DSpace Repository

ปฏิบัติการอารยะขัดขืนของขบวนการต่อต้านเขื่อนราษีไศล

Show simple item record

dc.contributor.advisor ประภาส ปิ่นตบแต่ง
dc.contributor.author ไอยรา สังฆะ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
dc.date.accessioned 2012-05-09T12:07:47Z
dc.date.available 2012-05-09T12:07:47Z
dc.date.issued 2553
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19544
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 en
dc.description.abstract วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการ คือ หนึ่ง เพื่อศึกษาว่าปฏิบัติการอารยะขัดขืนของชาวบ้านกลุ่มสมัชชาคนจนกรณีเขื่อนราษีไศลมีลักษณะอย่างไร และสะท้อนแนวคิดอารยะขัดขืนอย่างไร สอง ปฏิบัติการอารยะขัดขืนได้ส่งผลสะเทือนต่อกระบวนการทางนโยบายด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและระบบนิเวศป่าทำอย่างไร ผลการศึกษา พบว่า ปฏิบัติการอารยะขัดขืนของชาวบ้านกลุ่มสมัชชาคนจนกรณีเขื่อนราษีไศลมีลักษณะเป็นการกระทำทางการเมืองรูปแบบหนึ่งที่อยู่ภายใต้วงขอบสันติวิธี โดยไปละเมิดต่อกฎหมายบางประการ ดำเนินการอย่างเปิดเผยต่อสาธารณะ และชาวบ้านก็ยอมรับโทษตามกฎหมาย นอกจากนี้ ยังพบว่าการแสดงออกซึ่งการขัดขืน/ไม่เชื่อฟังเริ่มต้นด้วยการฉีกตัวออกจากวัฒนธรรมทางการเมืองแบบเดิมก่อนที่จะแสดงออกผ่านการละเมิดกฎหมาย ทั้งนี้รากเหง้าแนวคิดอารยะขัดขืนมีสาเหตุมาจากโครงการเขื่อนราษีไศลได้ไปกระทบต่อวัฒนธรรมและจารีตประเพณีของชุมชน การที่ชาวบ้านได้รับอิทธิพลจากนักพัฒนาเอกชน และได้รับแรงบีบคั้นจากบริบททางสังคม/การเมืองในขณะนั้น ส่วนการศึกษาเรื่องผลสะเทือนของปฏิบัติการอารยะขัดขืน พบว่า ในระยะแรกเริ่ม (พ.ศ.2543) ปฏิบัติการได้ส่งผลสะเทือนโดยการเปิดช่องทางให้ขบวนการสามารถเข้าสู่ระบบการเมืองปกติและมีอำนาจในการต่อรองทางการเมือง ส่งผลให้รัฐยอมตามข้อเรียกร้องและมีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2543 ออกมา แต่เนื้อหาสาระเชิงนโยบายกลับยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทันที ส่วนผลสะเทือนในระยะถัดมา (พ.ศ.2544-2553) ได้ส่งผลต่อการยกระดับข้อเรียกร้องของขบวนการ แต่มติคณะรัฐมนตรีข้างต้นกลับกลายเป็นข้อผูกมัดที่ทำให้การเรียกร้องต้องประสพความล้มเหลว ต่อมาขบวนการจึงสามารถเข้าไปมีอิทธิพลต่อระบบราชการได้ โดยพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงเนื้อหาสาระเชิงนโยบายเพื่อให้รัฐสนับสนุนนโยบายทางเลือกของชุมชน en
dc.description.abstractalternative This research purposes were to 1) examine the characteristics of civil disobedience action of Assembly of the Poor, who had been affected by Rasisalai Dam, and how it reflected the concept of civil disobedience 2) investigate how the civil disobedience affected the policy process of water resource management and Patam ecosystem. The result found that the civil disobedience action of the Assembly of the Poor at Rasisalai was a kind of nonviolent political action which entailed breaking a law. The movement operated in public and they had to accept legal punishment. However, the origin of civil disobedience’s concept was stemmed from Rasisalai Dam Project which affected culture and tradition of local community, influence of NGO and pressure from social and political context at that time. Moreover, a significant impact of the civil disobedience represented that at the beginning, this action provided access to bring the process into the normal political system and have a power on political negotiation. Later, the government had to follow their claim as announced in cabinet resolution on 25 July 2000. Nevertheless, the main matter of policy was not changed immediately; therefore it caused worse effect on the claim which was failed by the above cabinet resolution. After that, the process could influence the bureaucracy by changing the main matter of the policy to persuade the government to support the alternate policy of the local community. en
dc.format.extent 2937447 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.624
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject การดื้อแพ่งของพลเมือง -- ไทย
dc.subject การต่อต้านรัฐบาล -- ไทย
dc.subject เขื่อน -- แง่สิ่งแวดล้อม -- ไทย
dc.subject เขื่อนราษีไศล -- แง่การเมือง
dc.subject ขบวนการสังคม
dc.subject การเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อม
dc.subject สมัชชาคนจน
dc.subject Civil disobedience -- Thailand
dc.subject Government, Resistance to -- Thailand
dc.subject Dams -- Environmental aspects -- Thailand
dc.subject Social movements
dc.subject Green movement
dc.subject Rasi Salai Dam -- Political aspects
dc.title ปฏิบัติการอารยะขัดขืนของขบวนการต่อต้านเขื่อนราษีไศล en
dc.title.alternative Civil disobedience in action of the Rasisalai movement en
dc.type Thesis es
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline การปกครอง es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Prapart.P@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2010.624


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record