DSpace Repository

การปฏิบัติธรรมกับการอบรมพัฒนาร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor จุลนี เทียนไทย
dc.contributor.author ศิริพร สันถวชาติ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2010-12-26T12:18:31Z
dc.date.available 2010-12-26T12:18:31Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14278
dc.description วิทยานิพนธ์ (มน.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en
dc.description.abstract ศึกษา 1. ปัจจัยที่ดึงดูดให้ผู้สูงอายุมาปฏิบัติธรรม 2. ความผูกพันและบทบาทของผู้สูงอายุกับวัด 3. ผลลัพธ์ที่ผู้สูงอายุได้รับหลังการปฏิบัติธรรม ซึ่งได้วางกรอบแนวคิดและทฤษฏีวิจัยได้แก่ แนวคิดเรื่องผู้สูงอายุ ทฤษฎีภาวะสูงอายุ แนวคิดเรื่องศาสนา แนวคิดเรื่องศาสนาพุทธกับการแก้ปัญหาชีวิต ทฤษฎีบุคลิกภาพของอีริค อิริคสัน และ ทฤษฎีแรงขับ มาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล ในการเก็บข้อมูลผู้วิจัยได้ใช้เทคนิคการสังเกตแบบมีส่วนร่วมนั่นคือ ผู้วิจัยได้เข้าไปร่วมในการปฏิบัติธรรมที่วัด และใช้เทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้สูงอายุที่มาปฏิบัติธรรม ที่วัดสนามใน จังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้คัดเลือกกรณีศึกษาเป็นผู้สูงอายุที่น่าสนใจมาจำนวน 12 กรณี ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ดึงดูดให้ผู้สูงอายุเข้ามาปฏิบัติธรรมมีหลากหลายปัจจัย คือ ภาวะการประสบกับเรื่องทุกข์ใจที่มีสาเหตุมาจากการงานและ/หรือคนรอบข้าง ความศรัทธาในตัวบุคคลหรือพระ การเข้ามาปฏิบัติธรรมเพราะทำตามกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ ความกลัวตายเนื่องจากการเจ็บป่วย ความสงสัยในสิ่งที่เหนือคำอธิบาย ความเบื่อหน่ายทางโลก และความสนใจในทางธรรม 2. ความผูกพันที่ผู้สูงอายุมีต่อวัด สามารถสะท้อนให้เห็นได้จาก ความรู้สึกว่าวัดเป็นบ้านหลังที่สองของผู้สูงอายุ ความถี่ของการเข้ามาปฏิบัติธรรมที่วัด และความรู้สึกว่าผู้สูงอายุเป็นส่วนหนึ่งของวัด ซึ่งความผูกพันจะมีความสัมพันธ์กับการสร้างบทบาทใหม่ให้แก่ผู้สูงอายุ บทบาทใหม่ที่ผู้สูงอายุมีต่อวัด คือ การเป็นผู้ทำนุบำรุงศาสนา การเป็นผู้ดูแลสถานที่และช่วยงานต่างๆ ของวัด การเป็นผู้ดูแลพระสงฆ์ ซึ่งบุคคลอาจเลือกที่จะมีมากกว่าหนึ่งบทบาทก็ได้ ขึ้นอยู่กับระดับความผูกพันของตนต่อวัด 3. ผู้สูงอายุจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายเช่น หายจากอาการนอนไม่หลับ ระบบย่อยอาหารทำงานดีขึ้น มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น การเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ เช่น มีอารมณ์โกรธที่ลดลง มีสติรู้ในความคิด เกิดความรู้สึกสบายใจ จิตปล่อยวางต่อสิ่งรบกวน จากการเจ็บป่วย ละซึ่งทรัพย์สมบัติและเรื่องทุกข์ใจ นอกจากนี้เมื่อปฏิบัติธรรมแล้วผู้สูงอายุบางท่านอาจได้แนวคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับชีวิต เช่น แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง แนวคิดจิตอาสา ความมีเมตตา การรู้เท่าทันผู้อื่น ความมีสติในการกระทำ แนวคิดเหล่านี้ล้วนแล้วแต่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุในการดำเนินชีวิตในสังคม ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การเรียนรู้ซึ่งวิถีในการดำรงชีพของผู้สูงอายุที่หันหน้าเข้าสู่พุทธศาสนา จะสามารถนำมาเป็นประโยชน์ให้คนในวัยอื่นในสังคมไทยได้เกิดความเข้าใจในผู้สูงอายุยิ่งขึ้น และเห็นคุณค่าและบทบาทของผู้สูงอายุไทย en
dc.description.abstractalternative To 1. Study the factors that motivate and drawn Thai elderly people to practice Dharma, 2. Explore on close ties-relationships and role that the elderly people form with the temple, and 3. Learn about the result that Thai elderly people received after practicing Dharma. The conceptual framework was formed through approaches and theories namely, elderly approach, theory of elderly condition, religious approach, Dharma and way in solving life problems approach, Erik Erikson’s theory, and drive reduction theory. The researcher used participant observation and in-depth interview research technique to help gather data from the 12 case studies of Thai elderly people who practice Dharma at Samaamnai Temple in Nonthaburi province. The result showed 1. The motivation factors that lead the Thai elderly people in this case study to practice Dharma were experiencing sadness caused by either work related problems of family related problems, having faith in an individual/particular monk, practicing Dharma because they are accustomed to seeing their parents do so, fear of dying, are curious of the unexplainable, tired of the world, and are interested in Dharma. 2. The close tie-relationships that the Thai elderly people have with the temple were reflected through how they felt that the temple is their second home, the frequency they visited the temple, and their feeling of being a part of the temple. These close-tie-relationships lead to the formation of their new roles towards their temple. These roles were such as being the Buddhist nurtures, the temple guards and facilitators, and the person who look after the well being of the monk. An individual can have more than one role. It depends on the level of their close tie-relationship. 3. Through the interview showed that after practicing Dharma, the Thai elderly felt that both their body and mind were positively improved. For example, they slept and digest better. They can reduce their anger, have more conscious in what they do, feel more happy, can neglect themselves from the undesirable surroundings or pain, and can neglect themselves from wanting to have more possession. Some also reported that it change their worldview. Thus, the learning of why the elderly turn to practice Dharma is beneficial for other age groups and the Thai society as a whole. This is because it made us realized how the value of the Thai elderly people. en
dc.format.extent 1745360 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1005
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ผู้สูงอายุ -- ไทย en
dc.subject การปฏิบัติธรรม en
dc.subject พุทธศาสนากับชีวิตประจำวัน en
dc.subject การพัฒนาบุคลิกภาพ en
dc.subject จิตใจและร่างกาย en
dc.title การปฏิบัติธรรมกับการอบรมพัฒนาร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุไทย en
dc.title.alternative Practicing Dharma for developing the body and mind of the Thai elderly en
dc.type Thesis es
dc.degree.name มานุษยวิทยามหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline มานุษยวิทยา es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Chulanee.T@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.1005


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record