dc.contributor.advisor |
นวลน้อย ตรีรัตน์ |
|
dc.contributor.author |
วรรณี วุฒิฤทธากุล |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2011-09-25T09:17:36Z |
|
dc.date.available |
2011-09-25T09:17:36Z |
|
dc.date.issued |
2552 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15983 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
en |
dc.description.abstract |
วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ว่าการนำระบบกรรมสิทธิ์มาใช้ในการบริหารจัดการที่ดิน ได้ส่งผลทำให้ทรัพยากรที่ดินมีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะอย่างไร และผล ดังกล่าวมีส่วนสัมพันธ์ให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องต่อสภาพปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอันเกิดจาก ที่ดินในลักษณะอย่างไร โดยพิจารณาเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิในที่ดินเอกชน ผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดระบบกรรมสิทธิ์ในที่ดินเอกชนของไทยตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน ทั้งนี้ โดยอาศัยกรอบการวิเคราะห์ของเศรษฐศาสตร์การเมือง จากการศึกษาทำให้ทราบว่า รัฐได้ใช้อำนาจในการจัดระบบกรรมสิทธิ์ที่ดินเอกชนที่มุ่ง สนองตอบต่อระบบเศรษฐกิจ การเมืองและนโยบายของผู้กุมอำนาจรัฐในแต่ละช่วงสมัย โดยใน สมัยรัชกาลที่ 5 สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากระบบเศรษฐกิจซึ่งเป็นวิถีการผลิตเพื่อ ยังชีพไปเป็นการผลิตเพื่อการค้า ซึ่งกฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสิทธิการใช้ที่ดินในอดีตไม่ เหมาะสมกับการผลิตเพื่อการค้า และการสะสมทุน รัฐจึงต้องมีการปรับปรุงกฎระเบียบในการ จัดการที่ดินโดยสร้างระบบความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ในช่วงสมัยต่อมาได้มีการเร่งรัด จัดทำระบบกรรมสิทธิ์โดยเร่งออกเอกสารสิทธิในที่ดินอย่างต่อเนื่องทั่วประเทศ เพื่อเร่งรัดการผลิต ซึ่งอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ทั้งนี้ ผลจากการจัดระบบกรรมสิทธิ์ที่ดิน ของรัฐ ทำให้ที่ดินกลายสภาพเป็นสินค้าในระบบเศรษฐกิจ เกิดมูลค่าในความเป็นเจ้าของที่ดินและ สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้สะดวกในระบบตลาดเสรี จึงนำไปสู่การเปลี่ยนมือจากเกษตรกรสู่ นายทุนและกลุ่มคนที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจมากกว่า และทำให้เกิดปัญหาการกระจุกตัวของที่ดิน ตามมาด้วย นอกจากนี้ รัฐยังไม่สามารถควบคุมดูแลให้การจัดสรรทรัพยากรที่ดินมีความเป็นธรรม เอื้อประโยชน์ให้ทุกฝ่าย จึงมีปัญหาการนำกรรมสิทธิ์ที่ดินไปแสวงหาประโยชน์ด้วยการออกเอกสาร สิทธิโดยมิชอบอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น อาจจะกล่าวได้ว่าระบบกรรมสิทธิ์ไม่สามารถเป็นเครื่องมือที่ ทำให้ประชาชนสามารถรักษาพื้นที่ดินเอาไว้ได้เสมอไป เนื่องจากรัฐมองกรรมสิทธิ์ในแง่มุมของ ระบบทุนนิยมเพียงอย่างเดียวจึงไม่มีมาตรการควบคุมปัญหาที่จะเกิดตามมาอย่างเป็นระบบที่จะ เป็นหลักประกันความมั่นคงในการถือครองที่ดินอย่างเพียงพอ |
en |
dc.description.abstractalternative |
The objective of this research is to study and analyze how the use of land ownership and allocation system has affected land resource and the further effects on the economic and social problems. Based on the analytical framework in Political Economics, the study was focused particularly on the issuance of private land ownership documents, which embraces the evolution of the Thai State’s private land ownership up to the present. The research has found that the state exercised its mandate in the management of land ownership for economic, political and policy purposes that only served the interests of political leaders in each administration. The reign of King Rama 5 in particular illustrated the transition from the self-sufficient economy to commercial production and capital hoarding, resulting in the reform of land management system. In the next period, government has put pressured on creating land ownership system through out the country in order to boost up production during this transitional phase to the capitalist system. Such land ownership has essentially altered lands into valuable market commodity that would be exchanged freely in the open markets. This prompted the shift of ownership from the people in the agricultural sector to the capitalists and those who were enjoying their economic advantage and status, resulting in the centralization of land ownership among a small group of people. This illustrates that the state was unable to implement a free and fair allocation of lands to benefit all parties, which led to corruption and the continuous issuance of illegal ownership documents. Therefore, it cannot be concluded that land ownership is a sustainable means for the citizens to maintain their ownership; the fact the state only perceives land ownership in light of promoting the capitalist economy brings about the absence of systematic monitoring system by the state to ensure free and fair land ownership. |
en |
dc.format.extent |
1354711 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.836 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
การถือครองที่ดิน |
en |
dc.subject |
การจัดสรรที่ดิน |
en |
dc.subject |
การจัดรูปที่ดิน |
en |
dc.subject |
กรรมสิทธิ์ที่ดิน |
en |
dc.subject |
ที่ดิน |
en |
dc.title |
ผลกระทบจากการจัดระบบกรรมสิทธิ์ที่ดินของรัฐ |
en |
dc.title.alternative |
The effects of land ownership and allocation system by the state |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
เศรษฐศาสตร์การเมือง |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Nualnoi.T@chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2009.836 |
|