DSpace Repository

ความเชื่อที่ถูกทำให้เป็นสินค้า : ศึกษากรณีเบี้ยแก้วัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

Show simple item record

dc.contributor.advisor บุญยง ชื่นสุวิมล
dc.contributor.author วรนันท์ ลิมปสถิรกิจ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-05-04T15:00:17Z
dc.date.available 2012-05-04T15:00:17Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19450
dc.description วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en
dc.description.abstract การศึกษาเรื่อง ความเชื่อที่ถูกทำให้เป็นสินค้า : ศึกษากรณีเบี้ยแก้วัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ผู้วิจัยเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆภายในชุมชนละแวกวัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี และกลุ่มผู้ศรัทธาเบี้ยแก้วัดกลางบางแก้วบริเวณกุฏิหลวงปู่เจือ ปิยสีโล อันเป็นพื้นที่ที่มีการซื้อขายเบี้ยแก้ เพื่อมุ่งศึกษาความเชื่อของเบี้ยแก้ของวัดกลางบางแก้วว่าเป็นอย่างไร โดยศึกษาให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างบริบทสังคมไทยที่ส่งอิทธิพลต่อการสร้างและการเปลี่ยนแปลงความเชื่อเบี้ยแก้ และความเชื่อเบี้ยแก้ของวัดกลางบางแก้วถูกทำให้เป็นสินค้าได้อย่างไร จากการศึกษาพบว่า ความเชื่อในอิทธิคุณของเบี้ยแก้ วัดกลางบางแก้ว มีลักษณะแตกต่างกันตามยุคสมัยซึ่งมีความสอดรับกับโครงสร้างและบริบททางสังคมไทยในขณะนั้น ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่าความเชื่อเบี้ยแก้วัดกลางบางแก้วเป็นทั้งความต้องการของผู้ศรัทธาและเป็นภาพสะท้อนบริบททางสังคมในช่วงเวลานั้น ในกระแสโลกาภิวัตน์นั้น ความเชื่อเบี้ยแก้ของวัดกลางบางแก้วซึ่งผ่านการสร้างความหมายและได้รับความเชื่อความศรัทธามาอย่างยาวนานจึงถูกนำมาแปรเป็น “สินค้า” เพื่อตอบสนองความต้องการทั้งในระดับปัจเจกบุคคลและกลุ่มคนภายใต้ความกดดันของโครงสร้างและบริบททางสังคมทุนนิยมและบริโภคนิยม โดยมีลักษณะของกระบวนการทำให้ความเชื่อเบี้ยแก้วัดกลางบางแก้วกลายเป็นสินค้า ที่แฝงอยู่ในกระบวนการผลิต กระบวนการขาย และกระบวนการสืบทอด en
dc.description.abstractalternative The study of The Commodification of the Belief in Bia Kae : a Case Study of Bia Kae of Wat Klang Bang Kaew, Nakorn Chai Si District, Nakorn Pathom Province is a qualitative research of which the researcher participated in the activities within the communities adjacent to Wat Klang Bang Kaew and in the activities of Bia Kae of Wat Klang Bang Kaew’s believers around the cubicle of Luang Pu Juea Piyaseelo. This research intends to discover the main characteristic of the belief in Bia Kae—by studying the context of the Thai society which has influenced the creation and the evolution of the belief in Bia Kae—and how the belief in Bia Kae has been commoditized. The study found that the belief in Bia Kae’s attribute has different features, depending on the era in which social structure and social context has influenced the attribute. The belief in Bia Kae reflects both the believer’s want and the social context at the time. As for the globalization context, the belief in Bia Kae—having undergone the process of signification and gained societal faith for a long time—has been developed as ‘commodity’ in order to respond to the people’s need, both at the individual level and the group of people living under the pressure of social structure and social context which is capitalistic and consumeristic in nature. Such development illustrates the commoditization of the belief in Bia Kae, which involved the process of production, marketing and sustainment of belief. en
dc.format.extent 1649563 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.title ความเชื่อที่ถูกทำให้เป็นสินค้า : ศึกษากรณีเบี้ยแก้วัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม en
dc.title.alternative The commodification of the belief in Bia Kae : a case study of Bia Kae of Wat Klang Bang Kaew, Nakorn Chai Si District, Nakorn Pathom Province en
dc.type Thesis es
dc.degree.name สังคมวิทยามหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline สังคมวิทยา es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Boonyong.C@Chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record