นวนิยายเรื่องอื่นที่มุ่งสร้างความรู้สึกสมจริงเป็นหลัก ช่างสำราญ เป็นวาทกรรมที่โต้ตอบกับคำนิยามเรื่องความเป็นนวนิยายชุดเดิม เพราะแตกต่างจากนวนิยายที่ดำเนินมาก่อนหน้านี้ทั้งในด้านการคัดเลือกประสบการณ์ การวางโครงเรื่อง การสร้างตัวละคร และการเสนอแนวคิด เมื่อรวมกับบรรยากาศของเรื่องที่มีลักษณะของการโหยหาอดีตผสมผสานกับการสะท้อนสภาพความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันอย่างมีอารมณ์ขันทำให้เรื่อง ช่างสำราญ มีลักษณะของความเป็นหลังสมัยใหม่ ทั้งในแง่ของการค้านความคิดความเชื่อว่ามีชุดความรู้แบบหนึ่งที่สามารถอธิบายความจริงได้ทั้งหมด และการเสนอตัวในฐานะความแตกต่างเพื่อเปิดพื้นที่ให้ให้กับเรื่องเล่าประเภทนวนิยายที่มีลีลาการนำเสนอแบบใหม่ ต่างไปจากสิ่งที่คนคุ้นเคย en
dc.description.abstractalternative This paper analyzes Duanwad Pimwana’s Changsamran, one of the 2003 S.E.A. Write award shortlisted novels by focusing on its subject matter and presentation style. Changsamran challenges the traditional definition of ‘novel’ - it differs from its predecessors in subject matter, plot, characterization, and presentation of themes. These elements, together with the story’s nostalgic atmosphere and the humorous portrayal of changes in modern society renders this novel ‘postmodern’ because it rejects the traditional belief in the existence of an all-encompassing knowledge that makes all truths comprehensible. Its distinct style of presentation opens up space for original and groundbreaking writing techniques. en
dc.format.extent 2061688 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject เดือนวาด พิมวนา. ช่างสำราญ en
dc.subject นวนิยายไทย -- ประวัติและวิจารณ์ en
dc.title โลกเศร้าแต่พวกเขายังยิ้ม ชีวิตสามัญของชุมชนห้องแถวคุณแม่ทันทร์ในช่างสำราญ en
dc.title.alternative The World is sad but they are still smiling : common lives of the Khun Mae Thong Chan Housing Community en
dc.type Article es
dc.email.author ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record