DSpace Repository

การประมาณขนาดตัวอย่างสำหรับตัวแปรบางตัว ในการทำสำมะโนประชากรและเคหะ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สรชัย พิศาลบุตร
dc.contributor.author สุธีรา พุทธพจน์
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned 2012-04-17T04:55:13Z
dc.date.available 2012-04-17T04:55:13Z
dc.date.issued 2529
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19110
dc.description วิทยานิพนธ์ (สต.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 en
dc.description.abstract การจัดทำสำมะโนประชากรและเคหะ เป็นงานใหญ่มีขอบข่ายการปฏิบัติงานทั่วประเทศ และใช้งบประมาณในการดำเนินการกว่าร้อยล้านบาท ในปี พ.ศ.2523 สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงได้นำเอาระเบียบวิธีการเลือกตัวอย่างมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลบางรายการเกี่ยวประชากรและเคหะ กล่าวคือ ครัวเรือนที่อยู่ในเขตเทศบาลทำการแจงนับข้อถามรายละเอียดเกี่ยวประชากรทุกคนในครัวเรือและเกี่ยวกับเคหะทุกครัวเรือน ส่วนท้องที่นอกเขตเทศบาลทั้งหมดและกรุงเทพมหานคร ทำการแจงนับข้อถามหลักด้านประชากรจากทุกคนในทุกครัวเรือน แล้วจึงเลือกครัวเรือนตัวอย่างประมาณร้อยละ 20 เพื่อแจงนับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะต่างๆ ของประชากรและข้อถามเคหะ การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาหาขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมกับระดับความถูกต้องและเชื่อถือได้ที่ต้องการของตัวแปรที่นำมาศึกษา และประมาณค่าใช้จ่ายตามขนาดตัวอย่างที่คำนวณได้ การคำนวณขนาดตัวอย่างของตัวแปรต่างๆ ใช้วิธีการของการเลือกตัวอย่างสุ่มอย่างง่าย โดยกำหนดของความผิดพลาดในการประมาณค่าพารามิเตอร์ไม่เกินร้อยละ +-5 ด้วยความน่าจะเป็น .95 ตัวแปรที่นำมาศึกษามีทั้งตัวแปรด้านประชากรและตัวแปรด้านเคหะ ซึ่งมีลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เป็นข้อมูลตัวอย่างประมาณร้อยละ 1 ของจำนวนครัวเรือนนอกเขตเทศบาลทั้งหมดและกรุงเทพมหานคร จากขนาดตัวอย่างที่คำนวณได้ในแต่ละเรื่องนำมาแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มของข้อถามที่จะใช้สัดส่วนตัวอย่าง 5 % ได้แก่ ข้อมูลด้านประชากรเรื่อง ศาสนา สถานที่เกิด ขั้นที่กำลังเรียน การอ่านออกเขียนได้ อายุสมรครั้งแรก จำนวนบุตรเกิดรอด การคุมกำเนิด และข้อมูลเคหะเรื่อง ลักษณะและประเภทของที่อยู่อาศัย การใช้ที่อยู่อาศัยประกอบธุรกิจ การครอบครองที่อยู่อาศัย จำนวนห้องนอน แหล่งที่มาของน้ำดื่ม น้ำใช้ การใช้ส้วม และเครื่องใช้ประเภทถาวรที่มีไว้ในครอบครอง 2. กลุ่มของข้อถามที่จะใช้สัดส่วนตัวอย่าง 10% ได้แก่ ข้อมูลด้านประชากร เรื่องอาชีพในรอบ 7 วันก่อนวันสำมะโน และข้อมูลเคหะเรื่อง การใช้แสงสว่าง 3. กลุ่มของข้อถามที่จะใช้สัดส่วนตัวอย่าง 20% ได้แก่ ข้อมูลด้านประชากร เรื่อง การย้ายถิ่น และข้อมูลเคหะเรื่อง สถานที่ประกอบอาหารการใช้เชื้อเพลิงในการหุงต้ม จากข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณด้านการปฏิบัติงานสนาม ด้านวัสดุที่ใช้ในงานสนามและด้านการประมวลผล ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. คือ งบประมาณที่ใช้ในท้องที่เขตเทศบาลทั้งหมด ยกเว้นกรุงเทพมหานคร 2. คือ งบประมาณที่ใช้ในท้องที่นอกเขตเทศบาลทั้งหมด และกรุงเทพมหานคร ซึ่งแจงนับครัวเรือนเพียงร้อยละ 80 3. คือ งบประมาณที่ใช้ในท้องที่เดียวกับส่วนที่ 2 แต่แจงนับครัวเรือนเพียงร้อยละ 20 งบประมาณในส่วนที่ 1 และ 2 จะเป็นค่าใช้จ่ายคงที่ ซึ่งไม่แปรตามขนาดตัวอย่าง แต่งบประมาณในส่วนที่ 3 จากผลการวิเคราะห์สามารถลดได้ร้อยละ 25.45 เมื่อใช้ขนาดตัวอย่างที่คำนวณได้ และลดได้ร้อยละ 6.36 เมื่อเทียบกับงบประมาณทั้งโครงการ
dc.description.abstractalternative The Population and Housing Census is a big scale work covering all over the country, the government has to spend more than 100 millions baht for this census. In 1980. The National Statistical office adopted method of sample selection which was used for collecting some information of population and housing characteristics. In municipal areas, long data collection forms were used for enumerating every household and every person on both basic and detailed population and housing characteristics. In Bangkok Metropolis and non-municipal areas, all households were enumerated by using a short data collection form for basic questions, and only 20% of all households were selected for further interviewing of the detailed population and housing characteristics. This research presents the results of the optimum sample size suitable for the level of precision and reliability required for the studied variables and the estimated cost of the obtained sample size. The method of calculation sample size for characteristics under study used the simple random sampling. In this case the error limit for the estimation of the parameter must not exceed +- 5% with probability 0.95. The variables in this study can be classified into 2 types : population and housing which are quantitative and qualitative variables. The analyzed data were obtained from the 1% sample of households in Bangkok Metropolis and non-municipal areas. The calculated sample size of each item are classified into 3 groups : 1. A group of items, which consists of population characteristics : religion, place of birth, educational attendance, Age and first marriage, numbers of children born alive, birth-control and housing characteristics : type of structure and construction materials, business used, tenure of household, number of sleeping room, drinking water and water supply, type of toilet facilities, type of durable household appliance, uses sampling fraction 5% 2. A group of items, which consists of last week occupation characteristic and type of lighting characteristic, uses sampling fraction 10% 3. A group of items, which consists of migration characteristic and two housing characteristics : type of kitchen, fuel used of cooking, uses sampling fraction 20% In view of the gathering cost in field survey, the material used in the field work and data processing can be classified into 3 parts : Part I : The cost spent in all municipal areas except Bangkok Metropolis Part II : The cost spent in non municipal areas and Bangkok Metropolis of which 80% of the households were enumerated Part III : The cost spent in non-municipal areas and Bangkok Metropolis of which 20% of the households were enumerated The cost in part I and II are not varied in accordance with the sample size. The results of this study show that if the calculated sample size is used, the cost in part III and the total cost will be reduced by 25.45% and 6.36% respectively.
dc.format.extent 429611 bytes
dc.format.extent 276406 bytes
dc.format.extent 290837 bytes
dc.format.extent 641511 bytes
dc.format.extent 811154 bytes
dc.format.extent 290222 bytes
dc.format.extent 512648 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject สำมะโนประชากร en
dc.subject สำมะโนครัว en
dc.subject สถิติชีพ en
dc.subject สถิติ en
dc.subject ประชากร -- สถิติ en
dc.subject การสำรวจทางประชากรศาสตร์ en
dc.title การประมาณขนาดตัวอย่างสำหรับตัวแปรบางตัว ในการทำสำมะโนประชากรและเคหะ en
dc.title.alternative Estimation of sample sizes for some items in the population and housing census en
dc.type Thesis es
dc.degree.name สถิติศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline สถิติ es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor ไม่มีข้อมูล


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record