Abstract:
ศึกษาอิทธิพลของลักษณะนิสัยครุ่นคิดและสิ่งที่มากระตุ้นต่อการเกิดการก้าวร้าวแทนที่ภายหลังการถูกยั่วยุ กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 120 คน ที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้วว่ามีลักษณะนิสัยครุ่นคิดสูงหรือต่ำ ผู้เข้าร่วมการทดลองได้รับการยั่วยุและถูกสุ่มเข้าสู่เงื่อนไขได้รับหรือไม่ได้รับสถานการณ์กระตุ้น จากการดูวีดิทัศน์และตอบคำถามความรู้ทั่วไป จากนั้นตอบแบบประเมินที่ใช้เป็นเครื่องมือวัดตัวแปรตามคือ ความก้าวร้าวแทนที่ 1. เมื่อถูกยั่วยุ การได้รับสถานการณ์กระตุ้นทำให้เกิดการก้าวร้าวแทนที่ มากกว่าการได้รับสถานการณ์ไม่กระตุ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. เมื่อถูกยั่วยุ ผู้ที่มีลักษณะนิสัยครุ่นคิดสูง และได้รับสถานการณ์กระตุ้นเกิดการก้าวร้าวแทนที่มากกว่า เมื่อได้รับสถานการณ์ไม่กระตุ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3. เมื่อถูกยั่วยุ ผู้ที่มีลักษณะนิสัยครุ่นคิดต่ำ และได้รับสถานการณ์กระตุ้นเกิดการก้าวร้าวแทนที่แตกต่างจาก เมื่อได้รับสถานการณ์ไม่กระตุ้น อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. เมื่อถูกยั่วยุและได้รับสถานการณ์กระตุ้น ผู้ที่มีลักษณะนิสัยครุ่นคิดสูงเกิดการก้าวร้าวแทนที่ มากกว่าผู้ที่มีลักษณะนิสัยครุ่นคิดต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 5. เมื่อถูกยั่วยุและได้รับสถานการณ์ไม่กระตุ้น ผู้ที่มีลักษณะนิสัยครุ่นคิดสูง เกิดการก้าวร้าวแทนที่แตกต่างจากผู้ที่มีลักษณะนิสัยครุ่นคิดต่ำ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 6. เมื่อถูกยั่วยุ ผู้ที่มีลักษณะนิสัยครุ่นคิดสูงเกิดการก้าวร้าวแทนที่มากกว่าผู้ที่มีลักษณะนิสัยครุ่นคิดต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001