DSpace Repository

ความรับผิดทางอาญาในความผิดฐานข่มขืน ศึกษากรณีสามีข่มขืนภริยาของตน

Show simple item record

dc.contributor.advisor วีระพงษ์ บุญโญภาส
dc.contributor.author เจนณรงค์ สมเสถียร
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2010-12-26T03:25:05Z
dc.date.available 2010-12-26T03:25:05Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14255
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en
dc.description.abstract ศึกษาถึงบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา พุทธศักราช 2499 (แก้ไขปรับปรุงพุทธศักราช 2550) ที่ได้บัญญัติลงโทษกรณีการกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราระหว่างสามีภริยา ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ที่มุ่งให้ความคุ้มครองภริยาจากการทำร้ายทางเพศโดยสามีของตน เมื่อสามีได้ใช้กำลังบังคับขืนใจภริยา เพื่อการมีเพศสัมพันธ์โดยปราศจากความยินยอมจากภริยา โดยประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติให้สามีมีความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ที่ได้มีการแก้ไขใหม่ ที่มุ่งให้ความคุ้มครองภริยา ที่ถูกสามีบังคับขืนใจให้มีเพศสัมพันธ์โดยปราศจากความยินยอม ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว ตลอดจนการดำเนินการของพนักงานสอบสวน อัยการและชั้นการพิจารณาคดีในชั้นศาล โดยเฉพาะความสัมพันธ์ในครอบครัวนั้น ประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติให้สามีต้องรับผิด เมื่อบังคับขืนใจภริยาของตนเพื่อมีเพศสัมพันธ์กับภริยาโดยปราศจากความยินยอม แม้ว่าจะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายและอยู่กินฉันท์สามีภริยา โดยไม่มีเหตุยกเว้นใดๆ เลย บทบัญญัติของกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ บัญญัติว่า "การกระทำชำเราตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า การกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยการใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกับอวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือการใช้สิ่งอื่นใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น" ซึ่งกระทบต่อคำจำกัดความของคำว่ากระทำชำเรา เนื่องจากสามีใช้อวัยวะเพศของตนกับปากของภริยา หรือแม้กระทั่งใช้มือจับอวัยวะเพศของภริยา ก็อาจผิดฐานข่มขืนภริยาของตนแล้ว จากผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราระหว่างสามีภริยา ที่เกิดขึ้นจากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 ที่แก้ไขใหม่ดังกล่าว เห็นควรที่รัฐจะต้องปรับปรุงบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้เหมาะสม โดยกำหนดองค์ประกอบความผิดให้ชัดเจนกว่ากรณีทั่วไป จนปราศจากข้อสงสัยในเรื่องความยินยอม และให้สามีจะต้องรับผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราภริยาของตน เฉพาะในกรณีที่แยกกันอยู่ อยู่ระหว่างฟ้องหย่า และความหมายของคำว่ากระทำชำเรานั้นไม่ควรที่จะบัญญัติขยายความไปมากเกินไป เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญาได้บัญญัติให้รับผิดฐานกระทำอนาจารอยู่แล้ว อันจะสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในครอบครัว en
dc.description.abstractalternative To study about the purview of the Penal Code B.E. 2499 (Amendment B.E. 2550) which has been legislated the specific sanction for the marital rape. In the Penal Code section 276 has protected a woman from the sexual assault by her husband. Whenever the husband has forced and intimidated his wife into performing sexual intercourse against her consent, the husband can be guilty of the rape commitment. The Penal Code section 276 at amendment causes the effect to the relation in family, operating for the investigation of agencies, prosecution and trial. This section emphasized the relation in family, and constituted that the husband must confess when he forced and intimidated his wife into performing sexual intercourse against her consent: although, he will commit with his legal wife and spouse. It’s not unexceptionable. The Penal Code section 276 in the second paragraph at amendment legislated “The sexual intercourse following to the first paragraph means committing for doer’s sexual desire by using doer’s organ for committing to other person’s sexual organ, anus or oral cavity, or using some things for committing to other person’s sexual organ or anus”. However, this meaning has affected to the definition of the word “sexual intercourse” because of the initial principle of law must have the insertion, but the corrected law used the word “commit with” which has many meanings and problems for interpretation. According to the effect caused from the sexual intercourse between the couple in the Penal Code section 276 at amendment, it’s agreed that the state will have to improve the purview properly by specifying the element of guilt clearer than the general crimes without the doubt in the consent. Moreover, the husband must confess basing on the sexual intercourse against his wife only in case of separating and being between entering a claim for divorce. Furthermore, the meaning of the word “sexual intercourse” shouldn’t give more details because the Penal Code. en
dc.format.extent 6980144 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.425
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ความรับผิดทางอาญา en
dc.subject การข่มขืนภรรยา en
dc.title ความรับผิดทางอาญาในความผิดฐานข่มขืน ศึกษากรณีสามีข่มขืนภริยาของตน en
dc.title.alternative Criminal liability on raping & study of : husband rapes against his wife en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Viraphong.B@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.425


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record