Abstract:
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ต่อการลุกลามของรอยผุด้า นประชิดระยะแรกเริ่มในฟันหลัง เป็นการศึกษาผลทางคลินิกโดยวิธีสปลิทเม้าท์ ตัวอย่างที่ศึกษาเป็นฟันกรามน้อยและฟันกรามถาวรในเด็กอายุ 7-19 ปี ที่มีคู่ฟันผุด้านประชิดระยะแรกเริ่มจากภาพรังสีไบท์วิงในระดับเดียวกันจำนวน 31 คู่ สุ่มอย่างง่ายเลือกฟันในข้างซ้ายหรือขวาของขากรรไกรเป็นกลุ่มทดลองเพื่อทาด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ (Fuji VII) โดยแยกฟัน 2 วันก่อนทาและให้ฟันในฝั่งตรงกันข้ามเป็นกลุ่มควบคุม เด็กทุกคนใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์และทันตแพทย์เคลือบฟลูออไรด์ทั้งปากให้ทุก 6 เดือน ติดตามผลการลุกลามของรอยผุโดยถ่ายภาพรังสีไบท์วิงเมื่อเริ่มต้น, 6 เดือน และ 1 ปี เปลี่ยนภาพรังสีเป็นไฟล์ภาพดิจิตัลแล้วทำการสุ่มภาพรังสีทีละคู่ให้ผู้แปลผลดูจากคอมพิวเตอร์ และ ให้คะแนนระดับความลึกของรอยผุ ทดสอบความแม่นยำในการแปลผลภาพรังสีของทันตแพทย์ผู้อ่านฟิล์ม (intraexaminer reliability) ได้ค่าดัชนีแคปปาเท่ากับ 0.82 ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ผลการวิจัยเมื่อสิ้นสุดการศึกษา 1 ปี พบว่าจากตัวอย่างที่เหลือจำนวน 27 คู่ มี 8 คู่ ที่รอยผุในกลุ่มทดลองหยุดลุกลามต่อในกลุ่มควบคุม แต่มี 2 คู่ที่รอยผุในกลุ่มควบคุมหยุดลุกลามแต่กลุ่มทดลองลุกลามต่อ ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการลุกลามของรอยผุในกลุ่มทดลองลุกลามต่อ ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการลุกลามของรอยผุในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (p=0.109) อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาร้อยละของการลุกลาม พบว่ารอยผุระดับ s1 ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีการลุกลามต่อร้อยละ 12.5 และ 43.8 ตามลำดับ ส่วนรอยผุระดับ s2 ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีการลุกลามต่อร้อยละ 9.1 และ 18.2 ตามลำดับ