DSpace Repository

ความชุกของแบคทีเรียก่อโรคปริทันต์บางชนิดในคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือกตามสถานะการสูบบุหรี่

Show simple item record

dc.contributor.advisor กิตติ ต. รุ่งเรือง
dc.contributor.author เบญจพร มีหลีสวัสดิ์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-03-25T09:20:47Z
dc.date.available 2012-03-25T09:20:47Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18687
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en
dc.description.abstract โรคปริทันต์อักเสบเป็นโรคที่มีแบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์เป็นสาเหตุหลัก และการสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการเกิดและดำเนินโรคปริทันต์อักเสบ ผลของการสูบบุหรี่ต่อความชุกของแบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์ในการศึกษาที่ผ่านมายังมีความขัดแย้งกัน วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อตรวจหาความชุกของแบคทีเรียก่อโรคปริทันต์ 3 ชนิด ได้แก่ Porphyromonas gingivalis, Aggregatibacter actinomycetemcomitans และ Tannerella forsythia ด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรสในคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือกของกลุ่มพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (Electrical Generating Authority of Thailand, EGAT) เพศชายจำนวน 338 คน จำแนกตามสถานะการสูบบุหรี่เป็น กลุ่มผู้สูบบุหรี่ 80 คน เคยสูบบุหรี่ 125 คน และไม่สูบบุหรี่ 133 คน ผลการศึกษาพบความชุกของเชื้อทั้ง 3 ชนิดในกลุ่มผู้สูบบุหรี่เป็นร้อยละ 87.5, 23.8 และ 76.3 กลุ่มผู้เคยสูบบุหรี่เป็นร้อยละ 72.8, 18.4 และ 76.8 กลุ่มผู้ไม่สูบบุหรี่เป็นร้อยละ 70.7, 21.8 และ 79.7 ตามลำดับ จากสถิติทดสอบไคสแควร์พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของความชุกของ P. gingivalis ในกลุ่มที่มีสถานะการสูบบุหรี่ที่ต่างกัน และใช้สถิติวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกหาความสัมพันธ์ของการสูบบุหรี่ที่มีผลต่อการตรวจพบ P. gingivalis เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรอื่นคือ สภาวะโรคปริทันต์อักเสบ พบว่าสถานะการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์กับการตรวจพบ P. gingivalis คือกลุ่มผู้สูบบุหรี่มีโอกาสพบ P. gingivalis ได้มากกว่ากลุ่มผู้ไม่สูบบุหรี่เป็น 2.35 เท่า (95% CI: 1.08-5.12) การศึกษานี้จึงสรุปได้ว่าการสูบบุหรี่มีความสัมพันธ์ต่อการตรวจพบ P. gingivalis โดยพบความชุกของ P. gingivalis ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่มีมากกว่ากลุ่มผู้ไม่สูบบุหรี่ en
dc.description.abstractalternative Periodontitis is the disease that caused by periodontal pathogens in dental plaque. Smoking is one of the important risk factors for initiation and progression of periodontal disease. The effect of smoking to periodontal pathogens in the previous studies is still controversy. This study aimed to determine the prevalence of 3 periodontal pathogens; Porphyromonas gingivalis, Aggregatibacter actinomycetemcomitans and Tannerella forsythia in subgingival plaque of employees of Electrical Generating Authority of Thailand according to smoking status. Subjects were 338 males; 80 current smokers, 125 former smokers and 133 non-smokers. Pooled subgingival plaque samples were collected and identified by Polymerase Chain Reaction. The prevalence of 3 targeted bacteria in current smokers were 87.5%, 23.8% and 76.3%, in former smokers were 72.8, 18.4 and 76.8 and among non-smokers were 70.7%, 21.8% and 79.7% respectively. There was a statistically significant association between smoking status and the presence of P. gingivalis. With logistic regression analysis, current smokers had greater risk of harboring P. gingivalis with odd ratio 2.35 (95% CI: 1.08-5.21). In conclusion, smoking has an association with the prevalence of P. gingivalis which is current smoker group has higher prevalence than non-smoker group dose en
dc.format.extent 1952668 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1761
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การสูบบุหรี่ en
dc.subject โรคปริทันต์อักเสบ en
dc.subject แบคทีเรีย en
dc.title ความชุกของแบคทีเรียก่อโรคปริทันต์บางชนิดในคราบจุลินทรีย์ใต้เหงือกตามสถานะการสูบบุหรี่ en
dc.title.alternative The prevalence of certain periodontal pathogens in subgingival plaque according to smoking status en
dc.type Thesis es
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline ปริทันตศาสตร์ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ktorrung1@yahoo.com
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.1761


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record