dc.contributor.advisor |
สุมิตร ดุรงค์พงษ์ธร |
|
dc.contributor.author |
วรพรรณ คุณาพิส |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2011-08-06T04:33:43Z |
|
dc.date.available |
2011-08-06T04:33:43Z |
|
dc.date.issued |
2552 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15614 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
en |
dc.description.abstract |
การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการระงับความรู้สึกที่แผงประสาทบราเคียล โดยใช้ทรามาดอลร่วมกับบูพิวาเคนเทียบกับบูพิวาเคนเพียงชนิดเดียว ในสุนัขที่ได้รับการทำศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ขาหน้าตั้งแต่ระดับข้อศอกลงมา แบ่งสุนัขเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 10 ตัว ได้แก่ กลุ่มควบคุมได้รับบูพิวาเคนขนาด 1.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และกลุ่มทดลองได้รับทรามาดอลขนาด 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมร่วมกับบูพิวาเคน ขนาด 1.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม โดยสุนัขทุกตัวได้รับยาเตรียมการสลบด้วยเอซโปรมาซีนร่วมกับเฟนทานิลขนาดเดียวกันฉีดเข้ากล้ามเนื้อ นำสลบด้วยโปรโปฟอล และรักษาระดับการสลบด้วยยาดมสลบไอโซฟลูเรน ระหว่างการทำศัลยกรรมมีการเฝ้าระวังการสลบโดยบันทึกค่าสัญญาณชีพต่างๆ และเริ่มบันทึกคะแนนความปวดหลังเสร็จสิ้นการทำศัลยกรรม (ชั่วโมงที่ 0) ทุก 30 นาทีจนสิ้นสุดการทดลองเมื่อสุนัขมีความปวดระดับปานกลาง (คะแนนมากกว่า 8 จาก 27) ผลการศึกษาไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05) ระหว่างอายุ น้ำหนัก ระยะเวลาสลบ ระยะเวลาการทำศัลยกรรม ระยะเวลาการเริ่มออกฤทธิ์ระงับความรู้สึก และค่าสัญญาณชีพต่างๆ ขณะทำการศัลยกรรม พบค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ความเข้มข้นของก๊าซไอโซฟลูเรนที่ใช้ในสุนัขกลุ่มทรามาดอล ซึ่งวัดจากลมหายใจออกน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ระยะเวลาการระงับความปวดภายหลังการทำศัลยกรรมสุนัขกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยพบว่าชั่วโมงที่ 4 หลังการทำศัลยกรรมสุนัขในกลุ่มทรามาดอลมีคะแนนความปวดระดับปานกลางจำนวน 3 ตัว ในขณะที่พบในกลุ่มควบคุมจำนวน 8 ตัว พบอาการแพ้บริเวณผิวหนัง ในสุนัขกลุ่มทรามาดอลจำนวน 2 ตัว อาการน้ำลายไหลมากในสุนัขกลุ่มทรามาดอล และกลุ่มควบคุมจำนวน 3 และ 4 ตัวตามลำดับ จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า การให้ทรามาดอลร่วมกับบูพิวาเคนมีประสิทธิภาพในการควบคุมความปวด ทั้งระหว่างการศัลยกรรมและหลังการศัลยกรรม โดยลดความต้องการยาดมสลบในระหว่างการทำศัลยกรรมได้มากกว่า และควบคุมความปวดหลังการทำศัลยกรรมได้ยาวนานกว่า เมื่อเทียบกับการใช้บูพิวาเคนเพียงชนิดเดียว และสามารถใช้ระงับความรู้สึกที่แผงประสาทบราเคียล ในสุนัขที่เข้ารับการทำศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ขาหน้าท่อนล่างได้อย่างปลอดภัย. |
en |
dc.description.abstractalternative |
This study compares the efficacy of analgesic effects between brachial plexus block with bupivacaine and with tramadol and bupivacaine in dogs undergoing antibrachial orthopedic surgery. All dogs were randomly divided into 2 groups of 10 dogs. The control group received 1.3 mg/kg of bupivacaine and the tramadol group received 1.3 mg/kg of bupivacaine plus tramadol 2 mg/kg for brachial plexus block. All dogs were premedicated with acepromazine and fentanyl, IM. Anesthesia was induced with propofol IV. Isoflurane concentration was adjusted to the lowest concentration for maintaining surgical anesthesia. All parameters were monitored during the operations including end-tidal isoflurane concentration. The pain scores were evaluated postoperatively from (hour 0) every 30 minutes until the ends of study, when the dogs had pain score higher than 8. There were no significant differences (p>0.05) between the 2 groups in terms of age, weight, onset of blockage, duration of anesthesia, duration of surgery and all parameters during the operation. The isoflurane concentration in tramadol group during operation was significantly (p<0.05) lower than the control group. Furthermore the duration of postoperative analgesia in tramadol group was significantly (p<0.05) longer than the control group. The transient sign of allergic reaction was observed in 2 dogs of tramadol group and transient sign of hypersalivation was observed in 3 dogs of tramadol group and 4 dogs in control group. Inconclusion, brachial plexus block with tramadol and bupivacaine had efficacy comparable to bupivacaine alone on perioperative and postoperative analgesic effects. This protocol can be used as a safely analgesic method for canine antibrachial orthopedic surgery. |
en |
dc.format.extent |
1821557 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.364 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ความเจ็บปวด |
en |
dc.subject |
ความเจ็บปวดในสัตว์ |
en |
dc.subject |
ยาแก้ปวด |
en |
dc.subject |
สุนัข -- ศัลยกรรม |
en |
dc.subject |
ศัลยกรรมออร์โทพีดิกส์ |
en |
dc.title |
ประสิทธิภาพการระงับความรู้สึกที่แผงประสาทบราเคียลโดยใช้ทรามาดอลและบูพิวาเคน ในสุนัขที่ได้รับการทำศัลยกรรมออร์โธปิดิกขาหน้าท่อนล่าง |
en |
dc.title.alternative |
The Efficacy of brachial plexus block with tramodol and bupivacaine in dogs undergoing antibrachial orthopedic surgery |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
ศัลยศาสตร์ทางสัตวแพทย์ |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Sumit.D@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2009.364 |
|