dc.contributor.advisor |
ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล |
|
dc.contributor.author |
วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2011-03-18T10:05:27Z |
|
dc.date.available |
2011-03-18T10:05:27Z |
|
dc.date.issued |
2549 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14861 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
en |
dc.description.abstract |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากและการเกิดฟันผุหลังจากเสร็จสิ้นโครงการให้ทันตสุขศึกษา โดยการแปรงฟันและการออกเยี่ยมบ้าน เป็นระยะเวลา 1 ปี ในเขตอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น โดยแบ่งกลุ่มการทดลองเป็นสองกลุ่มได้แก่กลุ่มควบคุมประกอบไปด้วย ตำบลน้ำพอง ตำบลบ้านขาม ตำบลบัวเงิน และตำบลคำบง จำนวน 147 คน กลุ่มทดลองประกอบไปด้วย ตำบลวังชัย ตำบลบัวใหญ่ ตำบลพังทุย และตำบลม่วงหวาน 143 คน เมื่อเสร็จสิ้นการวิจัยเหลือกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มควบคุม 46 คน กลุ่มทดลอง 56 ทำการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเพื่อหาพฤติกรรมทางด้านทันตสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับเกิดโรคฟันผุ ในเด็กปฐมวัย มีการสอนแปรงฟันร่วมกับการให้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ โดยมีการกระตุ้นโดยออกเยี่ยมบ้านทุก ๆ 4 เดือน เป็นจำนวน 3 ครั้ง จนครบ 1 ปีแล้วจึงทำแบบสอบถามและตรวจฟันซ้ำ เพื่อให้ได้ค่าร้อยละปราศจากฟันผุ และค่าเฉลี่ยผุ อุด ถอน หลังจากเสร็จสิ้นการศึกษาพบว่า กลุ่มควบคุมมีค่าร้อยละปราศจากฟันผุโดยไม่นับรอยโรคขุ่นขาวเป็นฟันผุเท่ากับ 6.52 หากนับรอยโรคขุ่นขาวเป็นฟันผุ ก็จะได้ร้อยละ 6.52 ในกลุ่มทดลองมีค่าร้อยละปราศจากฟันผุโดยไม่นับรอยโรคขุ่นขาวเป็นฟันผุเท่ากับ 64.29 หากนับรอยโรคขุ่นขาวเป็นฟันผุจะได้ร้อยละ 48.21 และพบว่าค่าเฉลี่ยผุ อุด ถอนนับจำนวนซี่โดยนับรอยโรคขุ่นขาวเป็นฟันผุ ในกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติก่อนและหลังการวิจัย โดยในกลุ่มอื่นพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และจากแบบสอบถาม พบว่าพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงไป คือ พฤติกรรมการดูแลรักษาความสะอาดช่องปากที่มีมากขึ้นในกลุ่มทดลองหลังเสร็จสิ้นการวิจัย ซึ่งพฤติกรรมอื่น ๆ เช่น การกินนมขวด การกินนมตอนกลางคืน การกินขนม การเติมน้ำตาลลงในขวด การศึกษาและรายได้ของครอบครัว ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
en |
dc.description.abstractalternative |
The purpose of this study to evaluate health behavior and caries rate of the oral health program with tooth brushing and home visits in 9-18 months aged children. A one year intervention program in Nampong district Khon Kaen province. The subjects were divided into two groups by randomize. A preliminary examination and questionnaire 290 children. Thereafter, during the one year, 188 children dropped out, leaving 102 subjects. This included 46 children in a control group and 56 children in a test group. A test group received oral health program with tooth brushing and home visits every 4 months. The results show caries free in a control group, excluding initial caries had 6.52 percent, including initial caries had 6.52 percent. Caries free in a test group, excluding initial caries had 64.92 percent, including initial caries had 48.21 percent. Oral cleansing behavior found statistically significant. Bottle feeding, sleep with bottle, snack habits add sugar in bottle, socioeconomic status, there were no statistically significant. |
en |
dc.format.extent |
23066716 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1936 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ฟัน -- การดูแลและสุขวิทยา |
en |
dc.subject |
ฟันผุในเด็ก |
en |
dc.title |
ผลของโครงการทันตสุขภาพโดยการแปรงฟัน และออกเยื่ยมบ้านในกลุ่มเด็กอายุ 9-18 เดือน |
en |
dc.title.alternative |
Effect of oral health program with tooth brushing, home visits on caries rate and health behavior of community in 9-18 months aged children |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมสำหรับเด็ก |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
ไม่มีข้อมูล |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2006.1936 |
|