dc.contributor.author | สุดาศิริ วศวงศ์ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ | |
dc.coverage.spatial | ไทย (ภาคตะวันออก) | |
dc.coverage.spatial | ระยอง | |
dc.date.accessioned | 2006-08-15T11:47:05Z | |
dc.date.available | 2006-08-15T11:47:05Z | |
dc.date.issued | 2539 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1802 | |
dc.description.abstract | แรงงานประมงทะเลเป็นแรงงานเกษตรสาขาหนึ่งที่ทำรายได้ให้แก่ประเทศมากไม่น้อยกว่าแรงงานประเภทอื่น แต่แรงงานประมงทะเลยังมิได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนแรงงานประเภทอื่น ทั้งๆ ที่แรงงานประมงทะเลต้องทำงานอย่างโดดเดี่ยวห่างไกลจากครอบครัวมีสภาพการทำงานที่ตรากตรำ ได้รับค่าจ้างน้อย ไม่มีสวัสดิการและความปลอดภัยในการทำงานต้องเสี่ยงต่อภัยอันตราต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยจากธรรมชาติจากเครื่องจักร เครื่องมือที่ใช้ ภัยจากโจรสลัด เรืออับปาง การถูกจับกุมและการรับโทษในต่างแดนเมื่อเกิดการละเมิดน่านน้ำขึ้น ซึ่งเมื่อปัญหาต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้น มักถูกปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือทำให้ไม่มีใครอยากมาทำงานประมงทะเล เพราะขาดหลักประกันและความมั่นคงในการทำงาน ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในกิจการประมง มีการลักลอบนำแรงงานต่างชาติมาใช้ในกิจการประมงทะเลมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาด้วย ดังนั้นจึงควรกำหนดกฎหมายในการให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างในกิจการประมงทะเลอย่างเท่าเทียมกับลูกจ่างในกิจการประเภทอื่น เพื่อให้ลูกจ้างในกิจการประมงทะเลมีสภาพการทำงานที่ปลอดภัย เหมาะสม และเป็นธรรมจึงจะเป็นการจุงใจให้คนมารับจ้างแรงงานในกิจการประมงทะเลมากขึ้น แต่กฎหมายที่กำหนดขึ้นมานี้ยังมิได้มีผลบังคับใช้ เนื่องจากการคัดค้านอย่างรุนแรงของผู้ประกอบกิจการประมงทะเลว่า บทบัญญัติไม่เหมาะสม ไม่อาจปฏิบัติตามได้ งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาและสาเหตุที่แท้จริง ที่ทำให้กฎหมายยังไม่มีสภาพบังคับ โดยศึกษาวิเคราะห์สภาพและปัญหาของการทำงานในกิจการประมงทะเล ตลอดจนทัศนคติจากผู้เกี่ยวข้องทั้งสามฝ่าย เปรียบเทียบกับกฎหมายไทยฉบับปัจจุบัน อนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศและกฎหมายของต่างประเทศ ซึ่งทำให้ได้ทราบถึงสภาพการจ้างและการทำงานในกิจการประมงทะเลอย่างแท้จริง ยังมีปัญหาในการใช้แรงงานประเภทนี้อยู่มากทั้งทางฝ่ายน่ยจ้างและลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำสัญญาจ้างแรงงาน การจ่ายค่าจ้างสวัสดิการ และความปลอดภัยในการทำงาน จึงสมควรให้ความคุ้มครองแรงงานในกิจการประมงทะเบไว้เป็นพิเศษ รวมทั้งได้แนวทางที่เหมาะสมในการกำหนดมาตรการในการให้ความคุ้มครองและบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานในกิจการประมงทะเลได้ถูกต้องตรงต่อสภาพของการประกอบกิจการประมงทะเลอย่างแท้จริง | en |
dc.description.abstractalternative | Fishery labour was one category of the Agricultural labours that generate as much income for the country as other leading labour forces. Unfortunately, fishery labour was still not protected by legistations as do other labour categories. Despite their suffering from work conditions - such as having their work-place faraway from homes, their labour conditions with low pay ; no security and work safety measures ; risking all kinds of danger derived from machines, tools, pirate threat, ship wreck, lawful and unlawful arrest and punishment in foreign territory when territorial sea encroachment was alleged by foreign countries - assistance was usually refused when such mishaps took place. Lack of fishery labour in sea/ocean fishing industry stemmed from the aforementioned reasons, whereby, problems of frequent exploitation of illegal migrant lobour occurred inevitably. It was imperative that legislations for protection of employees within sea-fishing industry should be enacted so that such labour should be asequally protected as other labour categories. Moreover ; safe suitable and just working conditions would attract sufficient work force for sea fishing industry. As the conditions and standard mentioned were not met for the reasons that private fishing enterprises strongly opposed them. Future enforcement of law was out of sight. This research studied problems and true causes which hindered effective legal enforcement. Trough the analyses of problems and conditions of fishing labours, attitudes of tripartite concerned, comparison of Thai laws, foreign laws and various international labour legal instruments, conclusion and recommendations for appropriate legislations and their enforcement which reflect the true condition of fishing industry were drawn. The research also resulted in the better and true understanding of employment status and working condition of fishing labours that there were more problems pertaining to both employers and employees, with regarded to the subject matter of the terms of employment agreement, remuneration labour's welfare ; and work safety conditions. The aforementioned areas were the areas which must be specially protected. This research had, finally, drawn up the appropriate guidelines of legislation and its enforcement apparatus which were suitable for the true condition of the present day fishing industry. | en |
dc.description.sponsorship | กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช | en |
dc.format.extent | 20444551 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | en |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | แรงงานในการประมง--ไทย--ระยอง | en |
dc.subject | การคุ้มครองแรงงาน | en |
dc.subject | ประมงทะเล--ไทย--ระยอง | en |
dc.subject | แรงงาน--ไทย--ระยอง | en |
dc.title | การคุ้มครองแรงงานประมงทะเลในประเทศไทย : ศึกษาเฉพาะกรณีการประกอบกิจการประมงทะเล ซึ่งขอรับใบอนุญาตประกอบการที่จังหวัดระยอง : รายงานผลการวิจัย | en |
dc.title.alternative | Protection of labour for fishing industries : a case study of offshore fishing licensed of Rayong province | en |
dc.type | Technical Report | en |
dc.email.author | Sudasiri.W@Chula.ac.th |