DSpace Repository

การใช้สิทธินัดหยุดงานในกิจการบริการสาธารณะด้านการขนส่ง

Show simple item record

dc.contributor.advisor นันทวัฒน์ บรมานันท์
dc.contributor.author อรวรรณ สุบงกฎ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-02-05T12:47:04Z
dc.date.available 2012-02-05T12:47:04Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16740
dc.description วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en
dc.description.abstract ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการใช้สิทธินัดหยุดงานในกิจการบริการสาธารณะด้านการขนส่ง การใช้สิทธิดังกล่าวทำให้เกิดการขัดกันระหว่างหลักกฎหมายสองหลักที่ได้รับการยอมรับคือ หลักว่าด้วยความต่อเนื่องของบริการสาธารณะ อันเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะ กับหลักว่าด้วยสิทธินัดหยุดงานอันเป็นสิทธิพื้นฐานด้านแรงงาน การพิจารณาแนวความคิดนี้นอกจากเป็นการประสานประโยชน์ระหว่างหลักการทั้งสองแล้ว อาจนำไปสู่การบัญญัติกฎหมายที่มีความเหมาะสม เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะของประชาชนผู้ใช้บริการต่อไป จากการศึกษาพบว่า กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทยทั้งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 ต่างมีบทบัญญัติจำกัดสิทธิมิให้คนงานในกิจการบริการสาธารณะด้านการขนส่ง สามารถทำการนัดหยุดงานโดยเด็ดขาด กล่าวคือไม่ว่าคนงานจะปฏิบัติงานที่ให้บริการเกี่ยวกับการขนส่งในภาครัฐวิสาหกิจหรือภาคเอกชน ก็ไม่อาจทำการนัดหยุดงานได้ โดยหากมีข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เกิดขึ้น กฎหมายกำหนดวิธีการระงับข้อพิพาทไว้โดยอาศัยการชี้ขาดข้อพิพาทโดยบังคับเท่านั้น ซึ่งการจำกัดสิทธิตามกฎหมายเช่นนี้ เป็นการจำกัดสิทธิที่ไม่เหมาะสมกับสภาพสังคม ตลอดจนรูปแบบและลักษณะของการจัดทำบริการสาธารณะด้านการขนส่ง เนื่องจากการจัดทำบริการสาธารณะด้านการขนส่งในปัจจุบัน จัดทำโดยรัฐวิสาหกิจและเอกชน ซึ่งในบางรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการขนส่งในลักษณะผูกขาด หากมีการนัดหยุดงานเกิดขึ้น ความเสียหายย่อมเกิดกับประชาชนผู้ใช้บริการอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่หากการจัดทำบริการนั้นจัดทำโดยรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการขนส่งที่มีการแข่งขันกับภาคเอกชน หรือเป็นการจัดทำบริการสาธารณะด้านการขนส่งโดยเอกชน เมื่อมีการนัดหยุดงานเกิดขึ้น ประชาชนสามารถหลีกเลี่ยงไปใช้บริการจากผู้ให้บริการรายอื่นได้ ดังนั้นการจำกัดสิทธินัดหยุดงานตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นการจำกัดสิทธิเด็ดขาดโดยมิได้พิจารณาถึงรูปแบบการจัดทำบริการสาธารณะด้านการขนส่ง จึงเป็นการลิดรอนสิทธิของคนงานเกินความจำเป็น และไม่เหมาะสมกับสภาพการจัดทำบริการสาธารณะด้านการขนส่งในปัจจุบัน ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้สิทธินัดหยุดงานในกิจการบริการสาธารณะด้านการขนส่ง โดยเสนอให้มีการพิจารณายอมรับสิทธินัดหยุดงาน แต่มีการกำหนดสิทธิให้มีความแตกต่างกันตามรูปแบบของการจัดทำบริการสาธารณะด้านการขนส่ง ตลอดจนเสนอมาตรการเกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะในระหว่างที่มีการนัดหยุดงาน ได้แก่ การแจ้งเตือน การจัดทำบริการสาธารณะขั้นต่ำ การจัดบุคคลเข้าทำงานแทนที่ ทั้งนี้เพื่อให้การใช้สิทธินัดหยุดงานในกิจการบริการสาธารณะด้านการขนส่ง มีความเหมาะสมและมีมาตรการเยียวยาความเดือดร้อนของประชาชนไปในขณะเดียวกัน en
dc.description.abstractalternative To study on the concept of right to strike in public service of transportation sector. Exercising of such right leads to conflict between two legal concepts i.e. the continuity of public service which is the heart of public service and the right to strike which is a fundamental labour right. Consideration of these legal concepts does not only harmonize the benefits of these two concepts but also probably lead to enact a proper law in order to further elaborate criteria on protection of public interest of the users. From the study, it is found that labour relation laws in Thailand, including Labour Relations Act B.E. 2518 (A.D. 1975) and State Enterprise Labor Relations Act B.E. 2543 (A.D. 2000), have provisions which absolutely restrict the right of workers in public service of transportation sector from strike. In other words, workers in transportation sector, regardless of in state enterprise or in private sector, cannot go on strike. If there is any unsettled labour dispute, laws provide dispute settlement method by award rendering only. This legal restriction on right is the restriction which is not suitable with state of society, form and feature of the public service of transportation sector because the public service of transportation sector at present is conducted by state enterprises and private sectors. If there is a strike in some state enterprises engaging in monopoly transportation business, users will inevitably suffer from damage. However, if such transportation service is provided either by the state enterprise competing with private sectors or by the private sectors, when there is a strike, people will be able to opt for service from other service providers. Hence, the restriction on right to strike under the labour relation laws in Thailand, which is the absolute restriction without consideration of the form of public service of transportation sector, deprives the right of workers more than necessary as well as it is not proper with the public service of transportation sector nowadays. This author, thus, provides recommendation on right to strike in public service of transportation sector by accepting the right to strike with different detail depending on the form of public service of transportation sector. Moreover, this author proposes protection measures on public service during the strike such as notification, minimum public service and substitution of workers; as a result, the exercising of right to strike in public service of transportation sector will be suitable and have remedial measures for people simultaneously. en
dc.format.extent 1977486 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1142
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การนัดหยุดงาน en
dc.subject บริการสาธารณะ en
dc.subject การขนส่ง en
dc.subject กฎหมายแรงงาน en
dc.subject แรงงานสัมพันธ์ en
dc.title การใช้สิทธินัดหยุดงานในกิจการบริการสาธารณะด้านการขนส่ง en
dc.title.alternative Right to strike in public service of transportation sector en
dc.type Thesis es
dc.degree.name นิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline นิติศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ajarnnan@hotmail.com
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.1142


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record