DSpace Repository

การประเมินความสามารถในการบดเคี้ยวด้วยชิ้นขี้ผึ้งที่พัฒนาขึ้นเอง

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรพินท์ แก้วปลั่ง
dc.contributor.advisor อมร เพชรสม
dc.contributor.author กิตติมา ประภัสร์รังษี
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-02-29T14:56:39Z
dc.date.available 2012-02-29T14:56:39Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17148
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชิ้นขี้ผึ้งเพื่อใช้ในการประเมินความสามารถในการบดเคี้ยวให้มีคุณสมบัติทางกายภาพตามที่กำหนด โดยกระบวนการผลิต และ การแปรผล สามารถทำได้เองในประเทศ จากนั้นใช้ชิ้นขี้ผึ้งที่พัฒนาขึ้นมาประเมินความสามารถในการบด เคี้ยวในผู้เข้าร่วมวิจัยต่างกลุ่มอายุ ดำเนินการโดย นำขี้ผึ้ง 4 ชนิด ได้แก่ ไขผึ้ง ขี้ผึ้งคานูบา ขี้ผึ้ง พาราฟิน และ ขี้ผึ้งไมโครคริสตอล มาผสมกันจนได้ขี้ผึ้งที่มีคุณสมบัติทางกายภาพตามต้องการ เพื่อทำชิ้นขี้ผึ้งขนาด 10X10X10 มิลลิเมตร แบ่งผู้เข้าร่วมวิจัยที่มีการสบฟันปกติ จำนวน 45 คน (ชาย 21 คน หญิง 24 คน) ออกเป็น 3 กลุ่ม (กลุ่มที่ 1 อายุ 20-29 ปี กลุ่มที่ 2 อายุ 30-39 ปี กลุ่ม ที่ 3 อายุ 40-49 ปี) นำชิ้นขี้ผึ้งไปทำให้ปราศจากเชื้อ เก็บในตู้ควบคุมอุณหภูมิ (37 องศาเซลเซียส) 24 ชม. จากนั้นนำมาแช่ในเครื่องควบคุมอุณหภูมิน้ำ 10 นาทีก่อนเริ่มเคี้ยว ให้ผู้เข้าร่วมวิจัยเคี้ยว ชิ้นขี้ผึ้งคนละ 4 ก้อน ก้อนละ 10 ครั้ง ในตำแหน่งที่ถนัด นำชิ้นขี้ผึ้งที่ผ่านการเคี้ยวแล้วไปถ่ายภาพ และ ประเมินความสามารถในการบดเคี้ยวด้วยโปรแกรมอิมเมจ เจ โดยคำนวณร้อยละของสีที่ ผสมกันได้ดี จากผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยความสามารถในการบดเคี้ยวใน กลุ่มที่ 1 เท่ากับ 25.31±4.43 กลุ่มที่ 2 เท่ากับ 23.60±5.65 กลุ่มที่ 3 เท่ากับ 16.46±5.52 จากสถิติการวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบทางเดียวพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่าง กลุ่มที่ 1 กับ กลุ่มที่ 3 และ กลุ่มที่ 2 กับ กลุ่มที่ 3 แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างเพศในแต่ละ กลุ่มอายุ โดยสรุป ชิ้นขี้ผึ้งที่พัฒนาขึ้นสามารถแยกความแตกต่างของความสามารถในการบดเคี้ยวระหว่างกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่มได้ โดยใช้กระบวนการผลิต และ การแปรผลที่ไม่ซับซ้อน และ พบว่าความสามารถในการบดเคี้ยวมีแนวโน้มลดลงเมื่อกลุ่มตัวอย่างอายุเพิ่มขึ้น en
dc.description.abstractalternative The purpose of this study is to develop the wax cubes that have desired physical properties, for evaluating the chewing ability. The manufacturing and evaluating process can be done domestically. The developed wax cubes can be used to evaluate the chewing ability in variant ages of subjects. Four types of wax; Bee wax, Carnauba wax, Paraffin wax and Microcrystalline wax were blended until achieved the desired physical properties to create10x10x10 mm. wax cubes. Forty-five subjects (21 males and 24 females) with normal occlusion were classified into 3 groups (Group1: 20-29 years old, Group2: 30-39 years old, Group3: 40-49 years old). The wax cubes were disinfected and stored in the incubator (37°C) for 24 hours then soaked in water bath (37°C) for 10 minutes prior testing. Each subject was assigned to chew four pieces of wax cubes for ten strokes at habitual position. The chewed wax was captured and analyzed by Image J program (NIH) then calculated percent of well mixed color. The results showed that the average percentage of chewing ability in Group 1, 2 and 3 are 25.31±4.43, 23.60±5.65, 16.46±5.52 respectively. One-way ANOVA showed the differences between Group 1 and 3, Group 2 and 3 are statistically significant. However, no statistically significant was obtained between genders in each group. As the result, the developed wax cubes can be used to identify chewing ability among 3 groups with uncomplicated manufacturing and evaluating process. Also, this study indicates that chewing ability and age of subjects are negatively correlated en
dc.format.extent 3171002 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.352
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ทันตกรรม -- เครื่องมือและอุปกรณ์ en
dc.subject ขี้ผึ้ง en
dc.subject ฟันปลอมทั้งปาก en
dc.title การประเมินความสามารถในการบดเคี้ยวด้วยชิ้นขี้ผึ้งที่พัฒนาขึ้นเอง en
dc.title.alternative Evaluation of chewing ability using developed wax cubes en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline ทันตกรรมประดิษฐ์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Orapin.Ka@Chula.ac.th
dc.email.advisor Amorn.P@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.352


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record