DSpace Repository

การได้ประโยชน์จากการปันผลทางประชากร : การศึกษาเชิงประจักษ์ระหว่างประเทศ

Show simple item record

dc.contributor.advisor วิไล วงศ์สืบชาติ
dc.contributor.author ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-01-22T01:43:52Z
dc.date.available 2012-01-22T01:43:52Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16550
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en
dc.description.abstract ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการได้ประโยชน์จากการปันผลทางประชากร โดยอาศัยการวิเคราะห์การถดถอยข้อมูลอนุกรมเวลาของ 131 ประเทศ ซึ่งจำแนกเป็น 8 ภูมิภาค ในช่วงปี พ.ศ. 2513-2548 เพื่อหาหนทางให้ประเทศไทยมีการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อบุคคล และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนในประเทศอย่างต่อเนื่อง จากการศึกษาพบว่า อัตราการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อบุคคล แปรผันตามอัตราการเจริญเติบโตของสัดส่วนประชากรวัยแรงงาน อัตราการเจริญเติบโตของจำนวนปีเฉลี่ยที่ได้รับการศึกษา ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งวัดโดยอัตราการเจริญเติบโตของผลิตภาพของปัจจัยการผลิตโดยรวมและระดับการเปิดประเทศ ซึ่งวัดโดยร้อยละของมูลค่าการส่งออกและการนำเข้า ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ดังนั้น ประเทศไทยจึงยังคงมีโอกาสในการได้ประโยชน์จากการปันผลทางประชากรครั้งที่ 1 แม้ว่าสัดส่วนประชากรวัยแรงงานจะลดลงในอนาคต ทั้งนี้จากการคาดประมาณพบว่า ประเทศไทยจะสามารถมีการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อบุคคล และมาตรฐานการครองชีพได้อย่างต่อเนื่อง หากภาครัฐดำเนินนโยบายที่สามารถเพิ่มปัจจัยอื่นๆ เพื่อชดเชยการลดลงของสัดส่วนประชากรวัยแรงงานได้ เมื่อพิจารณาโอกาสในการได้ปันผลทางประชากรครั้งที่ 2 ของประเทศไทย พบว่าประเทศไทยยังมีโอกาสในการได้ปันผลทางประชากรครั้งที่ 2 ไม่มากนัก เนื่องจากประชากรวัยแรงงานของประเทศไทย สามารถสะสมความมั่งคั่งได้ค่อนข้างน้อย ทำให้เงินทุนที่จะโอนให้แก่ประชากรวัยสูงอายุเพื่ออุดหนุนการบริโภคมีน้อยตามไปด้วยนั่นเอง นอกจากนี้ยังพบว่า อาจเป็นการยากที่ประเทศไทยจะได้ปันผลทางประชากรครั้งที่ 2 อย่างยั่งยืน เนื่องจากความมั่งคั่งที่โอนให้แก่ประชากรวัยสูงอายุในรูปของเงินโอนจากภาคครัวเรือนมีสัดส่วนที่สูง โดยเงินโอนจากภาคครัวเรือนถือเป็นรูปแบบเงินโอนที่ไม่ยั่งยืนภายใต้ภาวะเจริญพันธุ์และภาวะการตายที่ต่ำ ซึ่งทำให้ประชากรวัยสูงอายุมีการเติบโตเร็วกว่าประชากรวัยแรงงาน ทั้งนี้ ระบบบำนาญแห่งชาติภาคบังคับที่ครอบคลุมและทั่วถึง โดยเป็นระบบที่เน้นการออมและการลงทุนของประชากรวัยแรงงานในช่วงเวลาทำงาน น่าจะทำให้ประเทศไทยได้รับการปันผลทางประชากรครั้งที่ 2 อย่างยั่งยืน en
dc.description.abstractalternative To investigate the factors affecting the capitalization on the demographic dividend by analyzing the data of 131 countries, grouped into 8 regions, during 1970-2005 to find the way to have the permanent growth of GDP per capita and standard of living of its people. Our finding reveals that the growth rate of GDP per capita is positively related to the growth rate of the proportion of working age population, the growth rate of mean years of schooling, the technological progress as measured by the growth rate of gross fixed capital formation and the trade openness as measured by export and import as percentage of GDP. Thus, Thailand’s opportunity to capitalize on the first demographic dividend still exists despite the reduction in the proportion of working age population. According to the projection, Thailand will be able to have the growth of GDP per capita and the higher standard of living if the favorable policies are properly carried out to increase the other factors so that they can offset the decrease in the proportion of working age population. After considering the opportunity to capitalize on the second demographic dividend, we find that Thailand may not have so high second demographic dividend due to the low wealth accumulation, causing the low intergenerational transfers to finance the consumption of old age population. Furthermore, it is not likely that the second demographic dividend of Thailand will sustainably last because the large portion of wealth accumulation of working age population is transferred to old age population in the form of private transfer or familial support. This familial support is not sustainable under the low fertility and mortality since old age population grows faster than working age population. The finding suggests that a compulsory funded national pension system is required for the sustained second demographic dividend. en
dc.format.extent 1841727 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1442
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การเปลี่ยนแปลงประชากร en
dc.subject การกระจายอายุ (ประชากรศาสตร์) en
dc.subject การพัฒนาเศรษฐกิจ en
dc.subject ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ en
dc.subject ค่าครองชีพและมาตรฐานการครองชีพ en
dc.subject ปริญญาดุษฎีบัณฑิต en
dc.title การได้ประโยชน์จากการปันผลทางประชากร : การศึกษาเชิงประจักษ์ระหว่างประเทศ en
dc.title.alternative The Capitalization on the demographic dividend : a cross-country empirical study en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาเอก es
dc.degree.discipline ประชากรศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor wilai.w@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.1442


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record