DSpace Repository

การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน : การประยุกต์โมเดลความต้องการทรัพยากรของงาน

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรรณระพี สุทธิวรรณ
dc.contributor.author ชัยยุทธ กลีบบัว
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2012-02-10T14:59:02Z
dc.date.available 2012-02-10T14:59:02Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16765
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรง (validation) ของโมเดลเชิงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน : การประยุกต์โมเดลความต้องการทรัพยากรของงาน 2) เพื่อศึกษารูปแบบอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ พนักงานบริษัทจำนวน 523 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝง 4 ตัวแปร คือ 1) ภาระงาน วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 1 ตัว คือ การรับรู้ภาระงาน 2) บรรยากาศในการทำงาน วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 3 ตัว คือ การมีอิสระในงาน การสนับสนุนทางสังคมในการทำงาน การยุติธรรมในการทำงาน 3) ลักษณะด้านบวกเฉพาะบุคคล วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 2 ตัว คือ การมองโลกในแง่ดี ความมุ่งมั่นด้วยตนเอง 4) ความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน วัดจากตัวแปรสังเกตได้ 3 ตัว คือ ความรู้สึกอ่อนล้า ความเย็นชา ความมีประสิทธิผลในการทำงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ มาตรวัดประมาณค่า มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงตั้งแต่ .580-.932 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ผลการวิเคราะห์โมเดลเชิงโครงสร้างชี้ว่า 1. ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลเชิงสาเหตุตามที่ตั้งไว้ตามกรอบวิจัย พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างปานกลาง มีค่า χ2 = 79.784, df = 28, p = 0.000, RMSEA = 0.0595, RMR = 0.0470, GFI = 0.965, AGFI = 0.944 2. ผู้วิจัยเสนอโมเดลเชิงสาเหตุแบบย้อนกลับอีกหนึ่งโมเดล (เพิ่มความสัมพันธ์ของตัวแปรภาระงาน และบรรยากาศในการทำงานให้มีความสัมพันธ์ย้อนกลับกัน) ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดล พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมาก มีค่า χ2 = 22.137, df = 18, p = 0.226, RMSEA = 0.021, RMR = 0.013, GFI = 0.991, AGFI = 0.977 en
dc.description.abstractalternative The purposes of this study were 1) to develop and validate the causal models of burnout at work: an application of the job demand-resource model, and 2) to study the pattern of direct and indirect effects of factors associated with burnout at work. The 523 employees were participants of this study. The developed model consisted of four latent variables: 1) workload, which was measured from one indicator: perception of workload, 2) work atmosphere, which was measured from three indicators: work autonomy, social support at work, and fairness at work, 3) positive characteristics, which was measured from two indicators: optimism and self determination, and 4) burnout, which was measured from three indicators: exhaustion, cynicism, and professional efficacy. Data were collected by questionnaires with reliability ranged from .580-.932. Structure equation model (LISREL) was used for statistical analysis. Structural modeling analyses indicated that: 1. The causal model of burnout at work on the research framework, was moderately fit to the empirical data as indicated by χ2 = 79.784, df = 28, p = 0.000, RMSEA = 0.0595, RMR = 0.0470, GFI = 0.965, AGFI = 0.944, 2. The researcher proposed an alternative causal model of burnout at work, with a two-way effects between workload and work atmosphere. The causal model which was significantly well consistent with empirical data as indicated that by χ2 = 22.137, df = 18, p = 0.226, RMSEA = 0.021, RMR = 0.013, GFI = 0.991, AGFI = 0.977. en
dc.format.extent 1431690 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.1417
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ความเหนื่อยหน่าย (จิตวิทยา) en
dc.subject สภาพแวดล้อมการทำงาน en
dc.title การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเหนื่อยหน่ายในการทำงาน : การประยุกต์โมเดลความต้องการทรัพยากรของงาน en
dc.title.alternative Development of the causal model of burnout at work : an application of the job demand-resource model en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Panrapee.S@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.1417


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record