Abstract:
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชิ้นขี้ผึ้งเพื่อใช้ในการประเมินความสามารถในการบดเคี้ยวให้มีคุณสมบัติทางกายภาพตามที่กำหนด โดยกระบวนการผลิต และ การแปรผล สามารถทำได้เองในประเทศ จากนั้นใช้ชิ้นขี้ผึ้งที่พัฒนาขึ้นมาประเมินความสามารถในการบด เคี้ยวในผู้เข้าร่วมวิจัยต่างกลุ่มอายุ ดำเนินการโดย นำขี้ผึ้ง 4 ชนิด ได้แก่ ไขผึ้ง ขี้ผึ้งคานูบา ขี้ผึ้ง พาราฟิน และ ขี้ผึ้งไมโครคริสตอล มาผสมกันจนได้ขี้ผึ้งที่มีคุณสมบัติทางกายภาพตามต้องการ เพื่อทำชิ้นขี้ผึ้งขนาด 10X10X10 มิลลิเมตร แบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีการสบฟันปกติ จำนวน 45 คน (ชาย 21 คน หญิง 24 คน) ออกเป็น 3 กลุ่ม (กลุ่มที่ 1 อายุ 20-29 ปี กลุ่มที่ 2 อายุ 30-39 ปี กลุ่ม ที่ 3 อายุ 40-49 ปี) นำชิ้นขี้ผึ้งไปทำให้ปราศจากเชื้อ เก็บในตู้ควบคุมอุณหภูมิ (37 องศาเซลเซียส) 24 ชม. จากนั้นนำมาแช่ในเครื่องควบคุมอุณหภูมิน้ำ 10 นาทีก่อนเริ่มเคี้ยว ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยเคี้ยว ชิ้นขี้ผึ้งคนละ 4 ก้อน ก้อนละ 10 ครั้ง ในตำแหน่งที่ถนัด นำชิ้นขี้ผึ้งที่ผ่านการเคี้ยวแล้วไปถ่ายภาพ และ ประเมินความสามารถในการบดเคี้ยวด้วยโปรแกรมอิมเมจ เจ โดยคำนวณร้อยละของสีที่ ผสมกันได้ดี จากผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยความสามารถในการบดเคี้ยวใน กลุ่มที่ 1 เท่ากับ 25.31±4.43 กลุ่มที่ 2 เท่ากับ 23.60±5.65 กลุ่มที่ 3 เท่ากับ 16.46±5.52 จากสถิติการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียวพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่าง กลุ่มที่ 1 กับ กลุ่มที่ 3 และ กลุ่มที่ 2 กับ กลุ่มที่ 3 แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างเพศในแต่ละ กลุ่มอายุ โดยสรุป ชิ้นขี้ผึ้งที่พัฒนาขึ้นสามารถแยกความแตกต่างของความสามารถในการบดเคี้ยวระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มได้ โดยใช้กระบวนการผลิต และ การแปรผลที่ไม่ซับซ้อน และ พบว่าความสามารถในการบดเคี้ยวมีแนวโน้มลดลงเมื่อกลุ่มตัวอย่างอายุเพิ่มขึ้น