dc.contributor.advisor |
สุรัตน์ โหราชัยกุล |
|
dc.contributor.author |
ฮาฟีส สาและ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2011-05-27T10:02:45Z |
|
dc.date.available |
2011-05-27T10:02:45Z |
|
dc.date.issued |
2550 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15222 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
en |
dc.description.abstract |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานเป็นเครือข่ายข้ามพรมแดนและบทบาทในการสร้างเสริมความมั่นคงของมนุษย์ขององค์กรมุสลิมข้ามชาติ โดยเน้นศึกษากรณีการดำเนินงานขององค์การสงเคราะห์มุสลิมนานาชาติแห่งซาอุดีอาระเบียในประเทศไทย กรอบความคิดที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้ประกอบด้วยหลายแนวคิด โดยใช้แนวคิดพหุนิยมเป็นกรอบความคิดหลักในการศึกษา และอธิบายปรากฏการณ์ในมิติที่แตกต่างกันโดยใช้กรอบความคิดย่อยต่างๆ ร่วมกัน อันประกอบด้วย แนวคิดเรื่องความสัมพันธ์ข้ามชาติ แนวคิดเรื่องโลกาภิวัตน์ แนวคิดเรื่องประชาสังคม แนวคิดเรื่องการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่ แนวคิดเรื่องภราดรภาพในอิสลาม และแนวคิดเรื่องประชาคมมุสลิม จากการศึกษาพบว่า องค์การสงเคราะห์มุสลิมนานาชาติแห่งซาอุดีอาระเบียเป็นกลุ่มนิยมแนวทางอิสลามที่ดำเนินกิจกรรมบรรเทาทุกข์เป็นเครือข่ายข้ามชาติในกว่า 80 ประเทศทั่วโลก และมีการดำเนินงานที่เน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ทุกข์ร้อนและด้อยโอกาสควบคู่กับการพัฒนาจิตใจ โดยใช้แนวทางแห่งศาสนาอิสลาม อันเป็นบทบาทที่สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ในทัศนะอิสลามซึ่งแตกต่างจากคำนิยามอื่นๆ ในลักษณะที่ อิสลามมิได้มองความมั่นคงของมนุษย์เพียงแค่ในมิติของโลกนี้เท่านั้น หากแต่มีเป้าหมายให้มนุษย์มีความมั่นคงที่ยั่งยืนในโลกหน้าอีกด้วย การศึกษายังให้ข้อค้นพบว่า การดำเนินงานขององค์กรมุสลิมข้ามชาติมีโลกาภิวัตน์เป็นปัจจัยสำคัญ ทั้งในลักษณะที่เอื้ออำนวยและเป็นอุปสรรค ในด้านที่เอื้ออำนวย ได้แก่ ความสอดคล้องกันของโลกาภิวัตน์และอุมมะฮ์ในมิติของความสัมพันธ์ข้ามชาติ ความเข้มแข็งอัตลักษณ์ของมุสลิมในลักษณะที่ปรับเปลี่ยนไปสู่อิสลาม “บริสุทธิ์” และการเอื้ออำนวยของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสารสนเทศ ส่วนในด้านที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ การที่อัตลักษณ์มุสลิมถูกกัดกร่อนและทำลายในกระบวนการโลกาภิวัตน์ และการที่โครงสร้างพื้นฐานในโลกาภิวัตน์เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานขององค์กร โดยพบว่าหลังเหตุการณ์ 9/11 เป็นจุดหักเหสำคัญที่ทำให้องค์กรมุสลิมข้ามชาติถูกจำกัดการดำเนินงานด้วยเงื่อนไขต่างๆ ของโลกาภิวัตน์ |
en |
dc.description.abstractalternative |
This thesis aims to study the networking of transnational Muslim organizations (TMOs) and their roles in strengthening human security by focusing on a case of the International Islamic Relief Organization of Saudi Arabia (IIROSA) in Thailand. The conceptual framework of this thesis consists of various concepts including the main concept of pluralism in studying and explaining phenomena in different dimensions by employing various sub-concepts comprising transnationalism, globalization, civil society, social movement, Islamic brotherhood and Muslim community. The thesis finds that the IIROSA is an Islamic organization that conducts its relief activities in more than 80 countries. In addition to the pursuit of Islamic means to develop mind, the IIROSA focuses on enhancing the life quality of those who suffer and are underprivileged. Such a role is in line with the concept of human security in Islam which is different from other definitions in that Islam does not only view human security in this worldly life, but also aim to sustain human security in the afterlife. Besides, the study finds that globalization creates crucial conditions toward the working of TMOs, both as facilitators and obstacles. The facilitator aspects are of the common features of globalization and Ummah in transnationalism, the vicissitude of Muslim identity to “pure” Islamic identity, and the infrastructures, especially information technology. The obstacle dimensions are of the corrosion of Muslim identity by globalizing processes and the barriers deriving from globalization infrastructure. Among these obstacles, “9/11” is the turning point that created vital conditions limiting the working of TMOs. |
en |
dc.format.extent |
17879388 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1912 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ศาสนาอิสลาม |
en |
dc.subject |
มุสลิม -- ไทย |
en |
dc.title |
องค์กรมุสลิมข้ามชาติกับความมั่นคงของมนุษย์ : ศึกษากรณีองค์การสงเคราะห์มุสลิมนานาชาติแห่งซาอุดีอาระเบียในประเทศไทย |
en |
dc.title.alternative |
Transnational muslim organizations and human security : a case study of international islamic relief organization of Saudi Arabia in Thailand |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
รัฐศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Surat.S@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2007.1912 |
|