dc.contributor.advisor |
อิศราวัลย์ บุญศิริ |
|
dc.contributor.author |
วีรนุช ทองงาม |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2012-03-14T11:44:21Z |
|
dc.date.available |
2012-03-14T11:44:21Z |
|
dc.date.issued |
2553 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/17892 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)—จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
en |
dc.description.abstract |
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความต้านทานการแตกหักและตำแหน่งที่เกิดการแตกหักของฟันกรามน้อย ที่มีรูปร่างคลองรากฟันไม่กลมหลังการบูรณะ ด้วยระบบเดือยฟันสำเร็จรูปเสริมเส้นใยที่แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย: นำฟันมนุษย์ซี่กรามน้อยคลองรากฟันเดียวที่มีรูปร่างหน้าตัดไม่กลมจำนวน 50 ซี่ แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มๆ ละ 10 ซี่ โดยการสุ่ม ตัดส่วนตัวฟันที่ตำแหน่งเหนือรอยต่อเคลือบฟันและเคลือบรากฟัน 2 มิลลิเมตร ชิ้นตัวอย่างกลุ่มที่ 1-3 เตรียมคลองรากฟันด้วยหัวเจาะไฟบรีเคลียร์ กลุ่มที่ 1 บูรณะด้วยเดือยฟันไฟบรีเคลียร์ กลุ่มที่ 2 ใช้เดือยฟันไฟบรีเคลียร์ร่วมกับเดือยฟันขนาดเล็กรีฟอร์พิน กลุ่มที่ 3 เสริมเดือยฟันไฟบรีเคลียร์ด้วยวัสดุแกนฟันเรซินคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ได้ให้มีรูปร่างเหมือนคลองรากฟัน ชิ้นตัวอย่างกลุ่มที่ 4 และ 5 เตรียมคลองรากฟันด้วยหัวเจาะอีโวลูชัน กลุ่มที่ 4 บูรณะฟันด้วยวิธีการเหมือนกลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ 5 บูรณะฟันด้วยแกนเดือยฟันเสริมเส้นใยแก้วอีโวลูชัน ยึดแกนเดือยฟันและครอบฟันโลหะบนฟันทุกซี่ด้วยแวริโอลิงค์ทู นำชิ้นตัวอย่างทั้งหมดทดสอบแรงกดด้วยเครื่องทดสอบสากลชนิดอินสตรอน นำค่าแรงเฉลี่ยที่ทำให้เกิดการแตกหักของฟันกลุ่มที่ 1-3 มาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดทูกีย์ กลุ่มที่ 4 และ 5 ใช้สถิติทดสอบค่าทีของสติวเดนท์กำหนดระดับนัยสำคัญ p<0.05 และนำกลุ่มการทดสอบทั้งหมดมาวิเคราะห์ตำแหน่งการแตกหักของฟัน ผลการวิจัย: ค่าเฉลี่ยความต้านทานการแตกหักของฟันกลุ่มที่ 1 ต่ำกว่ากลุ่มที่ 2 และ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ระหว่างกลุ่มที่ 2 และ 3 มีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนระหว่างกลุ่มที่ 4 และ 5 ความต้านทานการแตกหักของฟันมีค่าแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) และพบการแตกหักของฟันที่สามารถบูรณะฟันใหม่ได้ในกลุ่มที่ 1-5 ร้อยละ 60, 70, 70, 60 และ 60 ตามลำดับ สรุปผลการวิจัย: ความต้านทานการแตกหักของฟันที่มีคลองรากไม่กลม ที่บูรณะด้วยเดือยฟันคอมโพสิตเสริมเส้นใยที่ยึดด้วยเรซินซีเมนต์ มีค่าต่ำกว่าการบูรณะด้วยแกนเดือยฟันระบบอื่นๆ แต่การบูรณะด้วยแกนเดือยฟันทุกระบบส่วนใหญ่เกิดการแตกหักของฟันที่สามารถบูรณะใหม่ได้ |
en |
dc.description.abstractalternative |
Purpose: To compare the fracture resistance and fracture mode of non-circular root canal premolars restored with different fiber-reinforced composite post systems. Materials and methods: Fifty non-circular single root canal premolars were randomly assigned to five groups (n=10). Coronal portions of the teeth were removed at a level 2 mm above the CEJ. The samples in group 1-3 were prepared by using FibreKleer® drill; group 1 was restored with FibreKleer® posts; group 2, FibreKleer® posts and Reforpin®; group 3, FibreKleer® posts were relined with Multicore® flow (anatomical post). The samples in group 4 and 5 were prepared by using Evolution® drill; group 4 used the same method with group 3, group 5 was restored with Evolution® post and core. All posts and cores and metallic crowns were cemented with Variolink® II. The samples were loaded in universal testing machine (Instron®). Mean fracture loads of group 1-3 were analyzed using the one-way ANOVA, Tukey multiple comparison test (p<0.05). Those of group 4 and 5 were analyzed using the Student’s T-test. The fracture modes of all experimental groups were analyzed. Results: Mean fracture resistance of group 1 was statistically significant lower than group 2 and 3 (p<0.05) and these two groups were not significantly different. No statistically significant difference was found between group 4 and 5 (p>0.05). Restorable failures were found in group 1-5 were 60, 70, 70, 60 and 60 percents, respectively. Conclusion: Fracture resistances of non-circular root canal teeth restored with fiber-reinforced composite posts cemented with resin cement were lower than other systems. Teeth restored with all systems most showed restorable failures. |
en |
dc.format.extent |
2825805 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.2054 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
คลองรากฟัน |
|
dc.subject |
ฟันกรามน้อย |
|
dc.subject |
วัสดุเชิงประกอบเสริมเส้นใย |
|
dc.subject |
Dental pulp cavity |
|
dc.subject |
Bicuspids |
|
dc.subject |
Fibrous composites |
|
dc.title |
ความต้านทานการแตกหักในฟันคลองรากไม่กลมที่บูรณะด้วยระบบเดือยฟันคอมโพสิตเสริมเส้นใยที่แตกต่างกัน |
en |
dc.title.alternative |
Fracture resistance of non-circular root canal teeth restored with different fiber-reinforced composite post systems |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
ทันตกรรมประดิษฐ์ |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Issarawan.B@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2010.2054 |
|