DSpace Repository

การศึกษาผลกระทบนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการเปิดเสรีการบินในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor สมภพ มานะรังสรรค์
dc.contributor.author อดิสรณ์ ออศิริวิกรณ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2010-12-20T07:10:07Z
dc.date.available 2010-12-20T07:10:07Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14216
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en
dc.description.abstract การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการเปิดเสรีการบิน ในประเทศไทย และศึกษาผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการบินต่อบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ตลอดจนเปรียบเทียบผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการบินของสายการบินไทย (Thai Airways International: TG) เปรียบเทียบกับสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์ (Malaysia Airlines: MH) และสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ (Singapore Airlines: SQ) การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิจัยจากเอกสาร (Documentary Research) ด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ (Descriptive Analysis) แบ่งระยะเวลาการศึกษาออกเป็นสองส่วนคือ ก่อนการเปิดเสรีการบิน ได้แก่ ปี พ.ศ. 2540-พ.ศ. 2547 และหลังการเปิดเสรีทางการบิน ได้แก่ ปี พ.ศ. 2548-พ.ศ. 2551 ผลการศึกษาพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วตลอดระยะเวลา 10 ปี ที่ผ่านมาชั่วโมงการบินเพิ่มมากขึ้นตามปริมาณการผลิตและปริมาณขนส่ง ในขณะที่จำนวนผู้โดยสาร ปริมาณที่นั่งและปริมาณการขนส่งผู้โดยสารมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2540 ถึง พ.ศ. 2550 และลดลงในปี พ.ศ. 2551 มีแนวโน้มในการให้บริการด้านการขนส่งผู้โดยสารมากขึ้นมากกว่าการให้บริการ ด้านการขนส่งพัสดุภัณฑ์ และมีกำไรสุทธิเฉลี่ย 4,291 ล้านสินทรัพย์รวมเฉลี่ยซึ่งคิดเป็น 193,892 ล้านบาท หนี้สินโดยเฉลี่ยคิดเป็น 160,710 ล้านบาท กำไรสุทธิเฉลี่ยต่อหุ้น 2.97 บาท ปัจจัยสะท้อนเชิงโครงสร้างชี้ประจักษ์ว่าบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ไม่สามารถปรับตัวได้ในธุรกิจการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นจากการเปิดเสรีทางการ บิน ประกอบกับมีความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ ความผันผวนของราคาน้ำมัน และความเสี่ยงของการเปิดสายการบินต้นทุนต่ำ ปัจจัยเสี่ยงภายในที่สำคัญคือ บุคลากรที่เป็นผู้บริหารระดับสูงขององค์กรเป็นบุคลากรที่ผูกผันกับผล ประโยชน์ทับซ้อนของรัฐบาลหรือนักการเมืองในแต่ละสมัยทำให้การตัดสินใจในการ ลงทุนหรือดำเนินการทางเศรษฐกิจไม่มีประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ en
dc.description.abstractalternative The objectives of this study are to study the liberalized policy of airline in Thailand and study the impacts upon liberalized policy of airline to the Thai Airways International and compare the impacts upon liberalized policy of airline of Thai Airways between Malaysia Airlines and Singapore Airlines. The research methodology is qualitative research collected data in documentary and use the descriptive analysis with separated the impacts upon liberalized policy of airline into two parts which are before implementation of the liberalized policy of airline (1997-2003) and after implementation of the liberalized policy of airline (2004-2007). The results of the study can be determined that over a decade the number of flight hours has obviously been increased due to production and transportation quantities of airline in Thai Airlines International. Furthermore, the number of passengers, Available Seat Kilometers: ASK, and Revenue Passenger Kilometers: RPK tends to grow up during the period of 1997-2007 and sharply sluggish in the year of 2008; however, passenger load factor is more than cargo load factor. In addition, the average net profit is 4,291 million baht compared with the total asset which is 193,892 million baht with the debts of 160,710 million baht and the average net profit per share is 2.97 baht. Empirical factors about the organizational structure of Thai Airways International represent that the organization cannot change due to the more competitive in the airlines market nowadays including with the external risk factors which are interest rate risk, exchange rate risk, unstable oil price risk, and low cost carrier risk. As far as the internal factors have been concerned, the top management of the organization strongly conflict with the political benefits of the government and the politicians. This has obviously brought about the economical inefficiency in decision making in investment. en
dc.format.extent 1505017 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1026
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject อุตสาหกรรมการบิน -- ไทย en
dc.subject การบิน -- แง่เศรษฐกิจ en
dc.title การศึกษาผลกระทบนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการเปิดเสรีการบินในประเทศไทย en
dc.title.alternative The study of the effect on the liberalized policy of airline in Thailand en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline เศรษฐศาสตร์การเมือง es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Sompop.M@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.1026


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record