Abstract:
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การปรับตัวของผู้ที่สูญเสียการ มองเห็น โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวคิดปรากฏการณ์นิยม เก็บรวมรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ที่สูญเสียการมองเห็นจำนวน 8 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการ วิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ประสบการณ์การปรับตัวของผู้ที่สูญเสียการมองเห็นในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยประเด็นหลัก 4 ประเด็น ดังนี้ 1) ความทุกข์ใจจากการสูญเสียการมองเห็น เป็นความรู้สึกจากการสูญเสียการ มองเห็นทำให้ผู้ที่สูญเสียการมองเห็นเกิดความรู้สึกยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นไม่ได้ ความรู้สึก แปลกแยกจากคนรอบข้าง ความรู้สึกสิ้นหวังในชีวิต และความรู้สึกวิตกกังวลในการดำเนิน ชีวิต 2) การเผชิญความทุกข์ใจจากการสูญเสียการมองเห็น เป็นการพยายามจัดการกับ ความทุกข์ใจที่เกิดขึ้นโดย การระบายออกทางอารมณ์ การใช้ธรรมะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นกับ ตนเอง การมองด้านบวก และการนึกถึงคำพูดของบุคคลที่นับถือ 3) การปรับตัวกับชีวิตที่มองไม่เห็น ได้แก่ การที่ผู้ที่สูญเสียการมองเห็นปรับตัวกับชีวิต ที่มองไม่เห็นโดยการเรียนรู้การใช้ชีวิตกับการมองไม่เห็น การปรับเปลี่ยนทัศนคติ และการ ได้รับการสนับสนุนทางสังคม 4) ความงอกงามและความเติบโตจากความสูญเสีย เป็นความรู้สึกของผู้ที่สูญเสีย การมองเห็นที่เกิดการเรียนรู้จากความสูญเสียที่เกิดขึ้นก่อให้เกิดความงอกงามและความ เติบโต ได้แก่ การมีความมั่นใจในการดำเนินชีวิต การมีความภาคภูมิใจในตนเอง การมี เป้าหมายที่ชัดเจนในชีวิต และการรู้สึกเห็นคุณค่าในตัวเอง