DSpace Repository

อิทธิพลของการชี้นำภาพในความคิดและอารมณ์ต่อการเกิดความจำที่ผิดพลาด

Show simple item record

dc.contributor.advisor อภิชญา ไชยวุฒิกรณ์วานิช
dc.contributor.author นันทิยา พวงนาค
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา
dc.date.accessioned 2012-05-20T03:20:41Z
dc.date.available 2012-05-20T03:20:41Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19737
dc.description วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการได้รับการชี้นำภาพในความคิดและอารมณ์ชั่วขณะที่มีต่อการเกิดความจำที่ผิดพลาด จากกลุ่มนิสิตปริญญาตรี ที่ศึกษาอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 160 คน เป็นเพศชาย 38 คน เพศหญิง 122 คน เข้าร่วมเงื่อนไขการทดลองโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการชี้นำภาพในความคิด ซึ่งจัดกระทำโดยให้เล่นเกมจัดเรียงคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับภาพในความคิด และกลุ่มที่ไม่ได้รับการชี้นำภาพในความคิด ซึ่งจัดกระทำโดยให้เล่นเกมจัดเรียงคำศัพท์ทั่วๆ ไป จากนั้นนำผู้ร่วมการทดลองมาจัดกระทำทางอารมณ์ โดยแบ่งเป็นอีก 2 กลุ่มอารมณ์ ได้แก่ กลุ่มอารมณ์ด้านบวก และกลุ่มอารมณ์ด้านลบ ตามลำดับ ซึ่งจัดกระทำโดยการให้ผู้ร่วมการทดลองแต่ละกลุ่มอารมณ์ดูรูปภาพและฟังเพลงที่ชี้นำอารมณ์ด้านนั้นๆ พร้อมทั้งให้เขียนบรรยายความรู้สึกในขณะที่ได้ดูรูปภาพและฟังเพลงดังกล่าว จากนั้นนำเข้าสู่ขั้นตอนการทดลองการทดสอบความจำ ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ที่ได้รับการชี้นำภาพในความคิด เกิดความจำที่ผิดพลาดสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการชี้นำภาพในความคิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผู้ที่อยู่ในอารมณ์ด้านบวก เกิดความจำที่ผิดพลาดสูงกว่าผู้ที่อยู่ในอารมณ์ด้านลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 en
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to examine effects of stereotype priming and emotions on false memories. One hundred and sixty Chulalongkorn University undergraduate students, 38 males and 122 females, randomly assigned to 4 conditions: stereotype priming vs. positive emotion, non-stereotype priming vs. positive emotion, stereotype priming vs. negative emotion, and non-stereotype priming vs. negative emotion. Then, false memories were measured as the dependent variable. The results show as follow: 1. False memories of the stereotype priming group are higher than false memories of the non-stereotype priming group (p < .01). 2. False memories of the positive emotion group are higher than the false memories of the negative emotion group (p < .05). en
dc.format.extent 1037074 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th es
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.relation.uri http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.225
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ความจำ en
dc.subject ความจำผิดปกติ en
dc.subject ความคิด en
dc.subject อารมณ์ en
dc.title อิทธิพลของการชี้นำภาพในความคิดและอารมณ์ต่อการเกิดความจำที่ผิดพลาด en
dc.title.alternative Effects of stereotype priming and emotion on false memories en
dc.type Thesis es
dc.degree.name ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต es
dc.degree.level ปริญญาโท es
dc.degree.discipline จิตวิทยาสังคม es
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.email.advisor Apitchaya.C@Chula.ac.th
dc.identifier.DOI 10.14457/CU.the.2008.225


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record