DSpace Repository

ผลของกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ต่อการลุกลามของรอยผุด้านประชิดระยะแรกในฟันหลัง

Show simple item record

dc.contributor.advisor ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล
dc.contributor.advisor อรอนงค์ ศิลโกเศศศักดิ์
dc.contributor.author สุคนธา อิศรวิริยะกุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2011-01-17T02:59:25Z
dc.date.available 2011-01-17T02:59:25Z
dc.date.issued 2549
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14447
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 en
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ต่อการลุกลามของรอยผุด้า นประชิดระยะแรกเริ่มในฟันหลัง เป็นการศึกษาผลทางคลินิกโดยวิธีสปลิทเม้าท์ ตัวอย่างที่ศึกษาเป็นฟันกรามน้อยและฟันกรามถาวรในเด็กอายุ 7-19 ปี ที่มีคู่ฟันผุด้านประชิดระยะแรกเริ่มจากภาพรังสีไบท์วิงในระดับเดียวกันจำนวน 31 คู่ สุ่มอย่างง่ายเลือกฟันในข้างซ้ายหรือขวาของขากรรไกรเป็นกลุ่มทดลองเพื่อทาด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ (Fuji VII) โดยแยกฟัน 2 วันก่อนทาและให้ฟันในฝั่งตรงกันข้ามเป็นกลุ่มควบคุม เด็กทุกคนใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์และทันตแพทย์เคลือบฟลูออไรด์ทั้งปากให้ทุก 6 เดือน ติดตามผลการลุกลามของรอยผุโดยถ่ายภาพรังสีไบท์วิงเมื่อเริ่มต้น, 6 เดือน และ 1 ปี เปลี่ยนภาพรังสีเป็นไฟล์ภาพดิจิตัลแล้วทำการสุ่มภาพรังสีทีละคู่ให้ผู้แปลผลดูจากคอมพิวเตอร์ และ ให้คะแนนระดับความลึกของรอยผุ ทดสอบความแม่นยำในการแปลผลภาพรังสีของทันตแพทย์ผู้อ่านฟิล์ม (intraexaminer reliability) ได้ค่าดัชนีแคปปาเท่ากับ 0.82 ซึ่งจัดอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ผลการวิจัยเมื่อสิ้นสุดการศึกษา 1 ปี พบว่าจากตัวอย่างที่เหลือจำนวน 27 คู่ มี 8 คู่ ที่รอยผุในกลุ่มทดลองหยุดลุกลามต่อในกลุ่มควบคุม แต่มี 2 คู่ที่รอยผุในกลุ่มควบคุมหยุดลุกลามแต่กลุ่มทดลองลุกลามต่อ ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการลุกลามของรอยผุในกลุ่มทดลองลุกลามต่อ ทั้งนี้ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของการลุกลามของรอยผุในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (p=0.109) อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาร้อยละของการลุกลาม พบว่ารอยผุระดับ s1 ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีการลุกลามต่อร้อยละ 12.5 และ 43.8 ตามลำดับ ส่วนรอยผุระดับ s2 ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีการลุกลามต่อร้อยละ 9.1 และ 18.2 ตามลำดับ en
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to investigate the effect of glass ionomer cement on progression of initial proximal caries in posterior teeth by using a split-mouth design. The subjects were 31 pairs of posterior teeth selected among 7 to 19 years old patients, each having the same lesion depth on bitewing radiograph. The test lesions were selected by simple random sampling methods and accessed through a 2-day elastic band separation and sealed with glass ionomer cement (Fuji VII). The control lesions on the opposite side of the same arch were not intervened. All subjects were instructed to use fluoride toothpaste daily at home. Topical fluoride was also applied to the subjects every 6 months. Follow-up bitewing radiographs were taken at the baseline, 6 and 12 month. All conventional radiographs were digitized by a scanner. Analysis of the digitized radiographs were taken by direct visual interpretation on the desktop monitor. The scoring system was used to score the depth of lesions. Intra-examiner reliability were found ex excellent (Kappa=0.82). On the remaining participants (27 pairs), it was found that 8 pairs of the test lesions remained stable while those of the control lesions progressed after 1 year. However, there were 2 pairs that the test lesions progressed but the control lesions remained stable. There was no statistical difference between the test and the control group (p=0.109, McNemar X[superscript 2]). The progression status of score 1 lesions showed that 12.5% of the test and 43.8% of the control lesions had progressed, while 9.1% of the test and 18.2% of the control lesions in the score 2 group had progressed. en
dc.format.extent 7911069 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1912
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ฟลูออไรด์ en
dc.subject น้ำยาบ้วนปาก en
dc.title ผลของกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ต่อการลุกลามของรอยผุด้านประชิดระยะแรกในฟันหลัง en
dc.title.alternative Effect of glass ionomer cement on progression of initial proximal caries in posterior teeth en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline ทันตกรรมสำหรับเด็ก es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Chutima.T@Chula.ac.th
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2006.1912


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record