DSpace Repository

สภาพการทำงานของแรงงานนอกระบบในประเทศไทย

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภัสสร ลิมานนท์
dc.contributor.author ธนวัฒน์ รื่นวงศ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยประชากรศาสตร์
dc.coverage.spatial ไทย
dc.date.accessioned 2012-01-25T13:29:19Z
dc.date.available 2012-01-25T13:29:19Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16583
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en
dc.description.abstract ศึกษาสภาพการทำงานและปัจจัยที่ส่งผลต่อสภาพการทำงานของแรงงานนอกระบบในประเทศไทย เพื่อพัฒนาแนวทางการปรับปรุงสภาพการทำงานที่เหมาะสมตามสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงาน การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลและวิธีการวิเคราะห์ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณได้ใช้ข้อมูลจากโครงการสำรวจแรงงานนอกระบบ ปี พ.ศ. 2551 ดำเนินการโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวนทั้งสิ้น 76,398 ราย และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับแรงงานนอก ระบบทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคการผลิต ภาคการบริการ และแรงงานรับเหมาช่วง รวมจำนวน 17 ราย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผลการวิจัยพบว่า แรงงานนอกระบบที่มีคะแนนสภาพการทำงานต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมีจำนวนมากถึง 38.6% ปัญหาสำคัญที่แรงงานเหล่านี้ประสบ ได้แก่ จำนวนชั่วโมงการทำงานเกินกว่าที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนด (45.3%) รองลงมาคือ การประสบปัญหาจากการทำงาน (22.7%) ผลการวิเคราะห์การจำแนกพหุพบว่า ปัจจัยด้านเศรษฐกิจสามารถอธิบายความแปรผันของคะแนนสภาพการทำงานของแรงงานนอกระบบได้มากที่สุด (5.6%) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านสังคม (5.4%) และปัจจัยด้านประชากร (0.5%) โดยทั้ง 3 ปัจจัยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรผันของคะแนนสภาพการทำงานได้ 9.3% และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 หลังจากควบคุมอิทธิพลของตัวแปรอิสระอื่นๆ ทุกตัวแล้วพบว่า ภาคที่อยู่อาศัยสามารถอธิบายการแปรผันของคะแนนสภาพการทำงานมากที่สุด 18.3% และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนผลการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า แรงงานนอกระบบเหล่านี้มีสภาพการทำงานที่ไม่เหมาะสมนัก เมื่อเปรียบเทียบกับแรงงานในระบบ ได้แก่ การมีจำนวนชั่วโมงทำงานที่ยาวนานกว่า และมีการทำงานตลอดทั้งสัปดาห์โดยไม่มีวันหยุด อันเป็นสาเหตุที่นำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และเมื่อแรงงานเหล่านี้ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน จะใช้วิธีรักษาตนเองโดยการซื้อยามารับประทาน ด้วยเหตุที่แรงงานนอกระบบไม่ได้เป็นผู้ประกันตน จึงไม่อาจเข้าสู่ระบบการรักษาหรือตรวจสุขภาพร่างกาย ได้เช่นเดียวกับแรงงานที่มีประกันสังคมหรือแรงงานในระบบได้ ดังนั้นภาครัฐจึงควรมีนโยบายเน้นการสร้างหลักประกันทางสังคมและดูแลสภาพการทำงานให้แก่แรงงานนอกระบบ ซึ่งเป็นการดียิ่งในอันที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของแรงงานนอกระบบเหล่านี้ให้ดีกว่าเดิม en
dc.description.abstractalternative To investigate differentials and factors affecting working conditions of the Thai labors who worked in the informal economic sectors in order to develop viable strategies to improve working conditions in accordance with the basic rights of labors. The Study comprised of two types of research designs. First, quantitative analysis was based on the Informal Labor Survey 2008 conducted by the National Statistical Office. The MCA analysis was based on a weighed sample of 76,398 target population. The qualitative analysis was undertaken through an in-depth interview of 17 purposively selected target labors who worked in Bangkok and vicinity areas. It was found that 38.6% of the labors had scores of working conditions lower than a grand mean value (33.34). Among these, 45.3% of them worked longer hours than the law allows (48 hours), followed by 22.7% of labor who reported having problems with various kind of working conditions. The Multiple Classification Analysis (MCA) results indicated that 10 independent variables could explain about 9.3% of variation in working conditions with a statistical significance at .01 level. Economic factor best explained for variation in the working conditions (5.6%) followed by social factors (5.4%) and demographic factors (0.5%). After controlling for influence of other independent variables, it was clear that the region was the best explained variable (18.3% at .01 significant level) for differences in working conditions. For the in-depth interview, it was clear that the labors in the informal economic sector generally worked in the inappropriate working conditions compared to their counterparts in the formal economic sectors. These included working for longer hours, and no days off within a week which usually led to higher risk to accident. When getting sick related to their work, the labors bought medicine from drugstore for self treatment. Due to the fact that these labors were not covered by any health insurance programs and were not self insured, they had to pay high cost out of their own pockets for treatment when they were sick. Therefore, the government should find ways or formulate policies to integrate these labors into the social security systems and to improve working conditions in order to improve their quality of life. en
dc.format.extent 1232373 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.226
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject แรงงานนอกระบบ -- ไทย en
dc.subject คุณภาพชีวิตการทำงาน en
dc.subject สภาพแวดล้อมการทำงาน en
dc.title สภาพการทำงานของแรงงานนอกระบบในประเทศไทย en
dc.title.alternative Working conditions of labor in the informal economic sector in Thailand en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline ประชากรศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Bhassorn.L@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.226


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record