dc.contributor.advisor |
กิตติศักดิ์ อัจฉริยะขจร |
|
dc.contributor.author |
อาภาภรณ์ เทพสิทธิ์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2012-03-16T15:44:41Z |
|
dc.date.available |
2012-03-16T15:44:41Z |
|
dc.date.issued |
2552 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18023 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552 |
en |
dc.description.abstract |
การศึกษาผลของอิมมูโนโกลบูลินจีต่อการทำงานของนิวโทรฟิลในการต่อต้านเชื้อ S. uberis ที่เป็นสาเหตุเต้านมอักเสบในห้องปฏิบัติการ ทำการเก็บตัวอย่างน้ำนม และซีรั่มของแม่โครีดนมจำนวน 7 ตัวที่ได้การตรวจยืนยันการติดเชื้อ S. uberis เข้าเต้านมจำนวน 8 เต้า และมีเต้านมปกติภายในแม่โคตัวเดียวกันจำนวน 7 เต้า และแม่โครีดนมที่มีเต้านมปกติจำนวน 6 ตัว คัดเลือกเชื้อ S. uberis ที่ได้จากการติดเชื้อธรรมชาติจำนวน 2 สายพันธุ์ที่แยกได้จากเต้านมอักเสบแบบแสดงอาการ (CM isolate) และแบบไม่แสดงอาการ (SCM isolate) เพื่อใช้ในการกระตุ้นการสร้างอิมมูโนโกลบูลินจีในลูกโค 2 กลุ่ม โดยมีกลุ่มที่ได้รับน้ำเกลือเป็นกลุ่มควบคุม ทำการตรวจวัดระดับอิมมูโนโกลบูลินจีที่จำเพาะต่อเชื้อ S. uberis ในตัวอย่างน้ำนม และซีรั่มของแม่โคที่ติดเชื้อธรรมชาติ และแม่โคที่มีเต้านมปกติ และซีรั่มของลูกโคที่ได้รับการกระตุ้น ทำการตรวจสอบการทำงานของนิวโทรฟิลในการเก็บกินเชื้อ และฆ่าเชื้อ S. uberis ภายใต้สภาวะที่มีอิมมูโนโกลบูลินจีในตัวอย่างน้ำนม และซีรั่มดังกล่าว ผลการศึกษาพบแม่โคที่มีการติดเชื้อ S. uberis เข้าเต้านมมีลำดับท้อง วันที่ให้นม และค่าเฉลี่ย log ของจำนวนเซลล์โซมาติกมากกว่าแม่โคที่มีเต้านมปกติ และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญระหว่างค่าเฉลี่ย log ของจำนวนเซลล์โซมาติกในน้ำนมจากเต้านมที่มีการติดเชื้อกับเต้านมที่ไม่มีการติดเชื้อในแม่โคตัวเดียวกัน (p<0.05) เชื้อ S. uberis สามารถแยกได้จากเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการได้มากที่สุด ระดับอิมมูโนโกลบูลินจีในน้ำนมของเต้านมที่มีการติดเชื้อ S. uberis เข้าเต้านมมีความแตกต่างกับเต้านมที่ไม่มีการติดเชื้อของแม่โคที่มีเต้านมปกติ (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างของระดับอิมมูโนโกลบูลินจีในซีรั่มของแม่โคทั้ง 2 กลุ่มกับในน้ำนมของเต้านมที่มีการติดเชื้อของแม่โคที่ติดเชื้อ และน้ำนมของแม่โคที่มีเต้านมปกติ (p<0.05) การตรวจด้วยแอนติเจนเคลือบผิวเพลทเชื้อ S. uberis สายพันธุ์ CM isolate พบระดับอิมมูโนโกลบูลินจีในซีรั่มที่ได้รับการกระตุ้นด้วยเชื้อ S. uberis สายพันธุ์ CM isolate ของวันที่ 28 และ 35 ของการกระตุ้นมีความแตกต่างกันกับวันที่ยังไม่ได้รับการกระตุ้น (p<0.05) และพบความแตกต่างของระดับอิมมูโนโกลบูลินจีในวันที่ 28 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการกระตุ้นด้วยเชื้อ S. uberis สายพันธุ์ SCM isolate และในวันที่ 28 และ 35 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการกระตุ้นด้วยเชื้อ S. uberis สายพันธุ์ CM isolate กับกลุ่มควบคุม การตรวจด้วยแอนติเจนเคลือบผิวเพลทด้วยเชื้อ S. uberis สายพันธุ์ SCM isolate พบระดับอิมมูโนโกลบูลินจีในวันที่ 14 และ 28 มีความแตกต่างระหว่างกลุ่มที่ได้รับการกระตุ้นด้วยเชื้อ S. uberis สายพันธุ์ SCM isolate กับกลุ่มควบคุม ในสภาวะที่มีอิมมูโนโกลบูลินจีในซีรั่มที่ได้รับการกระตุ้นด้วยเชื้อ S. uberis ทั้ง 2 สายพันธุ์สามารถกระตุ้นให้นิวโทรฟิลเก็บกินเชื้อ S. uberis สายพันธุ์ SCM isolate ได้ แต่ให้ผลไม่ชัดเจนในการส่งเสริมการฆ่าเชื้อ S. uberis สายพันธุ์ CM isolate อย่างไรก็ตามอิมมูโนโกลบูลินจีในซีรั่มของแม่โคที่มีการติดเชื้อเข้าเต้านมสามารถกระตุ้นให้นิวโทรฟิลเก็บกินเชื้อทั้ง 2 สายพันธุ์ได้ แต่ไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ แต่กลับพบว่าอิมมูโนโกลบูลินจีในน้ำนมของแม่โคที่มีการติดเชื้อเข้าเต้านมสามารถกระตุ้นนิวโทรฟิลในการฆ่าเชื้อ S. uberis ทั้ง 2 สายพันธุ์ |
en |
dc.description.abstractalternative |
The study of effecf of immunoglobulin G (IgG) on neutrophil activity in vitro against mastitis causing S. uberis. Milk and serum samples were collected from S. uberis IMI lactating cows (7 cows, 8 infected quarters and 7 healthy quarters) and 6 healthy cows. Two isolates of S. uberis (CM isolate and SCM isolate) were originally isolated from cases of S. uberis IMI, to be immunized antigen to produce hyperimmune serum in 2 groups of 3 calves. A third group of saline injected calves acted as control. Milk, serum and hyperimmune serum were investigated to determine S. uberis-specific IgG. Determine S. uberis-specific IgG on neutrophil activities, to phagocytose and kill S. uberis. Results in this study showed S. uberis IMI cows had lactation number, day in milk and mean of log of SCC higher than healthy cows. There was significantly difference between mean of log of SCC of infected quarters and non-infected quarters in the same cow. S. uberis was mostly isolated from subclinical mastitis cases. IgG in milk of infected quarters significantly differed from non-infected quarters of healthy cows. Moreover, there was significantly difference between IgG in serum and in milk of 2 groups of cow and in milk of healthy cows. IgG in day 28 and 35 of immunization from hyperimmune serum with S. uberis CM isolate significantly differed from day 0 and control, and IgG in day 28 of immunization from hyperimmune serum with S. uberis SCM isolate significantly differed from control when detected with S. uberis CM isolate coated-plate. IgG in day 14 and 28 of immunization from hyperimmune serum with S. uberis SCM isolate significantly differed from control when detected with S. uberis SCM isolate coated-plate. S. uberis-specific IgG from hyperimmune serum in 2 groups phagocytosed S. uberis SCM isolate but could not influence on killing ability in CM isolate. However, IgG derived from serum of S. uberis IMI cases influenced on phagocytosis in both CM and SCM isolates but could not influence on killing ability but IgG derived from milk of S. uberis IMI cases influence on killing ability of neutrophil in both isolates. |
en |
dc.format.extent |
4434152 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.relation.uri |
http://doi.org/10.14457/CU.the.2009.339 |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
แอนติบอดีย์ |
|
dc.subject |
โรคติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส |
|
dc.subject |
Immunoglobulins |
|
dc.subject |
Streptococcal infections |
|
dc.subject |
|
|
dc.title |
ผลของอิมมูโนโกลบูลินจีต่อการทำงานของนิวโทรฟิลในการต่อต้านเชื้อสเตรปโตคอกคัส ยูเบอริส ที่เป็นสาเหตุเต้านมอักเสบในห้องปฏิบัติการ |
en |
dc.title.alternative |
Effect of Immunoglobulin G on neutrophil activity in vitro against mastitis causing streptococcus uberis |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
อายุรศาสตร์สัตวแพทย์ |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
Kittisak.A@Chula.ac.th |
|
dc.identifier.DOI |
10.14457/CU.the.2009.339 |
|