DSpace Repository

ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย ความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิต และความหมายในชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม

Show simple item record

dc.contributor.advisor อรัญญา ตุ้ยคำภีร์
dc.contributor.author อรฤทัย โฉมเฉิด
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2012-03-11T08:03:06Z
dc.date.available 2012-03-11T08:03:06Z
dc.date.issued 2552
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17743
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย ความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิต และความหมายในชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม โดยใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธีประเภทเชิงสามเส้าแบบเกิดพร้อมกัน กลุ่มตัวอย่างคือ ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามที่รับการรักษาที่หอผู้ป่วยตึกว่องวานิชชั้น 3 5 6 7 และศูนย์เคมีบำบัดโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 200 ราย เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล มาตรวัดประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย มาตรวัดความเครียดในการดูแลผู้ป่วย มาตรวัดความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิต มาตรวัดความหมายในชีวิต มาตรวัดความมุ่งหวังในชีวิต และชุดคำถามสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ญาติผู้ดูแลเพศหญิงจะมีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามไม่แตกต่างจากญาติผู้ดูแลที่เป็นเพศชาย 2) ญาติผู้ดูแลที่เป็นคู่สมรสจะมีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามแตกต่างจากญาติผู้ดูแลที่มีความสัมพันธ์ทางสายโลหิต 3) อายุ เพศ ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วย จำนวนชั่วโมงในการดูแลผู้ป่วยต่อวัน ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยอื่น ประเภทความสัมพันธ์ ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย และความเครียดในการดูแลผู้ป่วยมีความสัมพันธ์และทำนายความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามได้ร้อยละ 29 4) อายุ เพศ ระยะเวลาในการดูแลผู้ป่วย จำนวนชั่วโมงในการดูแลผู้ป่วยต่อวัน ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยอื่น ประเภทความสัมพันธ์ ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย ความเครียดในการดูแลผู้ป่วย และความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตมีความสัมพันธ์และทำนายความหมายในชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามได้ ร้อยละ 14 ทำนายความมุ่งหวังในชีวิตได้ร้อยละ 43 5) ข้อมูลเชิงคุณภาพได้จากการสัมภาษณ์ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามจำนวน 7 ราย สนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณที่ว่าแม้ว่าจำนวนการปฏิบัติกิจกรรมการดูแลสูงแต่กลับมีความรู้สึกเป็นภาระและความรู้สึกกดดันทางด้านร่างกายและจิตใจอันเป็นผลจากการดูแลผู้ป่วยอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่ญาติผู้ดูแลมีความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตและมีความหมายในชีวิตสูง มองว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเป็นความรับผิดชอบที่พึงกระทำและเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของตน en
dc.description.abstractalternative This study aimed to examine caregiving experience, sense of coherence, and meaning in life among family caregivers of patients with invasive cancers. The concurrent triangulation mixed methods design was employed. Participants were 200 caregivers of patients with invasive cancers at Wongwanich 3 5 6 7 and Daycare Center Chulalongkorn Hospital. Instruments were demographic questionnaire, Objective Burden Inventory, Caregiving Stress Appraisal, Sense of Coherence Scale, Meaning in Life Questionnaire, Purpose in Life Test and interview protocol. Findings revealed as follow: 1) There were no differences in caregiving experiences between female caregivers and male caregivers 2) Spouse caregivers reported higher numbers of caregiving experiences as compared to blood-relation caregivers 3) Age, sex, duration of caring, amount hours of caring per day, previous caregiving experiences, type of relation, objective caregiving experience, and caregiving stress were able to predict sense of coherence of family caregivers at 29 percent 4) Age, sex, duration of caring, amount hours of caring per day, previous caregiving experiences, type of relation, objective caregiving experience, caregiving stress, and sense of coherence were able to predict the meaning in life and purpose in life of family caregivers at 14 and 43 percent 5) The qualitative data from 7 participants were obtained through interview. Qualitative findings supported the quantitative results that although family caregivers had a high frequency of caring experiences but they did not feel a burden and caring stress because because they perceived the sense of coherence and meaning in life. The caregivers perceived caregiving situations as their responsibility and their capability had been challenged by the situations en
dc.format.extent 3510856 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.878
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ผู้ดูแล en
dc.subject มะเร็ง -- ผู้ป่วย -- การดูแล en
dc.title ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วย ความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิต และความหมายในชีวิตของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม en
dc.title.alternative Caregiving experiences, sense of coherence, and meaning in life among family caregivers of patients with invasive cancers en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline จิตวิทยาการปรึกษา es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor arunya.t@chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2009.878


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record